ประวัติหลวงปู่สังวาลย์ เขมโก แห่งวัดทุ่งสามัคคีธรรม
ประวัติหลวงปู่สังวาล พระเกจิอาจารย์ชื่อดัง แห่งวัดทุ่งสามัคคีธรรม จ.สุพรรณบุรี ในทางพระพุทธศาสนา ทั้งด้านการสั่งสอนธรรมและการเผยแพร่ธรรมจนถึงปัจจุบัน
ประวัติหลวงปู่สังวาล จะเป็นอย่างไรบ้าง เกจิอาจารย์ผู้มีชื่อเสียงโด่งดังในทางพระพุทธศาสนา เป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของผู้ที่มีความเชื่อ ความศรัทธา ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน วันนี้ทีมข่าว Thainews Online จะพาทุกท่านมาเปิดประวัติ หลวงพ่อสังวาล กัน จะมีประวัติความเป็นมาอย่างไรบ้าง ไปติดตามกันเลย
ประวัติหลวงปู่สังวาลย์ เขมโก แห่งวัดทุ่งสามัคคีธรรม
หลวงปู่สังวาลย์ เขมโก หรือชื่อเดิมคือ สังวาล จันทร์เรือง เกิดเมื่อ จันทร์ เดือน 4 ปีมะโรง พ.ศ. 2459 ที่บ้านหนองผักนาก สามชุก สุพรรณบุรี มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน 6 คน เป็นคนที่ 4 ครอบครัวประกอบอาชีพทำนา โดยบิดาท่านเป็นผู้ที่ได้นำภาพยนตร์มาฉายในอำเภอสามชุกเป็นคนแรกด้วย
เมื่ออายุครบบวชจึงได้อุปสมบท แต่ด้วยความที่ไม่รู้ภาษา จึงท่องได้แค่ บทสวดมนต์บางบท อย่าง อิติปิโส ฯ พาหุง ฯ เพราะจำจากที่แม่ชีสวดกัน จึงตัดสินใจลาสิกขา ชีวิตสมรส ท่านสมรสกับแม่บาง เมื่ออายุ 26 ปี ในปี 2448 แต่ไม่มีบุตรด้วยกัน มีอาชีพทำไร่ทำนา แต่เนื่องด้วยปัญหาสุขภาพที่ไม่ดี บางทีก็ทำนาไม่ได้ จึงให้ภรรยาทำแทน ส่วนตัวท่านจะช่วยหุงหาอาหาร และได้รับคำแนะนำจากแม่ชีจินตนา ซึ่งเป็นศิษย์ของหลวงพ่อสด วัดปากน้ำ ให้ทำกรรมฐานเผื่อว่าโรคจะหาย
ด้วยความมีโรคภัยนี้เอง จึงได้เป็นเหตุหนึ่งที่ทำให้ท่านได้เห็นภัยในวัฏฏะสงสาร เห็นภัยที่เกิดจากความเกิด แก่ เจ็บ ตาย ขึ้นมา หลวงปู่สังวาลย์ จึงสละจากการครองเรือนจึงได้เกิดขึ้น ท่าน ได้บอกกับแม่บาง ให้รู้ถึงความตั้งใจอันแน่วแน่ที่ท่านจะไปสู่ธรรมวินัยของพระบรมศาสดา เพื่อที่จะทำที่สุดแห่งทุกข์ให้จงได้ ในการจะออกบวชในครั้งนี้ท่านก็ได้ให้พ่อห่วง ผู้เป็นบิดา ให้บอกกับลูกหนี้ทั้งหมดที่เป็นหนี้เป็นสินกับบิดาของท่าน ให้มาประชุมพร้อมกัน และท่านได้ขอร้องพ่อห่วงให้ยกเลิกสัญญาที่ลูกหนี้ทั้งหลายได้กระทำกับบิดาของท่าน ด้วยการฉีกเอกสารทิ้งทั้งหมด นับได้ว่าเป็นการเริ่มต้นในการให้ทาน อันเป็นที่น่าปีติยินดีอย่างยิ่ง
