ความเชื่อ

heading-ความเชื่อ

เส้นทางรถไฟสายประวัติศาสตร์ สะพานข้ามแม่น้ำแคว

27 เม.ย. 2566 | 17:51 น.
เส้นทางรถไฟสายประวัติศาสตร์ สะพานข้ามแม่น้ำแคว

วันนี้ ปาฏิหาริย์ตำนานดัง จะพาไปย้อนดู เส้นทางรถไฟสายประวัติศาสตร์ สะพานข้ามแม่น้ำแคว ที่มีอายุกว่า 80 ปี ปัจจุบันเป็นแลนด์มาร์คที่นักท่องเที่ยวทั่วโลกต่างแวะเวียนมาสถานที่แห่งนี้

เส้นทางรถไฟสายประวัติศาสตร์ สะพานข้ามแม่น้ำแคว  ทำไมเรื่องเล่า ทางรถไฟสายมรณะ สะพานข้ามแม่น้ำแคว แห่งนี้จึงเป็นที่รู้จักและโด่งดังไปทั่วโลก มันไม่ใช่ความอลังการ หรือ ความงดงามใดๆ ทั้งสิ้น แต่มันคือ ทางรถไฟสายมรณะที่สร้างขึ้นโดยเชลยศึกฝ่ายสัมพันธมิตร เมื่อครั้งสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้แก่ ทหารอังกฤษ อเมริกัน ออสเตรเลีย ฮอลันดา และนิวซีแลนด์ รวมเชลยประมาณ 61,700 คน สมทบด้วยกรรมกรชาวจีน ญวน ชวา มลายู ไทย พม่า และอินเดีย อีกจำนวนมาก มาก่อสร้างทางรถไฟสายยุทธศาสตร์ เพื่อเป็นเส้นทางผ่านไปสู่ประเทศพม่า ซึ่งเส้นทางช่วงหนึ่งจะต้องข้ามแม่น้ำแควใหญ่ จึงต้องมีการสร้างสะพานแห่งนี้ขึ้น

เส้นทางรถไฟสายประวัติศาสตร์ สะพานข้ามแม่น้ำแคว

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

heading-ข่าวที่เกี่ยวข้อง

หากย้อนกลับไปใน วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2484 ญี่ปุ่นประกาศสงครามกับสหรัฐอเมริกา อังกฤษ เนเธอร์แลนด์และจีน หลังจากนั้นกองทัพอันมหาศาลของจักรวรรดิก็เคลื่อนพลแบบสายฟ้าแลบ บนน่านน้ำแปซิฟิก กำลังทางอากาศจากเรือบรรทุก เครื่องบิน ได้บินขึ้นถล่มฐานทัพเรือใหญ่ของสหรัฐฯ ที่อ่าวเพิร์ลฮาร์เบอร์ ดินแดนฮาวาย จนแหลกลาญ

ขณะเดียวกัน กองทัพญี่ปุ่นก็บุกขึ้นเกาะต่างๆ ทั้งชวา ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ มลายู และอินโดจีน ซึ่งรวมถึงประเทศไทยด้วย แต่สำหรับไทย ญี่ปุ่นได้ยื่นบันทึกต่อรัฐบาล เพื่อขอเดินทัพผ่านไปโจมตีอังกฤษที่ตั้งฐานทัพอยู่ที่มลายูและพม่า จึงขอไทยอย่าขัดขวาง โดยญี่ปุ่นให้การรับรองว่าจะไม่ทำลายอธิปไตยของไทย รัฐบาลญี่ปุ่น ได้พยายามทำทุกทางแล้ว ด้วยสันติวิธีในการเจรจาที่กรุงวอชิงตัน แต่ไม่สำเร็จ จึงจำเป็นต้องทำสงครามกัน และมองดูแล้วนั้นสงครามทางด้านยุโรปจะเห็นได้ว่าใกล้เข้ามาจะถึงอิรักและอิหร่านแล้ว น่ากลัวว่าอาจลุกลามมาถึงประเทศไทยได้ เพราะฉะนั้น พวกเราชาวเอเชียจะต้องร่วมมือกัน เพื่อทำให้เอเชียเป็นของคนเอเชีย 

