เทศกาลกินเจ 9 วันนี้ เริ่มต้นอย่างไรให้ได้อานิสงส์สูงสุด
กลับมาอีกครั้ง เทศกาลกินเจ หรือ ประเพณีถือศีลกินผัก ในปีนี้ซึ่งตรงกับ วันที่ 6 ตุลาคม - 14 ตุลาคม 2564 รวมเป็นเวลา 9 วัน
สำหรับมือใหม่หัดกินเจเป็นครั้งแรก เพื่อให้การกินเจ 9 วันนี้ ไม่มีความทุกข์ร้อน หรือศีลขาด ซึ่งเทศกาลกินเจนั้นมีข้อห้ามหลายอย่างที่ต้องยืดถือปฏิบัติ ที่นอกจากงดการกินเนื้อสัตว์ และมีข้อห้ามอะไรบ้าง ทำไมเราต้องกินเจ กินเจแล้วได้อะไร Thainews จะเล่าให้ฟังคะ
กินเจวันที่เท่าไหร่
เทศกาลกินเจ ตรงกับวันขึ้น 1 ค่ำ ถึง 9 ค่ำ เดือน 9 ตามปฏิทินจีน ซึ่งตรงกับเดือนตุลาคมของไทย ตามปฏิทินสากล รวมเป็นเวลาทั้งสิ้น 9 วัน 9 คืน เริ่มตั้งแต่ 6 - 14 ตุลาคม 2564
ทำไมเราต้องกินเจ
ผู้ที่กินเจอาจจะมีจุดเริ่มต้นที่แตกต่างกันไป แต่จุดประสงค์หลักๆ ดังนี้
1. กินเพื่อสุขภาพ
2. กินด้วยจิตเมตตา
3. กินเพื่อเว้นกรรม
กินเจแล้วได้อานิสงส์อย่างไร
1. ไม่เอาชีวิตของสัตว์ทั้งหลายมาต่อเติมบำรุงเลี้ยงชีวิตของตน
2. ไม่เอาเลือดของสัตว์ทั้งหลายมาเป็นเลือดของตน
3. ไม่เอาเนื้อของสัตว์ทั้งหลายมาเป็นเนื้อของตน
1. เป็นที่รักใคร่ของบรรดาเทพ ตลอดจนมนุษย์และสัตว์ทั้งหลาย
2. จิตอันเป็นมหาเมตตาย่อมบังเกิดขึ้น
3. สามารถดับอารมณ์ความเครียดในใจลงได้
4. ปราศจากโรคภัยร้ายแรงมาเบียดเบียนร่างกาย
5. มีอายุมั่นขวัญยืน
6. ได้รับการปกป้องคุ้มครองจากวัชรเทพทั้งแปด
คนกินเจ มีข้อห้ามอะไรบ้าง
1.ห้ามกินผักที่มีกลิ่นฉุนหรือผักที่มีกลิ่นแรง
2.ห้ามกินเนื้อสัตว์
3.ห้ามกินอาหารที่มีรสจัด
4.ห้ามกินอาหารที่คนปรุงไม่ได้ถือศีลกินเจ
5.ถ้วยชามที่ใช้ใส่อาหารจะต้องไม่ปนกัน
6.ห้ามดื่มสุราและของมึนเมา
อาหารเจ ที่สามารถกินได้
1. ชา กาแฟ ที่ไม่ใส่นม เนย หรือครีมเทียม
2. วิตามินเสริมอัดเม็ด ที่ไม่มีสารสกัดจากสัตว์
3. ขนมกรุบกรอบ ที่ไม่มีส่วนผสมของสัตว์
4. พริกไทย เป็นสมุนไพร (แต่หากรู้สึกว่ามีกลิ่นฉุน สามารถเลี่ยงได้)
5. ขนมปัง (ที่เป็นขนมปังเจ หรือไม่มีส่วนผสมของนม)
6. มาม่า หรือบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป (สูตรเจเท่านั้น)
7. แต่งหน้า และฉีดน้ำหอม (สำหรับคนถือศีล 5 หากถือศีล 8 จะทำไม่ได้)
ดังนั้น การกินเจก็คือการรับประทานอาหารก่อนเที่ยงวัน เหมือนกับที่ชาวพุทธในประเทศไทยที่ถืออุโบสถศีล หรือรักษาศีล 8 โดยไม่รับประทานอาหารหลังจากเที่ยงวันไปแล้ว แต่เนื่องจากการถืออุโบสถศีลของชาวพุทธนิกายมหายานที่ไม่กินเนื้อสัตว์ จึงนิยมนำการไม่กินเนื้อสัตว์ไปรวมกันเข้ากับ คำว่า กินเจ กลายเป็นการถือศีลกินเจ ในปัจจุบันผู้ที่รับประทานอาหารทั้ง 3 มื้อแต่ไม่กินเนื้อสัตว์ก็ยังคงเรียกว่ากินเจ ฉะนั้นความหมายก็คือคนกินเจมิใช่เพียงแต่ไม่กินเนื้อสัตว์ แต่ยังต้องดำรงตนอยู่ในศีลธรรมอันดีงาม มีความบริสุทธิ์ สะอาด ทั้งกาย วาจา ใจ
ขอบคุณ Tnews