หลังจากนั้นท่านได้ทำมหาทานอีกครั้ง ด้วยการบอกภรรยาว่า จะขอออกบวชอีกครั้ง ให้แม่บาง เมื่อ หลวงพ่อสังวาล อายุได้ 35 ปี ได้เข้าอุปสมบทครั้งที่ 2 ณ วัดนางบวชอำเภอเดิมบางนางบวช สุพรรณบุรี เมื่อเวลา 14.45 น. ของวันที่ 27 เมษายน 2494 โดยมี พระครูแขก เป็นพระอุปัชฌาย์ พระสมุห์ทองย้อย เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอธิการไสว เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า เขมโก และได้เข้าไปปฏิบัติธรรม ณ ป่าช้าวัดบ้านทึง สามชุก โดยมีหลวงพ่อมหาทอง โสภโณ ซึ่งเป็นเสมือนครูบาอาจารย์ เป็นผู้ปฏิบัติ ผู้อาวุโส อยู่ด้วย
ท่านเป็นผู้มีความรู้ทางด้านปริยัติได้ดีท่านหนึ่ง และท่านได้เป็นผู้แปลข้อศีลที่ว่า การไม่ยินดีรับเงินและทองเพื่อเป็นของตน หรือให้ผู้อื่นเก็บไว้เพื่อตน นับแต่นั้นมาหลวงพ่อสังวาลย์ก็ไม่มีปัจจัยแม้แต่สตางค์แดงเดียว และที่พระอาจารย์มหาทองท่านได้สอนหลวงพ่ออีกคือ สมาธิ ภิกฺขเว ภาเวย สมาธิโต ยถาภูตํ ปชานาติ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอทั้งหลายพึงยังสมาธิให้เกิดขึ้นเถิดเพราะจิตที่เป็นสมาธินั้น ย่อมรู้เห็นตามความเป็นจริง เพียงประโยคนี้เท่านั้น ที่ท่านถือเป็นแนวทางปฏิบัติ มุ่งมั่นกระทำความเพียร อยู่ในป่าช้าตลอดเวลา 5 ปี
หลวงปู่สังวาลนั้น ได้ยึดหลักธุดงควัตรตลอดเวลา หลังจากที่ท่านพระอาจารย์มหาทองได้ละสังขารแล้วท่านจึงได้ออกจากป่าช้า แต่ท่านก็มิได้ละเลยหรือทอดธุระในภาคปฏิบัติเลยแม้แต่น้อย โดยท่านจะนึกถึงคำของอาจารย์ที่ว่า นักปฏิบัติจะทิ้งการปฏิบัติไม่ได้ เมื่อท่านมาอยู่วัดทุ่งสามัคคีธรรม และไปสร้างวัดป่าน้ำตกเขมโก ที่ ด่านช้าง สุพรรณบุรี ท่านก็จะสั่งสอนและเจริญสมาธิภาวนา เผยแพร่พระธรรมให้ทุกคนรู้จักประพฤติปฏิบัติธรรมตามคำสอนของพระพุทธเจ้าได้ ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติให้ความสนใจในการปฏิบัติธรรม ท่านจึงมีลูกศิษย์มากมาย จนกระทั่งท่านมรณภาพเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2547 หลวงปู่สังวาลย์ เขมโกละสังขาร มีอายุได้ 89 ปี 55 พรรษา ถึงแม้ท่านจะมรณภาพไปแต่ก็ยังคงคุณค่าในเรื่องคุณงามความดี ความเลื่อมใสศรัทธา เป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจแก่ลูกศิษย์เรื่อยมานั้นเอง หลังมรณภาพ สรีระสังขารไม่เน่าไม่เปื่อย กว่า 10 ปีแล้ว อีกทั้งหลวงปู่สังวาลย์เขมโก ยังเคยทำนายเตือนภัยในเหตุการณ์ล่วงหน้าที่ว่าจะเกิดภัยพิบัติต่อประเทศไทยอีกด้วย