โดนใจสายมู "ท้าวเวสสุวรรณ" ไหว้แล้วรวยจริงหรือ เผยคาถา-เคล็ดลับความสำเร็จ
คนไทยนั้นต่าง หลั่งไหลกันไปไหว้ขอพรจากท้าวเวสสสุวรรณเสริมดวงเรื่องโชคลาภ และความสำเร็จ เพื่อความสิริมงคล
กระแสที่มาแรงในปีนี้สำหรับคนไทยนั่นก็คือการ ไหว้ขอพร "ท้าวเวสสุวรณ" เรียกว่าเปิดศักราชใหม่ 2565 ขึ้นมานั้น ซึ่งคนไทยต่างหลั่งไหลกันไปขอพรท้าวเวสสสุวรรณเสริมดวงเรื่องโชคลาภ และความสำเร็จ เพื่อความสิริมงคล และมีหลายคนเห็นผลดังใจ จนเป็นกะแสพูดกันปากต่อปากคนเป็นกระแสในเวลานี้
สำหรับข้อมูลความเชื่อที่ทางไทยนิวส์ออนไลน์ไปตรวจสอบมานั้น โดยตามความเชื่อนั้น ท้าวเวสสุวรรณ ไม่เพียงมีลักษณะหน้าตา และรูปร่างเป็นยักษ์ ในมือยังถือตะบอง มีท่าทางน่าเกรงขาม มีสถานะเป็นเทวดาเจ้าแห่งยักษ์ อสูร ภูติ ปีศาจ จึงทำหน้าที่สกัดกั้นไม่ให้สิ่งชั่วร้ายทั้งหลายมาสร้างความเดือดร้อนให้มนุษย์ คอยดูแลและคุ้มครองโลกมนุษย์ให้ปลอดภัย
ตามความเชื่อและความศรัทธา ท้าวเวสสุวรรณ เป็นหนึ่งในท้าวทั้งสี่ หรือ ท้าวจตุโลกบาล ที่ทำหน้าที่รักษาทิศทั้ง 4 ในสวรรค์ชั้นแรกของสวรรค์ทั้ง 6 ชั้น คือ ชั้นจาตุมหาราชิกา ที่แบ่งออกเป็น 4 ส่วน โดยท้าวเวสสุวรรณ เป็นเทพผู้เป็นใหญ่ ปกป้องจากสิ่งชั่วร้าย และเชื่อว่าเป็นเทพแห่งความมั่งคั่ง โดยประจำทิศเหนือ และยังคอยช่วยเหลือเทพองค์อื่นๆ ในการทำภารกิจต่างๆ ให้ลุล่วงสำเร็จอีกด้วย อีก 3 องค์คือ ท้าววิรุฬหก ประจำทิศใต้ ท้าวธตรฐ ประจำทิศตะวันออก และท้าววิรูปักษ์ ประจำทิศตะวันตก
ซึ่งเรื่องราวที่ประชาชนคนไทยนั้นแห่แหนไปกราบไหว้นั้นก็คือ อยากให้ท้าวเวสสุวรรณดลบันดาลให้เป็นจริง ขอให้โลกพ้นภัยจากโควิด-19 เสียที เพราะคนไทยนั้นทุกข์ยากซะเรื่องเกินในเรื่องการใช้ชีวิตแล้วก็เศรษฐกิจ ที่ต้องต่อสู้กับฌรคมากว่า 2ปี
สำหรับใครที่อยากไปไหว้ ท้าวเวสสุวรรณ ไทยนิวส์ออนไลน์จะพาไปดู คาถา-เคล็ดลับ ไหว้ขอพร "ท้าวเวสสุวรณ" ที่โดนใจสายมูแน่นอน สำหรับ ท้าวเวสสุวรรณมีทรัพย์สมบัติมาก และโดดเด่นเรื่องโชคลาภ อีกทั้งยังช่วยขจัดปัดเป่าสิ่งไม่ดี และสิ่งร้ายๆ ออกไปจากชีวิต และเสริมสิริมงคลอีกด้วย เพราะคนส่วนใหญ่ที่ไหว้ ขอพรแล้วสำเร็จ ได้ผล ขอแล้วประสบความสำเร็จก็บอกกันปากต่อปาก และไปไหว้ท่านเยอะ เรียกได้ว่าปีนี้เป็นปีของท่านท้าวเวสสุวรรณเลยก็ว่าได้
คาบูชาท้าวเวสสุวรรณ และวิธีบูชาที่บ้าน
อิติปิโส ภะคะวา ยมมะราชาโน ท้าวเวสสุวรรณโณ มะระณัง สุขัง อะหัง สุคะโต นะโม พุทธายะ ท้าวเวสสุวรรณโณ จาตุมะหาราชิกา ยักขะพันตาภัทภูริโต เวสสะ พุสะ พุทธัง อะระหัง พุทโธ ท้าวเวสสุวรรณโณ นะโม พุทธายะ
