"สับปะรดห้วยมุ่น" ผลไม้ไทยรายแรก ได้ขึ้นทะเบียน GI ในญี่ปุ่น
ผลไม้ไทยสุดปัง "สับปะรดห้วยมุ่น" ผลไม้ของไทยรายแรกที่ได้รับการขึ้นทะเบียน GI ในญี่ปุ่น สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ การันตีแล้ว
สับปะรดห้วยมุ่น ผลไม้ไทยรายแรกได้รับการขึ้นทะเบียน GI ในญี่ปุ่น ยืนยันเป็นข่าวจริง สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ตรวจสอบและยืนยันแล้ว เป็นตัวที่ 3 ต่อจากกาแฟดอยช้างและกาแฟดอยตุง ภายใต้ความร่วมมือแลกเปลี่ยนการขึ้นทะเบียน GI 3 + 3 การีนตีคุณภาพ รายละเอียด
จากที่มีประเด็นเกี่ยวกับเรื่องสับปะรดห้วยมุ่น ผลไม้ของไทยรายแรกที่ได้รับการขึ้นทะเบียน GI ในญี่ปุ่น ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงร่วมกับสำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ พบว่าข้อมูลดังกล่าว เป็นข้อมูลจริง
ญี่ปุ่นประกาศรับขึ้นทะเบียน GI สับปะรดห้วยมุ่นเป็นตัวที่ 3 ต่อจากกาแฟดอยช้างและกาแฟดอยตุง ภายใต้ความร่วมมือแลกเปลี่ยนการขึ้นทะเบียน GI 3 + 3 ซึ่งเป็นเครื่องการันตีคุณภาพของสินค้าดังกล่าวได้เป็นอย่างดี ด้วยสับปะรดห้วยมุ่นเป็นสับปะรดพันธุ์ปัตตาเวียที่มีชื่อเสียง มีจุดเด่นในเรื่องของเนื้อสีน้ำผึ้ง หนานุ่ม รสชาติหวานหอม และยังมีคุณค่าทางโภชนาการสูง ทำให้สับปะรดห้วยมุ่นเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคญี่ปุ่นและเป็นอีกหนึ่งสินค้าที่มีศักยภาพในการส่งออก
โดยไทยมีผู้ประกอบการกว่า 850 ราย มีกำลังการผลิตกว่า 180,000 ตันต่อปี คิดเป็นมูลค่าการตลาดรวมกว่า 1,200 ล้านบาท จึงได้มอบหมายให้กรมทรัพย์สินทางปัญญาเร่งเดินหน้าสานต่อความร่วมมือในระยะที่ 2 เพื่อขยายตลาด GI ไทย ในญี่ปุ่น พร้อมทั้งได้หารือกับทางญี่ปุ่นเพื่อพัฒนาระบบการคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ร่วมกันต่อไป
ตลาดสินค้าสับปะรดในญี่ปุ่นมีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง ผู้บริโภคชาวญี่ปุ่นนิยม รับประทานสับปะรดสดที่มีรสชาติ หวานฉ่ำ มีปริมาณการบริโภคของคนในประเทศ ปีละไม่ต่ำกว่า 180,000 ตัน รวมถึงสินค้าสับปะรดแปรรูป เช่น น้ำสับปะรด สับปะรดกระป๋อง และสับปะรดอบแห้ง แต่เนื่องจากสภาพภูมิอากาศในประเทศญี่ปุ่นไม่เหมาะกับการปลูกสับปะรด จึงมีการนำเข้าจากประเทศต่าง ๆ จำนวนมากโดยไทยเป็นหนึ่งในประเทศคู่ค้าสำคัญที่ส่งออกสับปะรดมากเป็นอันดับ 4 รองจากฟิลิปปินส์ คอสตาริกาและอินโดนีเซีย ทั้งนี้มีความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจ ไทย-ญี่ปุ่น (JTEPA) ที่ใช้เจรจาสิทธิประโยชน์ทางการค้าเพิ่มเติมให้กับสินค้าเกษตรรวมถึงสับปะรดจากไทย
ทั้งนี้ เพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากสำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ https://www.ops.moc.go.th/ หรือโทรสายด่วน 1203
หน่วยงานที่ตรวจสอบ : สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์