สุขภาพ-ความงาม

heading-สุขภาพ-ความงาม

กรมการแพทย์ แนะวิธีดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์ สื่อสารอย่างไรให้มีความสุข

08 ก.ย. 2564 | 21:27 น.
กรมการแพทย์ แนะวิธีดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์ สื่อสารอย่างไรให้มีความสุข

การดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์ สิ่งสำคัญคือการสื่อสารและทำความเข้าใจเกี่ยวกับพฤติกรรม ความรู้สึก และความต้องการของผู้ป่วยให้ดี เนื่องจากผู้ป่วยอัลไซเมอร์จะมีอาการภาวะสมองเสื่อมบกพร่องในด้านการเรียนรู้

นายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า การสื่อสารสำหรับผู้ป่วยอัลไซเมอร์ปัญหาที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยคือ เริ่มมีปัญหาด้านความจำเป็นอันดับแรก สัมพันธ์กับการสื่อสารโดยลืมว่าพูดอะไรไปก่อนหน้านี้ อาการอื่นๆ ผู้ป่วยจะเริ่มพูดเรื่องเดิมซ้ำๆ มีปัญหาในการนึกคำลำบาก ใช้คำพูดอธิบายสิ่งของนั้นๆแทนการเรียกชื่อ พูดสื่อสารน้อยลง ในผู้ป่วยบางรายเริ่มมีปัญหาด้านอารมณ์ร่วมด้วย ซึ่งด้วยสาเหตุและอาการเหล่านี้จึงทำให้การดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์และโรคความจำเสื่อมเป็นไปได้ยาก หากผู้ดูแลและครอบครัวขาดความรู้และความเข้าใจที่ถูกต้อง ซึ่งการสื่อสารกับผู้ป่วยโรคความจำเสื่อมอย่างถูกวิธี เพื่อให้ทั้งครอบครัวและผู้ป่วยมีความสุขซึ่งกันและกัน

วิธีสื่อสารกับผู้ป่วยอัลไซเมอร์

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

heading-ข่าวที่เกี่ยวข้อง

นายแพทย์ธนินทร์  เวชชาภินันท์  ผู้อำนวยการสถาบันประสาทวิทยา กล่าวเพิ่มเติมว่า อาการผู้ป่วยอัลไซเมอร์แบ่งออกเป็น 3 ระยะ

ระยะแรก ผู้ป่วยสามารถสื่อสารเข้าสังคมได้ แต่พูดซ้ำๆเดิมๆนึกคำพูดลำบาก

ระยะกลาง พูดสื่อสารลำบากมากขึ้น เริ่มกระทบกับชีวิตประจำวัน

ระยะท้าย ผู้ป่วยดูแลตัวเองไม่ได้ ต้องให้ญาติ ผู้ดูแลดูแลตลอด

ซึ่งในการกระตุ้นการสื่อสารจึงมีความสำคัญกับผู้ป่วยอัลไซเมอร์ เพื่อให้ผู้ป่วยมีความสัมพันธ์ที่ดีกับบุคคลในครอบครัว สื่อสารกันอย่างเข้าใจ มีการฝึกเพื่อป้องกันการสับสนเรื่อง วัน เวลา สถานที่ บุคคล แล้วยังมีส่วนช่วยเรื่องการจัดการด้านสุขภาพ เช่น การจัดยา การจัดมื้ออาหาร รวมถึงธุรกรรมทางการเงิน เป็นต้น ผู้ดูแลควรมีความพร้อมเป็นทั้งผู้พูดและผู้ฟังที่ดี เข้าหาผู้ป่วยอย่างอบอุ่นเป็นกันเอง รับฟังด้วยความเข้าใจ มีท่าทีเอาใจใส่ ให้ความสนใจเพื่อให้ผู้ป่วยไว้วางใจ คอยสังเกตปฏิกิริยาของผู้ป่วย ไม่ควรมีทีท่ารีบร้อน หรือทำตัวแปลกแยกเหมือนว่าผู้ป่วยไม่ได้อยู่ในที่สนทนานั้นๆ ควรใส่ใจเพราะผู้ป่วยเป็นคนที่เรารัก มีความคิดและความรู้สึกไม่ต่างกับบุคคลทั่วไป

การสื่อสารมีหลากหลายวิธี ซึ่งแต่ละวิธีอาจจะได้ผลที่แตกต่างกัน คือใช้ได้กับผู้ป่วยท่านหนึ่งแต่อาจใช้ไม่ได้ผลกับผู้ป่วยอีกท่านหนึ่ง ตัวอย่างการสื่อสารเช่น สร้างความคุ้นเคยโดยการเรียกชื่อผู้ป่วย เพื่อให้ผู้ป่วยสนใจและแนะนำตัวเองว่าเราคือใคร จ้องตาผู้ป่วยขณะพูดโดยใช้น้ำเสียงนุ่มนวลด้วยคำพูดสั้นๆและช้าๆเข้าใจง่าย เรื่องที่พูดคุยควรเน้นเป็นเรื่องๆไป และไม่ควรเปลี่ยนเรื่องอย่างรวดเร็ว ผู้ดูแลอาจชวนคุยด้วยการใช้รูปภาพ หรือสัญลักษณ์ เช่น รูปคนในครอบครัว พยายามให้เวลารอคอยให้ผู้ป่วยตอบ หากผู้ป่วยพูดแล้วเราไม่เข้าใจให้พยายามพูดทวนอีกครั้ง ซึ่งการพูดคุยด้วยบรรยากาศเป็นกันเอง ผ่อนคลาย และมีการสร้างอารมณ์ขันชวนให้ผู้ป่วยความจำเสื่อมได้หัวเราะ จะช่วยลดความตึงเครียดและการวิตกกังวลในการสื่อสารร่วมกับผู้อื่นได้

วิธีสื่อสารกับผู้ป่วยอัลไซเมอร์

 

ขอบคุณ กรมการแพทย์ 

ข่าวเด่น

"ทนายอนันต์ชัย"พาสมาชิกสมาคมฮินดูฯ บุก ปค.ร้อง ปธ.-คกก.เก่าขวางเลือกตั้ง

"ทนายอนันต์ชัย"พาสมาชิกสมาคมฮินดูฯ บุก ปค.ร้อง ปธ.-คกก.เก่าขวางเลือกตั้ง

ทำไมคนไทยถึงชอบกิน บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป มากขนาดนี้

ทำไมคนไทยถึงชอบกิน บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป มากขนาดนี้

"ทนายเดชา" ฝากข้อความถึงคนที่ไม่ชอบตน งานนี้ชาวเน็ตแห่ถูกใจ

"ทนายเดชา" ฝากข้อความถึงคนที่ไม่ชอบตน งานนี้ชาวเน็ตแห่ถูกใจ

โปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อใหม่ เจ้าคุณพระสินีนาถ พิลาสกัลยาณี

โปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อใหม่ เจ้าคุณพระสินีนาถ พิลาสกัลยาณี

"ปู มัณฑนา" เผยแจ้งความเอาผิดเกรียนคีย์บอร์ด ล็อตแรก 100 เคส

"ปู มัณฑนา" เผยแจ้งความเอาผิดเกรียนคีย์บอร์ด ล็อตแรก 100 เคส

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

heading-ข่าวที่เกี่ยวข้อง