หากมีปัญหาเรื่องการเงิน การงาน โชคลาภ สามารถบนบานศาลกล่าวกับท้าวเวสสุวรรณได้เองที่บ้าน ถ้ามีผ้ายันต์ หรือองค์ลอย
วิธีปฏิบัติ : อาบน้ำ แต่งกายให้สะอาดสุภาพ สมาทานศีล 5 สวดมนต์บูชาพระรัตนตรัย พาหุง ชินบัญชร จุดธูป 9 ดอก พวงมาลัยดาวเรืองหรือดอกกุหลาบ 1 พวง ตั้งนะโม 3 จบ สวดคาถาบูชาท้าวเวสสุวรรณ 9 จบ
ข้อห้ามในการบูชาท้าวเวสสุวรรณ
1. ห้ามประพฤติตนไม่ดี ผิดศีล 5 จะทำให้การบูชาไม่ได้ผล
2. ไม่เป็นผู้ทำลายศาสนา ทั้งทางตรงทางอ้อม หรือยุยงให้สิ้นศรัทธาต่อศาสนา
3. ไม่ประกอบอาชีพ ไม่มีความสุจริต ฉ้อโกง เอาเปรียบผู้อื่น
4. ไม่เป็นคนเห็นแก่ตัว ไม่มีน้ำใจ รู้จักให้ทาน
สำหรับสถานที่ในการไปกราบไหว้ “ท้าวเวสสุวรรณ” นั่นก็คือภายใน “วัดจุฬามณี” อำเภออัมพวา จ.สมุทรสงคราม “วัดจุฬามณี” ตั้งอยู่บนทางหลวงหมายเลข 325 (สมุทรสงคราม-บางแพ) กิโลเมตร 34–35 ตำบลบางช้าง เป็นวัดโบราณริมฝั่งคลองอัมพวาต่อเนื่องกับคลองผีหลอก วัดนี้สร้างขึ้นตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลายรัชกาลสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง สันนิษฐานว่า ท้าวแก้วผลึก (น้อย) นายตลาดบางช้าง ต้นวงศ์ราชินิกุลบางช้างเป็นผู้สร้างขึ้น บริเวณหลังวัดเดิมเป็นนิวาสสถานของคุณนาค (สมเด็จพระอมรินทรามาตย์พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 1) และคุณบุญรอด (สมเด็จพระศรีสุริเยนทรามาตย์ พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 2)
ภายในวัดจุฬามณีมี 3 จุดสำคัญที่ผู้คนหลั่งไหลไปกราบไหว้ คือ 1.สังขารที่ไม่เน่าเปื่อยของ หลวงพ่อเนื่อง โกวิท อดีตเจ้าอาวาส
2.อุโบสถจตุรมุขหินอ่อนที่มีความสวยงาม โดยอุโบสถหลังนี้มีขนาดกว้าง 40 เมตร ยาว 80 เมตร ปูพื้นด้วยหินหยกสีเขียวจากเมืองการาจี ประเทศปากีสถาน ภายประดิษฐานพระประธานบนฐานสูง บานหน้าต่างด้านนอกลงรักฝังมุกเป็นภาพตราพระราชลัญจกร ตั้งแต่รัชกาลที่ 1 ถึงรัชกาลปัจจุบัน พระนามาภิไธยของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ และพระบรมวงศานุวงศ์ ตลอดจนภาพเครื่องอิสริยาภรณ์ชั้นต่างๆ นอกจากนี้บริเวณฝาผนังโดยรอบพระอุโบสถ ยังมีภาพจิตรกรรมฝาผนังเรื่องราวเกี่ยวกับพุทธประวัติและนิทานชาดกที่ประณีต ฝีมือของจิตรกรหญิงนิตยา ศักดิ์เจริญ ซึ่งใช้เวลาในการวาดนานถึง 6 ปี
3.ไฮไลท์สำคัญ คือ “ท้าวเวสสุวรรณ” โดยความเชื่อแล้ว ท้าวเวสสุวรรณ เป็นเจ้าแห่งอสูรยักษ์ รวมถึงภูตผีปีศาจ เป็นหนึ่งในท้าวจตุโลกบาลทั้ง 4 ที่ปกป้องคุ้มครองดูแลโลกมนุษย์ ทรงประทับอยู่ทางทิศเหนือ ตามตำนานทางพระพุทธศาสนา