ความเชื่อ

heading-ความเชื่อ

ตำนานรอยพระพุทธบาทเขาคิชฌกูฏ จันทบุรี

13 พ.ย. 2564 | 15:56 น.
ตำนานรอยพระพุทธบาทเขาคิชฌกูฏ จันทบุรี

เขาคิชฌกูฏ จังหวัดจันทบุรี เป็นอีกหนึ่งสถานที่ของนักแสวงบุญที่ตั้งใจและมีจิตศรัทธาอย่างแรงกล้าที่จะไปกราบสักการะ "รอยพระพุทธบาท" เพื่อความเป็นสิริมงคลต่อตนเอง เพราะต้องเดินเท้าขึ้นสู่ยอดเขาถึง 3 กม.

ตำนานรอยพระพุทธบาทเขาคิชฌกูฏ พระครูธรรมสรคุณ เจ้าอาวาสวัดกระทิง และเป็นเจ้าคณะอำเภอมะขาม ผู้สืบค้นประวัติเขาคิชฌกูฏ กล่าวไว้โดยย่อว่า เมื่อ พ.ศ. 2397 นายติ่งและคณะได้พากันขึ้นไปบนเขาหาไม้กฤษณา ไม้กะลำพัก 5 มาขาย ต้องขึ้นไปพักอยู่บนเขาเป็นเวลาหลายวัน และได้ไปพักเหนื่อยบนลานหินกว้างใหญ่ เพื่อนของนายติ่งคนหนึ่งได้ถอนหญ้าเพื่อนอนพักก็พบแหวนใหญ่ขนาดสวมหัวแม่เท้าได้ และเมื่อช่วยกันตรวจดูก็พบหินแผ่นหนึ่ง มีพื้นที่เป็นรอยรูปก้นหอยต่อมานายติ่งและเพื่อนได้นำบุตรชายไปอุปสมบทที่วัดพลับ อำเภอเมืองจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี 

รุ่งขึ้นก็มีงานเทศกาลปิดรอยพระพุทธจำลอง นายติ่งจึงซื้อทองไปปิดรอยพระพุทธบาทนั้น เมื่อปิดแล้วจึงพูดขึ้นว่ารอยพระพุทธบาทเช่นนี้ทางบ้านผมก็มีเหมือนกัน พอดีมีพระได้ยินเข้าจึงไปเรียนให้เจ้าอาวาสวัดพลับ (หลวงพ่อเพชร) ทราบ ขณะนั้นหลวงพ่อดำรงตำแหน่งเจ้าคณะจังหวัดจันทบุรี จึงเรียกนายติ่งมาสอบถาม แล้วพาคณะขึ้นไปพิสูจน์ดู ก็เป็นความจริง และตรวจดูตามบริเวณนั้นทั่วๆ ไปก็พบสิ่งแปลกประหลาดและสิ่งมหัศจรรย์หลายอย่าง 

รอยพระพุทธบาทนั้นท่านทรงเหยียบจารึกไว้ที่ศิลาแผ่นใหญ่ บรรจุคนนั่งได้เป็นร้อยกว่าคนบนยอดเขาสูงสุดกว้าง 1 เมตร ยาว 2 เมตร ทางด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ของรอยพระพุทธบาทมีหินกลมก้อนหนึ่งใหญ่มาก เรียกกันว่า หินลูกพระบาท ตั้งขึ้นมาน่าแปลกมหัศจรรย์เป็นอย่างมากไม่น่าจะตั้งอยู่ได้ มองดูคล้ายลอยอยู่เฉยๆ มีคนกล่าวว่าเขาเคยเอาด้ายสายสิญจน์คล้องแล้วหลุดมาได้ และยังมีหินอีกลูกหนึ่งใหญ่มากเหมือนกัน อยู่ตรงข้ามกับหินลูกพระบาทนี้ ก็มีรอยพระหัตถ์ไปรับหินก้อนนี้จากรอยพระพุทธบาทกับรอยพระหัตถ์นั้น ห่างกันประมาณ 5 เมตร และยิ่งแปลกไปกว่านั้น ในก้อนหินนั้นตรงกันข้ามกับรอยพระหัตถ์ 

เขาคิชฌกูฏ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

heading-ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ยังมีรูปรอยเท้าใหญ่อันนี้เขาเรียกว่ารอยเท้าพญามาร เพียงแหงนหน้าขึ้นไปมองจะเห็นได้ทันที สูงประมาณ 15 เมตร ต่อจากนั้นไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือห่างจากหินลูกนี้ไปเพียง 15 วา มีหินลูกข้างบนเป็นลานและมองเห็นรอยรถหรือรอยเกวียน เมื่อยืนบนหินลูกนั้นมองลงไปทางทิศเหนือจะเห็นถ้ำเต่า บนหลังถ้ำจะมองเห็นเป็นรูปเต่า ลักษณะคล้ายๆ เต่าปลวก ต่อจากนั้นหากหันไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของรอยพระพุทธบาทจะมองเห็นถ้ำช้าง และถ้ามองจากรอยพระพุทธบาทขึ้นไปจะเห็นหินก้อนหนึ่งมีรูปลักษณะคล้ายช้างจริง เลยจากช้างสูงสุดนั้นเรียกกันว่าห้างฝรั่งเพราะฝรั่งไปตั้งห้างส่องกล้องเพื่อทำแผนที่ มองไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ยังมีถ้ำอีกถ้ำหนึ่งเรียกกันว่า ถ้ำสำเภา เพราะมีหินก้อนหนึ่งข่างบนถ้ำมีลักษณะคล้ายๆ เรือสำเภาจึงเรียกว่า ถ้ำสำเภา ยังมีอีกถ้ำหนึ่งใต้พระบาทนี้เรียกว่า ถ้ำตาฤๅษี

