ปาฎิหาริย์-ความเชื่อ

heading-ปาฎิหาริย์-ความเชื่อ

ขุนพิเรนทรเทพ ผู้ปราบขุนวรวงศาธิราช แม่อยู่หัวศรีสุดาจันทร์

22 พ.ย. 2567 | 15:30 น.
ขุนพิเรนทรเทพ ผู้ปราบขุนวรวงศาธิราช แม่อยู่หัวศรีสุดาจันทร์

ขุนพิเรนทรเทพ คือใคร ประวัติ ขุนพิเรนทรเทพ มือขวาของ พระไชยราชาธิราช ใน แม่หยัว ผู้ปราบขุนวรวงศาธิราช แม่อยู่หัวศรีสุดาจันทร์

"ขุนพิเรนทรเทพ" ในยุคสมัยที่การช่วงชิงอำนาจเป็นเรื่องปกติ ราชสำนักอยุธยาต้องเผชิญหน้ากับความวุ่นวาย เมื่อขุนวรวงศาธิราชและแม่อยู่หัวศรีสุดาจันทร์เข้ามามีอำนาจอย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด แต่แล้วก็มีวีรบุรุษผู้หนึ่งที่ลุกขึ้นมาต่อต้าน นั่นคือขุนพิเรนทรเทพ ผู้กล้าหาญที่พร้อมจะสละทุกสิ่งเพื่อกอบกู้แผ่นดินให้พ้นจากความทุกข์ยาก

 

ขุนพิเรนทรเทพ ผู้ปราบขุนวรวงศาธิราช แม่อยู่หัวศรีสุดาจันทร์

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

heading-ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ขุนพิเรนทรเทพ คือใคร ขุนพิเรนทรเทพ ชายผู้มีเลือดเนื้อเชื้อไขของราชวงศ์สุโขทัย เป็นที่รู้จักในฐานะวีรบุรุษผู้กล้าหาญที่สามารถโค่นล้มอำนาจของขุนวรวงศาธิราชและแม่อยู่หัวศรีสุดาจันทร์ได้สำเร็จ เรื่องราวของเขาเป็นตำนานที่เล่าขานกันมาจนถึงปัจจุบัน

 

ขุนพิเรนทรเทพ ภาพจากซีรีย์ แม่หยัว

เปิดพระราชประวัติ “ขุนพิเรนทรเทพ” ขุนนางคู่พระทัยสมเด็จพระไชยราชาธิราช ซึ่งต่อมาขึ้นครองราชย์เป็น “สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช”

ก่อนจะขึ้นครองราชย์เป็นสมเด็จพระมหาธรรมราชา ขุนพิเรนทรเทพเป็นขุนนางที่มีเชื้อสายทางราชวงศ์สุโขทัย เดิมรับราชการมีบรรดาศักดิ์เป็นขุนพิเรนทรเทพ เจ้ากรมพระตำรวจขวา ในสมัยสมเด็จพระไชยราชาธิราช

ขุนพิเรนทรเทพมีส่วนร่วมในการปราบขุนวรวงศาธิราชและแม่อยู่หัวศรีสุดาจันทร์โดยวางแผนร่วมกันกับขุนนางที่ภักดีต่อราชวงศ์สุพรรณภูมิ และมีตำนานการเสี่ยงเทียนพิสูจน์ว่าจะประสบความสำเร็จในการที่วางไว้หรือไม่ และได้เห็นเทียนของขุนวรวงศาธิราชดับ เห็นเป็นนิมิตหมายอันดี จึงตัดสินใจลงมือ

ขุนพิเรนทรเทพและพวกได้วางแผนลวงขุนวรวงศาธิราชออกไปคล้องช้างที่เพนียดโดยกระบวนเรือ จากนั้นจับขุนวรวงศาธิราชและท้าวศรีสุดาจันทร์ฆ่าเสีย พระราชวัง ส่วนธิดาของขุนวรวงศาธิราชกับท้าวศรีสุดาจันทร์ต่อมาก็ถูกกำจัดด้วย

จากนั้นเหล่าขุนนางได้อัญเชิญพระเฑียรราชาที่ขณะนั้นลาผนวชอยู่เพื่อหลีกหนีเภทภัย ให้ขึ้นครองราชย์เป็นสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ

หลังจากที่สมเด็จพระมหาจักรพรรดิเสวยราชย์เมื่อ พ.ศ. 2091 แล้ว ทรงสถาปนาขุนนางสำคัญที่มีส่วนช่วยเหลือให้ดำรงตำแหน่งต่าง ๆ โดยขุนพิเรนทรเทพได้อวยยศเป็นสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช ครองเมืองพิษณุโลก และพระราชทานพระวิสุทธิกษัตรีย์ พระราชธิดา ให้เป็นพระมเหสี

เมื่อสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชไปครองเมืองพิษณุโลกนั้น ต่อมาพระวิสุทธิกษัตรีย์มีพระราชธิดาและพระราชโอรสเป็นลำดับคือ พระสุพรรณกัลยา สมเด็จพระนเรศวร และสมเด็จพระเอกาทศรถ

 

เสียกรุงครั้งที่ 1


เมื่อเกิดสงครามช้างเผือกระหว่างอยุธยากับพม่าใน พ.ศ. 2106 สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชได้พยายามป้องกันเมืองพิษณุโลกและหัวเมืองเหนือไว้ด้วยความสามารถ แต่ต้านทายการบุกของ “พระเจ้าบุเรงนอง” ไม่ไหว

