กรมการแพทย์ แจง หลังมีข่าวคนนอนไม่หลับบ่อยๆ เสี่ยงเป็นโรค อันตรายถึงชีวิต

02 มกราคม 2565

กรมการแพทย์ แจงหลังมีข่าว คนที่มีปัญหาเกี่ยวกับการนอน เสี่ยงเป็นโรคซึมเศร้า โรคหัวใจขาดเลือด หัวใจวาย ความดัน ทำให้เพิ่มอัตราการเสียชีวิตสูง จริงหรือ?

ตามที่มีการโพสต์และแชร์ข้อความในสื่อต่างๆ ถึงประเด็นเรื่อง คนที่มีปัญหาเกี่ยวกับการนอน เสี่ยงเป็นโรคซึมเศร้า โรคหัวใจขาดเลือด หัวใจวาย ความดัน ทำให้เพิ่มอัตราการเสียชีวิตสูง ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลจริง

กรมการแพทย์ แจง หลังมีข่าวคนนอนไม่หลับบ่อยๆ เสี่ยงเป็นโรค  อันตรายถึงชีวิต

โรคนอนไม่หลับเป็นปัญหาที่สำคัญ พบได้ถึงร้อยละ 30 เกิดขึ้นได้ในประชากรทุกช่วงอายุ แต่มักเป็นในผู้หญิงและผู้สูงอายุ โดยมีอาการของแบ่งได้เป็น 3 แบบ คือ

1. เริ่มนอนหลับได้ยาก ใช้เวลามากกว่า 30 นาทีขึ้นไป

2. นอนหลับไม่ต่อเนื่อง โดยระยะเวลาที่ตื่นหลังจากที่หลับไปแล้วมากกว่า 30 นาทีขึ้นไป

3. ตื่นเช้าเร็วกว่าเวลาปกติโดยไม่กลับไปนอนต่อ ระยะเวลามากกว่า 30 นาทีขึ้นไป

กรมการแพทย์ แจง หลังมีข่าวคนนอนไม่หลับบ่อยๆ เสี่ยงเป็นโรค  อันตรายถึงชีวิต

 

โรคนอนไม่หลับเรื้อรัง โดยมีอาการเกิดขึ้นดังกล่าวอย่างน้อย 3 ครั้งต่อสัปดาห์ เป็นระยะเวลาอย่างน้อย 3 เดือน

จากข้อมูลจากงานวิจัย พบว่าเพิ่มโอกาสการเป็นโรคซึมเศร้า นอกจากนี้เพิ่มโอกาสการเกิดโรคหัวใจขาดเลือด โรคหัวใจวาย ความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดสูง โรคเบาหวาน โรคอ้วน เพิ่มอัตราการเสียชีวิต และยังเพิ่มโอกาสการเกิดอุบัติเหตุจากการขับรถและการทำงานอีกด้วย

และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากกรมการแพทย์ สามารถติดตามได้ที่ www.dms.go.th หรือโทร 02 5906000

หน่วยงานที่ตรวจสอบ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข