สุขภาพ-ความงาม

heading-สุขภาพ-ความงาม

กรมการแพทย์เตือน ผู้ป่วยโรคลมชัก ไม่ควรขับรถ เสี่ยงเกิดอุบัติเหตุถึงชีวิต

14 ก.ย. 2564 | 13:03 น.
กรมการแพทย์เตือน ผู้ป่วยโรคลมชัก ไม่ควรขับรถ เสี่ยงเกิดอุบัติเหตุถึงชีวิต

กรมการแพทย์ โดยสถาบันประสาทวิทยา แนะผู้ป่วยโรคลมชักไม่ควรขับรถ เสี่ยงอุบัติเหตุร้ายแรงจากการขับรถ ต่อตัวเองและผู้อื่น

นายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า โรคลมชัก เกิดจากความผิดปกติของการส่งสัญญาณไฟฟ้าในสมอง ซึ่งมีสาเหตุหลากหลาย พบได้ในทุกเพศทุกวัย ตั้งแต่แรกเกิด จนถึงวัยผู้สูงอายุ ในประเทศไทยมีผู้ป่วยโรคลมชักกว่า 5 แสนราย กระจายตัวกันอยู่ตามภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วประเทศ ขณะผู้ป่วยมีอาการของโรคลมชัก อาจจะมีอาการแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับชนิดของโรคลมชักและจุดกำเนิดในสมอง อาทิ เกร็งกระตุกทั้งตัว เหม่อนิ่งไม่รู้สึกตัว พฤติกรรมเปลี่ยนแปลงชั่วขณะ ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะสูญเสียความสามารถในการควบคุมตนเองขณะมีอาการ เป็นเหตุให้เกิดอุบัติเหตุขึ้นได้ ทั้งต่อตนเอง ต่อทรัพย์สิน หรือบางครั้งอาจจะรุนแรงจนถึงขั้นทำให้เกิดการสูญเสียต่อชีวิตได้ ปัจจุบันเทคโนโลยีในการรักษาโรคลมชักพัฒนาก้าวไกลไปมาก สามารถตรวจหาสาเหตุเพื่อให้การรักษาตรงจุด มียากันชักหลากหลายชนิดที่ล้วนมีประสิทธิภาพในการควบคุมอาการ หรือในกรณีที่โรคมีการดื้อต่อยาการรักษาด้วยยากันชัก ก็สามารถให้การรักษาด้วยการตรวจประเมินหาจุดกำเนิดลมชักและผ่าตัดรักษาได้ ซึ่งจะช่วยทำให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยดีขึ้นอย่างมาก

กรมการแพทย์เตือน ผู้ป่วยโรคลมชัก ไม่ควรขับรถ เสี่ยงเกิดอุบัติเหตุถึงชีวิต

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

heading-ข่าวที่เกี่ยวข้อง

นายแพทย์ธนินทร์  เวชชาภินันท์  ผู้อำนวยการสถาบันประสาทวิทยา กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับผู้ป่วยที่ยังไม่สามารถควบคุมอาการชักได้ อาจจะมีข้อจำกัดในชีวิตอยู่บ้าง แต่ก็เป็นไปเพื่อความปลอดภัยทั้งต่อตัวผู้ป่วยเอง ต่อทรัพย์สิน และถือเป็นการรับผิดชอบต่อสังคมโดยรวมด้วย อุบัติเหตุขณะมีอาการชักเกิดขึ้นได้ตั้งแต่เรื่องใกล้ตัวเช่น หากมีอาการชักระหว่างกำลังประกอบอาหารอาจจะได้รับบาดเจ็บจากไฟไหม้ น้ำร้อนลวกได้ หรือหากมีอาการชักระหว่างประกอบอาชีพกับเครื่องจักรหรือของมีคม มีโอกาสได้รับบาดเจ็บจากเครื่องจักรและของมีคมได้ แต่อีกหนึ่งปัญหาที่เรายังพบเรื่อย ๆ คืออุบัติเหตุจราจร เนื่องจากผู้ป่วยโรคลมชักสามารถดำเนินชีวิตได้ตามปกติในช่วงที่ไม่มีอาการ ไปเรียนหนังสือ ไปทำงาน หรือทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันตามปกติ เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน กรมการแพทย์ โดยสถาบันประสาทวิทยาจึงได้ร่วมมือกับกรมการขนส่งทางบกและแพทยสภา ดำเนินการปรับปรุงข้อกำหนดในการออกใบรับรองแพทย์เพื่อใช้ในการขอมีใบอนุญาตขับขี่สำหรับผู้ป่วยโรคลมชักขึ้น 

