ส่อง 5 พระเครื่อง ของขลังคู่กาย "ขุนพันธ์" มือปราบขมังเวท ที่พกติดตัวตลอด
เปิดกรุ 5 พระเครื่อง ของขลัง คู่กาย "ขุนพันธ์" มือปราบขมังเวทแห่งเมืองนครศรีธรรมราช พกติดตัวตลอด เชื่อช่วยให้แคล้วคลาดปลอดภัย
พระเครื่องและเครื่องรางของขลัง ถือว่าเป็นอีกหนึ่งวัตถุมงคลที่คนไทยเคารพนับถือมาตั้งแต่โบราณ ซึ่งส่วนใหญ่พระเครื่อง จะถูกสร้างขึ้นตามความนิยมของบุคคลที่มีความเชื่อในเมตตามหานิยม อิทธิ์ฤิทธิ์ ปาฏิหารย์ วันนี้ Thainews จะพาทุกท่านมาย้อนตำนานความเชื่อของขลังคู่กาย "ขุนพันธ์" มือปราบจอมขมังเวท ที่บรรดาลโจรได้ยินชื่อก็พากันเกรงกลัว จากข้อมูลพบว่าของขลังที่ “ขุนพันธ์” มักพกติดตัวก่อนออกไปปราบโจรมีอยู่ 5 อย่างด้วยกัน ซึ่งเชื่อว่าช่วยเรื่องผ้องกันภัย พุทธคุณแคล้วคลาด
โดยประวัติของขุนพันธ์ มีชื่อจริงว่า พลตำรวจตรี ขุนพันธรักษ์ราชเดช (บุตร พันธรักษ์) อดีตนายตำรวจชื่อดังของวงการตำรวจไทย มีชื่อเสียงที่โด่งดังมาจากการปราบโจรร้ายทั่วทุกภูมิภาค ของประเทศไทย เช่น ในภาคกลางเช่น เสือฝ้าย เสือย่อง เสือผ่อน เสือครึ้ม เสือปลั่ง เสือใบ เสืออ้วน เสือไหว เสือมเหศวร ที่พัทลุง ปราบ เสือสังหรือเสือพุ่ม ที่นราธิวาส ปราบผู้ร้ายทางการเมือง ในปี พ.ศ. ๒๔๘๑ หัวหน้าโจรชื่อ "อะเวสะดอตาเละ" จนท่านได้ฉายาจากชาวไทยมุสลิมว่า "รายอกะจิ" ซึ่งแปลว่า "อัศวินพริกขี้หนู"
ซึ่งคนเดียวที่ขุนพันธรักษ์ราชเดช ไม่ได้ทำการจับกุม แต่แลกกับอิสระภาพนั้นคือ เสือดำ โดยใช้ศพลูกน้องของเสือดำเองเสียสละชีพว่าเสือดำถูกฆ่าแล้ว ภายหลังจึงทราบว่า ตัวตนเสือดำยังมีชีวิตอยู่ โดย เสือไบ เสือมเหศวร ได้พบเจอกันช่วงอายุมากแล้ว และเสือดำได้ออกรายการในที่สุด คือบุคคลเดียวที่ ขุนพันธรักษ์ราชเดช ยอมเสี่ยงทำผิดกฏหมาย แต่คดีไม่มีใครทราบความจริงสุดท้ายจึงหมดอายุความลง
ในช่วงที่ ขุนพันธรักษ์ราชเดช แห่จับโจรทั่วผืนแผ่นดินดินไทย ได้มีคำกล่าวของท่านว่า "ในการเลือกพระเครื่องนั้นเราต้องดูว่าอาจารย์ที่ทำพิธีปลุกเสกนั้นมีความเก่งกล้าในทางไสยเวทย์หรือไม่นอกจากอักขระเลขยันต์ที่ได้รับการประสิทธิ์จากครูบาอาจารย์เเละยังมีวิชาต่างที่ได้ที่ได้รำเรียนจากสำนักเขาอ้อ ไม่ว่าจะ คาถาเวทมนต์ สักยันต์ เเช่ว่านลงยากินเหนียวกินมันตามตำหรับเขาอ้อ"
โดยพระคู่กายของขุนพันธ์ในอดีตมี ๕ องค์ที่ใช้ห้อยคอตลอดเวลาที่ออกไปปฎิบัติหน้าที่ก็คือ
๑. พระปรุหนังอยุธายา