บัดนี้ ประเทศญี่ปุ่น ได้เตรียมสู้รบกับข้าศึกของเราแล้วไม่ใช่จะมาต่อสู้กับคนไทยเลย ถึงแม้จะมีการต่อสู้กัน และกองทัพญี่ปุ่นได้ผ่านประเทศไทยไปแล้ว ญี่ปุ่นก็จะไม่ถือว่าไทยเป็นข้าศึก แต่ถ้าหากว่าไทยจะร่วมมือเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับญี่ปุ่นแล้ว คำว่า เอเชียเป็นของคนเอเชียก็จะเป็นอันสำเร็จผลแน่ และประเทศไทยอันเป็นประเทศเอกราชอยู่แล้วนั้น ก็จะเจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว

เส้นทางรถไฟสายประวัติศาสตร์ สะพานข้ามแม่น้ำแคว

สิ่งที่รัฐบาลญี่ปุ่นขอจากไทยคือ ขอให้กองทัพของญี่ปุ่นผ่านแผ่นดินไทยไปเท่านั้น ทั้งนี้ ก็ด้วยความจำเป็นทางยุทธศาสตร์ เพราะฉะนั้น จึงใคร่ขอความสะดวก โดยขออย่าให้กองทัพทั้งสองต้องมารบกันเองเลย เพราะญี่ปุ่นไม่ถือว่าไทยเป็นศัตรู จึงหวังว่าไทยจะมีความสามัคคีร่วมมือกับญี่ปุ่นในความจำเป็นครั้งนี้ กับขอให้จัดกำลังตำรวจระวังรักษาชาวญี่ปุ่นที่พำนักอยู่ในประเทศไทยทั่วไปด้วย

ทางรถไฟนี้ เดิมทีญี่ปุ่นมีเป้าหมายจะให้เสร็จในเดือนพฤศจิกายน แต่ปรากฏว่า ญี่ปุ่นสามารถสร้างได้เสร็จก่อนกำหนด 1 เดือน ในวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2486 จึงเป็นวันฉลองความสำเร็จ ของทหารพระจักรพรรดิ

เส้นทางรถไฟสายประวัติศาสตร์ สะพานข้ามแม่น้ำแคว

การที่ทางรถไฟสายนี้ถูกเรียกว่าเป็น ทางรถไฟสายมรณะ โดยเฉพาะนับตั้งแต่ สะพานข้ามแม่น้ำแคว ไปตามแนวลำแม่น้ำแควน้อย จรดชายแดนที่ "นีก้า" ซึ่งอยู่ตอนใต้ของเมืองเมาละแหม่ง ก็เนื่องจากว่าบรรดาเชลยศึกประเทศพันธมิตรที่ญี่ปุ่นกวาดต้อนมาจากฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย สิงคโปร์ มลายู ไทย จีน อินเดีย ซึ่งมีจำนวนรวมประมาณ 170,000 คน เพื่อลำเลียงอาวุธยุทโธปกรณ์ เพื่อจะไปโจมตีพม่าและอินเดียต่อไป 

ขณะนั้นเป็นดินแดนอาณานิคมของอังกฤษ เส้นทางช่วงหนึ่งจะต้องข้าม แม่น้ำแควใหญ่ จึงต้องสร้างสะพานขึ้น ส่วนหนึ่งต้องเสียชีวิตลงเพราะความโหดร้ายทารุณทั้งจากทหารญี่ปุ่น การใช้แรงงานเชลยศึกในครั้งนั้น ตกอยู่ในภาวะขาดแคลนน้ำและอาหาร เมื่อเจ็บป่วยแพทย์และอุปกรณ์ทางการแพทย์ก็ไม่เพียงพอต่อการพยาบาล ต้องดูแลตามมีตามเกิด 

