สุขภาพ-ความงาม

heading

อย่านิ่งนอนใจ! เตือน"เสียงดังในหู" รีบพบแพทย์ด่วน อันตรายถึงสมอง

อย่านิ่งนอนใจ! เตือน"เสียงดังในหู" รีบพบแพทย์ด่วน อันตรายถึงสมอง

กรมการแพทย์ เตือน เผยเสียงฟู่ที่ได้ยิน "เสียงดังในหู" อย่างนิ่งนอนใจ รีบไปพบแพทย์ด่วน อันตรายถึงสมอง อาจความจำเสื่อมได้

จากกรณี กรมการแพทย์ โดยสถาบันประสาทวิทยา เผยเสียงฟู่ที่ได้ยินในหูเป็นอาการโรคทางสมองอย่างหนึ่งที่เกิดจากภาวะความผิดปกติของหลอดเลือดแดงและหลอดเลือดดำ (Dural arteriovenous fistulas:DAVF) ควรได้รับการวินิจฉัยและรักษาอย่างถูกต้อง

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

heading

ภาวะเสียงดังในหู

นายแพทย์วีรวุฒิ อิ่มสำราญ รองอธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า ภาวะAVF หรือภาวะความผิดปกติของหลอดเลือดแดงกับโพรงหลอดเลือดดำบริเวณเยื่อหุ้มสมอง อาจส่งผลต่อการระบายเลือดกลับของสมองจะขึ้นกับตำแหน่งและความผิดปกติของโพรงหลอดเลือดดำ ภาวะนี้มีการแบ่งเป็น 2 ลักษณะตามการรบกวนการระบายเลือดกลับของสมอง ได้แก่ ชนิดไม่รุนแรงและชนิดรุนแรง ซึ่งชนิดรุนแรงจะเป็นชนิดที่รบกวนการระบายเลือดกลับของสมองโดยจะส่งผลก่อให้เกิดภาวะความดันในหลอดเลือดดำสมองสูงเนื่องจากไม่สามารถระบายเลือดออกได้ จึงทำให้เกิดภาวะสมองขาดเลือดและภาวะเลือดออกตามมาในที่สุด

นายแพทย์ธนินทร์ เวชชาภินันท์ ผู้อำนวยการสถาบันประสาทวิทยา กล่าวเพิ่มเติมว่า อาการแสดงของภาวะชนิดไม่รุนแรงจะเกิดขึ้นตามตำแหน่งของหลอดเลือดดำที่ถูกรบกวน เช่น ผู้ป่วยมีภาวะเสียงดังรบกวนในหูตามจังหวะชีพจร ซึ่งเกิดจากการรบกวนโพรงหลอดเลือดดำที่ฐานกะโหลกบริเวณหู อาการต่อมาที่พบได้บ่อยคือ เสียงฟู่ สัมผัสได้บริเวณต่างๆรอบศีรษะ และภาวะน้ำคั่งในโพรงสมองเป็นอีกหนึ่งภาวะที่สามารถพบได้ เกิดจากการดูดกลับของน้ำเลี้ยงสมองส่วนใหญ่ต้องผ่านโพรงหลอดเลือดดำ ภาวะชนิดรุนแรงอาการส่วนใหญ่จะเกิดจากภาวะความดันในหลอดเลือดดำสมองสูง ได้แก่ ความจำเสื่อม พฤติกรรมเปลี่ยนแปลง เคลื่อนไหวผิดปกติ และแขนขาอ่อนแรง ซึ่งสาเหตุการเกิดโรคมักเกิดตามหลังภาวะโพรงหลอดเลือดดำในสมองอุดตัน เป็นภาวะที่พบมากในผู้ป่วยเพศหญิง

 

- มีผล 1 พ.ย. ขอใบรับรองฉีดวัคซีนโควิดไปตปท. ต้องเสียเงิน

- เจอแล้ว! แม่ชีพรรณ หายตัวลึกลับกว่า 2 วัน หลังบ่นถูกวิญญาณก่อกวน

- เผยตัวเลข "นักท่องเที่ยว" ทะลักเข้าไทย สุวรรณภูมิรับ 61 เที่ยวบิน

อาจเกิดตามหลังอุบัติเหตุทางศีรษะและความผิดปกติของการแข็งตัวของเลือด แต่บางครั้งก็ไม่สามารถหาสาเหตุได้ชัดเจน การวินิจฉัยผู้ป่วยทำได้โดยแพทย์ส่งตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์แบบฉีดสี หรือหากต้องการข้อมูลที่ละเอียดมากขึ้นแพทย์อาจพิจารณาผู้ป่วยส่งตรวจเอกซเรย์คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ทั้งนี้ผู้ป่วยควรได้รับการดูแลเบื้องต้นจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบประสาทโดยตรง เนื่องจากความซับซ้อนของสาเหตุการเกิดโรค จึงทำให้การป้องกันเป็นไปได้ยาก อย่างไรก็ตามการดูแลและตรวจสุขภาพเป็นประจำรวมถึงการรักษาโรคประจำตัว เช่น ความดันสูง เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง และหลีกเลี่ยงการใช้สารเสพติด บุหรี่ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สามารถช่วยลดความเสี่ยงการเกิดภาวะโรคนี้ได้ ปัจจุบันสถาบันประสาทวิทยามีการพัฒนา การรักษาโดยวิธีการใช้รังสีร่วมรักษาและการรักษาผ่านทางสายสวนหลอดเลือด โดยไม่ต้องผ่าตัดเปิดสมองทำให้การดูแลผู้ป่วยมีประสิทธิภาพและความปลอดภัยเพิ่มมากขึ้น

เสียงดังในหู

 

 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก Tnews

ข่าวเด่น

สลด นักเรียนหญิง ม.3 โรงเรียนดังโคราช พลัดตกอาคารเรียน ล่าสุด เสียชีวิตแล้ว

สลด นักเรียนหญิง ม.3 โรงเรียนดังโคราช พลัดตกอาคารเรียน ล่าสุด เสียชีวิตแล้ว

ผู้โดยสารระทึกทั้งลำ จู่ๆ เครื่องบินโดนยิง ขณะลงจอด

ผู้โดยสารระทึกทั้งลำ จู่ๆ เครื่องบินโดนยิง ขณะลงจอด

พ่อ "น้องเฟรม" ร่ำไห้ แจ้งข่าวลูกชายจากไปอย่างสงบ หลังต่อสู้กับมะเร็ง 4 ปี

พ่อ "น้องเฟรม" ร่ำไห้ แจ้งข่าวลูกชายจากไปอย่างสงบ หลังต่อสู้กับมะเร็ง 4 ปี

ชายขับรถไล่ชนคนมาออกกำลังกายในศูนย์กีฬาดัง ล่าสุดยอดผู้เสียชีวิตน่าตกใจ

ชายขับรถไล่ชนคนมาออกกำลังกายในศูนย์กีฬาดัง ล่าสุดยอดผู้เสียชีวิตน่าตกใจ

สถิติหวยลาว หวยลาวออกวันพุธ ผลหวยลาว หวยลาวพัฒนา หวยลาว 13/11/67

สถิติหวยลาว หวยลาวออกวันพุธ ผลหวยลาว หวยลาวพัฒนา หวยลาว 13/11/67

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

heading