เขาคิชฌกูฏ อุทยานเขาคิชฌกูฏจันทบุรี

พระบาทแห่งนี้ทำไมจึงเรียกว่า "เขาคิชฌกูฏ" ที่เรียกเช่นนี้ก็เพราะมีชื่อเขาในกรุงราชคฤห์ในประเทศอินเดียลูกหนึ่ง ชื่อว่าเขาคิชฌกูฏ ฟังแล้วสะเทือนใจคล้ายๆ กับว่าได้ไปยังนครราชคฤห์อันเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธศาสนาของพระพุทธองค์ครั้งปฐมโพธิกาลโน้นและการไปมาก็ไม่สู้ไกลนัก นึกไปว่าปีหนึ่งเรายังได้มีโอกาสไปนมัสการรอยพระพุทธบาทครั้งหนึ่ง

รอยพระพุทธบาท เขาคิชฌกูฏ จันทบุรี

บาทหรือเท้านับว่าเป็นอวัยวะที่ต่ำที่สุดของมนุษย์เรา แต่เท้านั้นเป็นอวัยวะที่สำคัญที่สุด ถ้าขาดเท้าเสียก็ไม่สามารถที่จะไปประกอบคุณงามความดีได้ โดยเฉพาะเป็นเท้าของพระพุทธองค์ด้วยแล้วเป็นเท้าพิเศษและบริสุทธิ์ ผู้คนเลื่อมใสและเคารพกราบไหว้ส่วนเท้าของพระพุทธองค์ แม้จะประดิษฐานอยู่แห่งหนตำบลใดก็ตาม ถ้ามีความเชื่อมั่น มีความเคารพกราบไหว้ด้วยใจอธิษฐานแล้ว ย่อมเกิดผลสำเร็จแก่ผู้นั้นทุกคน และจะเป็นสิริมงคลแก่ผู้นั้นตลอดไปด้วยใจอันแน่วแน่ของกระแสจิตผู้นั้น

ในตำนานศาสนาพุทธกล่าวไว้ว่า เขาคิชฌกูฏอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของกรุงราชคฤห์ซึ่งเป็นเมืองหลวงสมัยก่อนนั้น (อินเดีย) แปลว่าภูเขาแร้งกระพือปีก มีคันธกุฎีอยู่บนยอดเขา และเคยเป็นสถานที่ประทับของพระพุทธเจ้าในอดีต เป็นความดำริของพระครูธรรมสรคุณซึ่งเป็นกรรมการและเป็นหลักในการพัฒนาพระบาทพลวงตั้งแต่ พ.ศ. 2515 ได้เสนอใช้ชื่อพระบาทเขาคิชฌกูฏ (พลวง) เหตุผลเพราะเมืองไทยเป็นเมืองพุทธศาสนาเจริญกว่าเมืองไหนๆ แม้กระทั่งประเทศอินเดีย จึงน่าจะใช้ชื่อนี้เป็นที่ระลึกถึงพระบรมศาสดา

ประเพณีนมัสการพระพุทธบาทเขาคิชฌกูฏจันทบุรี เป็นเทศกาลเดือน 3 ที่ปฏิบัติกันมาช้านาน แต่เดิมเริ่มขึ้นไปนมัสการในวันขึ้น 1 ค่ำ ถึง ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 ของทุกปี แต่มาระยะหลังนี้เริ่มเป็นที่รู้จักของผู้คนที่มีความเลื่อมใสศรัทธาทั้งชาวไทยและต่างประเทศ จึงได้เปิดเวลาให้นมัสการมากขึ้น กล่าวคือ

1.ในปี พ.ศ. 2536 เปิด 30 วัน

2.ในปี พ.ศ. 2537 เปิด 45 วัน

3.ในปี พ.ศ. 2538 เป็นต้นมา เปิดให้นมัสการ 60 วัน และยังคงเริ่มเปิดให้นมัสการเดือน 3 เหมือนเดิม 

เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อ โควิด-19 ในปัจจุบัน และเพื่อเป็นการเฝ้าระวัง ยังไม่มีวันกำหนดให้ขึ้นเขาคิชฌกูฏในปี 2565 ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงจะแจ้งให้ทราบอีกครั้ง

ขอบคุณ : สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดจันทบุรี

ข่าวเด่น

เอส แอนด์ พี ต้อนรับเทศกาลแห่งความสุขจัดงาน “S&P SWEET HAPPINESS 2025”

เอส แอนด์ พี ต้อนรับเทศกาลแห่งความสุขจัดงาน “S&P SWEET HAPPINESS 2025”

"เบ๊น อาปาเช่" ซัดชาวเน็ตแซะ "มิกซ์" ลูกชายหม่ำ ดังเพราะบารมีพ่อ

"เบ๊น อาปาเช่" ซัดชาวเน็ตแซะ "มิกซ์" ลูกชายหม่ำ ดังเพราะบารมีพ่อ

"ทนายธรรมราช" เผยคำใบ้ "ทนายคนใหม่" ของทนายตั้ม

"ทนายธรรมราช" เผยคำใบ้ "ทนายคนใหม่" ของทนายตั้ม

ศาลไม่ให้ประกันตัว ภรรยา และ ลูกสาวหมอบุญ นำตัวกลับเข้าเรือนจำตามเดิม

ศาลไม่ให้ประกันตัว ภรรยา และ ลูกสาวหมอบุญ นำตัวกลับเข้าเรือนจำตามเดิม

แม่น้ำหนึ่งให้เลขเด็ดมาแรง งวดนี้ 1/12/67 คอหวยห้ามพลาด

แม่น้ำหนึ่งให้เลขเด็ดมาแรง งวดนี้ 1/12/67 คอหวยห้ามพลาด

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

heading-ข่าวที่เกี่ยวข้อง