โดยกำหนดให้ผู้ที่ต้องการขอมีใบอนุญาตขับขี่ครั้งแรก ต่ออายุ เปลี่ยนชนิด หรือประเภทของใบอนุญาต ต้องใช้ใบรับรองแพทย์ฉบับใหม่ที่แพทยสภากำหนด และสำหรับผู้ป่วยโรคลมชัก ต้องสามารถควบคุมอาการชักได้อย่างน้อย 1 ปี โดยเริ่มประกาศใช้อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2564 ที่ผ่านมา ทั้งนี้ต้องเรียนฝากทุกท่านว่า ผู้ป่วยโรคลมชักสามารถรักษาให้หายขาดและจะสามารถดำเนินชีวิตปกติหรือขับรถได้ เมื่อไม่มีอาการชักอย่างน้อย 1 ปี การบังคับใช้กฎหมายต้องดำเนินการเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อส่วนรวม และต้องไม่ลิดรอนสิทธิในการดำรงชีวิตของประชาชนอีกด้วย  และอีกหนึ่งสิ่งจำเป็นที่ต้องเรียนให้ทราบทั่วกันคือ หากเราพบผู้ป่วยที่มีอาการชัก วิธีการช่วยเหลือที่ถูกต้องคือ ต้องไม่งัด ไม่ง้าง ไม่ถ่าง ไม่กด ไม่ทั้งหมด แค่ดูแลให้ชักอย่างปลอดภัย ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะหยุดชักได้เองในเวลาไม่เกิน 5 นาที หากมีอาการชักนานหรือได้รับบาดเจ็บระหว่างชัก จึงค่อยนำส่งโรงพยาบาลหรือโทร 1669

กรมการแพทย์เตือน ผู้ป่วยโรคลมชัก ไม่ควรขับรถ เสี่ยงเกิดอุบัติเหตุถึงชีวิต

ขอบคุณ กรมการแพทย์

ข่าวเด่น

"น้ำท่วมยะลาล่าสุด" อ่วมหนักในรอบ 20ปี ประกาศเตือนภัยยกของขึ้นที่สูง

"น้ำท่วมยะลาล่าสุด" อ่วมหนักในรอบ 20ปี ประกาศเตือนภัยยกของขึ้นที่สูง

ประกันภัยไทยวิวัฒน์ มอบของขวัญปีใหม่ สิทธิ์ใช้ประกันรถเปิดปิด ฟรี 1เดือน

ประกันภัยไทยวิวัฒน์ มอบของขวัญปีใหม่ สิทธิ์ใช้ประกันรถเปิดปิด ฟรี 1เดือน

โครงการ รวมใจภักดิ์รักษ์ทะเลไทยใสสะอาด เฉลิมพระเกียรติ 6 รอบ

โครงการ รวมใจภักดิ์รักษ์ทะเลไทยใสสะอาด เฉลิมพระเกียรติ 6 รอบ

"แอนนา" ไม่ยื่นอุทธรณ์ ศาลสั่งจำคุก 100 ปี ยินดีรับสภาพ

"แอนนา" ไม่ยื่นอุทธรณ์ ศาลสั่งจำคุก 100 ปี ยินดีรับสภาพ

"หวยลาววันนี้" 27/11/67 หวยลาววันนี้ ออกอะไร หวยลาว ผลหวยลาววันนี้ 27พ.ย.67

"หวยลาววันนี้" 27/11/67 หวยลาววันนี้ ออกอะไร หวยลาว ผลหวยลาววันนี้ 27พ.ย.67

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

heading-ข่าวที่เกี่ยวข้อง