พระเครื่องประเภทประณีตศิลป์ ซึ่งกำเนิดเมื่อประมาณสมัยอยุธยายุคต้น เป็นพระศิลป์อยุธยาบริสุทธิ์ที่งดงาม ยากจะหาพระพิมพ์ใดเสมอเหมือน พระเครื่องพิมพ์นี้สร้างด้วยฝีมือสกุลช่างชั้นครูแห่งอยุธยา ได้ออกแบบให้แบบพิมพ์ของพระพิมพ์นี้ แหวกม่านกลิ่นไอเมืองแห่งการทำสงครามออกมาได้อย่างอลังการเป็นเลิศ เหนือพระเครื่องเนื้อชินของอยุธยาทั้งหมด ที่มีชื่อว่า พระปรุหนัง เพราะลักษณะของเนื้อหาองค์พระที่ปรากฏ ช่างยุคนั้นออกแบบการเทหล่อเนื้อพระ ต้องการเทหล่อแบบให้องค์พระบาง เพื่อให้องค์พระที่ได้ มีพิมพ์พระที่เจาะโปร่ง ทะลุแบบมีลวดลายฉลุ จนดูคล้ายแผ่น หนังตะลุง หรือคล้ายกับแผ่น หนังใหญ่ ที่ใช้เชิดทำการแสดงในสมัยก่อน พระบางองค์เป็นไปได้ว่า ขณะเทหล่อมีเนื้อมวลสารมากกว่า พระที่เทจึงมีความหนากว่าพระทั่วไป ทำให้องค์พระตัน ไม่ทะลุเจาะโปร่งแบบมีลวดลายฉลุ
๒. หลวงปู่ทวด วัดช้างให้
"แขวนพระหลวงปู่ทวดแล้วไม่ตายโหง" คือคำกล่าวของ พระครูวิสัยโสภณ "ทิม ธัมมธโร" เมื่อครั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดช้างให้ โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี โดยท่านกล่าวไว้ตั้งแต่ปี 2497 กว่าครึ่งศตวรรษ คำกล่าวนี้ยังคงจารึกในศรัทธา ซึ่งมีคติความเชื่อสืบกันต่อมาว่า "อานุภาพแห่งพระคาถานี้ ประมาณมิได้เลย ภาวนาก่อนออกเดินทาง เป็นแคล้วคลาดปลอดภัย ภัยอันตรายไม่กล้ำกลาย"
๓. พระปิดตาหลวงพ่อทับ วัดทอง
มีพุทธคุณและพุทธศิลป์เป็นเลิศ เรียกได้ว่า "เป็นที่นิยมแสวงหาควบคู่กันมากับพระปิดตาหลวงปู่เอี่ยม วัดหนัง เลยทีเดียว" และยังได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งใน "เบญจภาคีเนื้อโลหะ" อีกด้วยการกำหนดเลขยันต์ที่จะบรรจุลงบนพระนั้น ท่านจะเลือกอักขระที่เหมาะสม มีความหมาย มีอำนาจแห่งพุทธาคม บรรจุลงตามส่วนต่างๆ ขององค์พระ เว้นช่องไฟได้เหมาะเจาะสวยงาม
๔. พระพิจิตรเม็ดข้าวเม่า
ต้นตำรับ พระเล็กจิ๋วแต่แจ๋ว ด้วยพุทธคุณด้านมหาอุด คงกระพันชาตรี แคล้วคลาดปลอดภัย ซึ่งอาจารย์ยุคโบราณได้สร้างไว้โดยเน้นความเล็กจิ๋ว เพื่อสะดวกในการพกพา หรือซ่อนไว้ในตัวอย่างมิดชิด ยามที่ต้องออกรบในศึกสงคราม
๕. ตะกรุดของพระคูกาชาด พ่อท่านย่อง วัดวังตะวันตก
พ่อท่านย่อง เป็นพระสมัยอยุธยา ธรบุรี และ รัตนโกสินทร์ ตอนต้น ตามตำนานเล่าว่าท่านเป็นพระครู มากอาคม เป็นเกจิชื่อดัง ที่พระเจ้าตากสินทร์มหาราช เคารพนับถือยิ่ง ทั้งยังสร้าง กุฏิกลิ่นสตอ ซึ่งถือเป็นสิ่งมหัสจรรย์สิ่งหนึ่งในประเทศไทย เพราะ ไม่ว่าผ่านไปกี่ร้อยปี ก็ยังคงมีกลิ่น สตออยู่ตลอดเวลา ตะกรุดของพระคูกาชาด ของพ่อท่านย่อง ถือว่ามีพุทธคุณ มากล้น แคล้วคลาดปลอดภัย ที่สำคัญเลยคือหายากยิ่ง