เส้นทางรถไฟสายประวัติศาสตร์ สะพานข้ามแม่น้ำแคว

แรงงานที่ถูกจับมาก็ต้องทำงานข้ามวันข้ามคืน ใช้แรงคนในการสกัดภูเขาด้วยมือ ซึ่งเป็นการทำงานที่ทารุณมาก ต้องปีนลงไปสกัดในช่องเขา บางช่วงสูงถึง 11 เมตร จนแทบไม่มีอากาศหายใจทั้งยังต้องทำงานท่ามกลางอากาศร้อนอบอ้าว เชลยศึกและกรรมกรที่ช่องเขาขาดต้องทำงานทั้งวันทั้งคืน ตอนกลางคืนใช้แสงไฟจากคบเพลิงและกองเพลิงทำให้สะท้อนเห็นเงาของเชลยศึกและผู้คุมวูบวาบบนผนัง ทำให้ที่นี่ได้รับการขนาน นามว่า "ช่องไฟนรก"

หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 จบลง ทางรถไฟบางส่วนถูกรื้อทิ้งบางส่วนจมอยู่ใต้อ่างเก็บน้ำเขื่อนวชิราลงกรณ์ หลังสิ้นสุดสงคราม รัฐบาลไทยได้จ่ายเงินจำนวน 50 ล้านบาท เพื่อซื้อทางรถไฟสายนี้จากอังกฤษและทำการซ่อมบำรุงบางส่วนของเส้นทาง เพื่อเปิดการเดินรถตั้งแต่สถานีหนองปลาดุกจนถึงสถานีน้ำตก โดยอยู่ในความดูแลของการรถไฟแห่งประเทศไทยจนถึงปัจจุบัน เส้นทางรถไฟสายนี้เป็นอนุสรณ์ของโลกที่จารึกความโหดร้ายทารุณของสงครามโลกครั้งที่ 2 และเป็นอนุสรณ์แก่ผู้เสียชีวิตในสงครามด้วย

เส้นทางรถไฟสายประวัติศาสตร์ สะพานข้ามแม่น้ำแคว

บทความนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์เท่านั้น ไม่ได้มีเจตนาซ้ำเติมครอบครัวของบุคคลที่เสียชีวิตจากเหตุการณ์ในครั้งนี้ และนี่คือเรื่องราว ทางรถไฟสายมรณะ สะพานข้ามแม่น้ำแคว จังหวังกาญจนบุรี

ข่าวล่าสุด

heading-ข่าวล่าสุด

ข่าวเด่น

นางเอกดัง "เบลล่า ราณี"  สุดเศร้า สูญเสียคุณยายอันเป็นที่รัก

นางเอกดัง "เบลล่า ราณี" สุดเศร้า สูญเสียคุณยายอันเป็นที่รัก

"เบิร์ด เทคนิค" สูญเสียครั้งใหญ่ สุดเศร้าโลกนี้ช่างใจร้ายกับผม

"เบิร์ด เทคนิค" สูญเสียครั้งใหญ่ สุดเศร้าโลกนี้ช่างใจร้ายกับผม

ข่าวดี รัฐบาลขยายเวลา "คุณสู้ เราช่วย" ถึงสิ้นเดือนนี้

ข่าวดี รัฐบาลขยายเวลา "คุณสู้ เราช่วย" ถึงสิ้นเดือนนี้

โดนแล้ว "พีช สมิทธิพัฒน์" สารภาพ 3 ข้อหา เผยค่าปรับที่ต้องชดใช้

โดนแล้ว "พีช สมิทธิพัฒน์" สารภาพ 3 ข้อหา เผยค่าปรับที่ต้องชดใช้

รวบ 2 จิ๊กโก๋ รัวปืนกลางงานวัด บาดเจ็บ 3 ราย พบมีคดีติดตัวทั้งคู่

รวบ 2 จิ๊กโก๋ รัวปืนกลางงานวัด บาดเจ็บ 3 ราย พบมีคดีติดตัวทั้งคู่