เมื่อจวนจะเสียเมือง สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชจำต้องทรงยอมอ่อนน้อมต่อพม่า ฝ่ายบุเรงนองเห็นการปฏิบัติของสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช จึงตั้งให้เป็นเจ้าเมืองพิษณุโลกต่อไป แต่ขึ้นอยู่ภายใต้อาณัติของพม่า

ภายหลังที่เสียกรุงศรีอยุธยาใน พ.ศ. 2112 แล้ว พม่าได้จับกุมสมเด็จพระมหินทราธิราช พระโอรสของสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ กษัตริย์อุยธยาในขณะนั้น กลับไปเป็นเชลยด้วย และได้ปราบดาภิเษกสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชขึ้นเป็นสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 1 เป็นกษัตริย์อยุธยาจากราชวงศ์สุโขทัยพระองค์แรก

ในรัชกาลของสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช อยุธยายังอ่อนแอจากการเสียกรุงครั้งที่ 1 ทำให้มีการศึกจำนวนมาก ทั้งใน พ.ศ. 2113 พระยาละแวกยกทัพมาตีกรุงศรีอยุธยา แต่สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชสามารถป้องกันเมืองไว้ได้ โดยขับไล่กองทัพพระยาละแวกไป

ต่อมาอีก 3 ปี กองทัพพระยาละแวกยกเข้ามาโจมตีอยุธยาอีก แต่สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชป้องกันเมืองไว้ได้อีก การที่ข้าศึกสามารถขึ้นมาประชิดพระนครได้ง่ายดังนี้ ทำให้สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชทรงโปรดให้ขุดคูขื่อหน้าทางด้านทิศตะวันออกของเกาะเมืองให้กว้างขึ้น ทรงสร้างป้อมมหาชัยขึ้นที่บริเวณแม่น้ำป่าสักและแม่น้ำลพบุรีมาบรรจบกัน

ในปี พ.ศ. 2124 เกิดกบฏญาณพิเชียรขึ้นแถบเมืองลพบุรี แต่ทรงสามารถปราบปรามให้สงบเรียบร้อยลงได้

ต่อมาปี พ.ศ. 2127 สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ซึ่งขณะนั้นทรงดำรงตำแหน่งพระมหาอุปราช ได้ทรงหลั่งทักษิโณทกตัดสัมพันธไมตรีกับหงสาวดี ทำให้พม่าส่งทัพมาโจมตีกรุงศรีอยุธยาในปี พ.ศ. 2129 และ พ.ศ. 2130 ซึ่งสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชทรงสามารถขับไล่กองทัพพระเจ้าหงสาวดีที่มาล้อมกรุงศรีอยุธยาให้พ่ายแพ้กลับไป

สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชยังทรงมีพระราชกรณียกิจในการปราบปรามหัวเมืองต่าง ๆ ที่กระด้างกระเดื่อง เช่น หัวเมืองเขมร ให้อยู่ในอำนาจกรุงศรีอยุธยา โดยมีสมเด็จพระนเรศวรและสมเด็จพระเอกาทศรถเป็นแม่ทัพที่ทรงพระปรีชาสามารถ ทำให้กองทัพอยุธยาสามารถยับยั้งการรุกรานของเมืองอื่น ๆ ได้อยู่ร่ำไป

ต่อมา พ.ศ. 2133 สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชเสด็จสวรรคต พระชนมายุได้ 76 พรรษา อยู่ในราชสมบัติได้ 22 ปี จากนั้นสมเด็จพระนเรศวรมหาราชขึ้นครองราชย์ต่อ

 


เรียบเรียงจาก นามานุกรมพระมหากษัตริย์ไทย

ข่าวเด่น

เอส แอนด์ พี ต้อนรับเทศกาลแห่งความสุขจัดงาน “S&P SWEET HAPPINESS 2025”

เอส แอนด์ พี ต้อนรับเทศกาลแห่งความสุขจัดงาน “S&P SWEET HAPPINESS 2025”

"เบ๊น อาปาเช่" ซัดชาวเน็ตแซะ "มิกซ์" ลูกชายหม่ำ ดังเพราะบารมีพ่อ

"เบ๊น อาปาเช่" ซัดชาวเน็ตแซะ "มิกซ์" ลูกชายหม่ำ ดังเพราะบารมีพ่อ

"ทนายธรรมราช" เผยคำใบ้ "ทนายคนใหม่" ของทนายตั้ม

"ทนายธรรมราช" เผยคำใบ้ "ทนายคนใหม่" ของทนายตั้ม

ศาลไม่ให้ประกันตัว ภรรยา และ ลูกสาวหมอบุญ นำตัวกลับเข้าเรือนจำตามเดิม

ศาลไม่ให้ประกันตัว ภรรยา และ ลูกสาวหมอบุญ นำตัวกลับเข้าเรือนจำตามเดิม

แม่น้ำหนึ่งให้เลขเด็ดมาแรง งวดนี้ 1/12/67 คอหวยห้ามพลาด

แม่น้ำหนึ่งให้เลขเด็ดมาแรง งวดนี้ 1/12/67 คอหวยห้ามพลาด

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

heading-ข่าวที่เกี่ยวข้อง