เผย 5 วิธีรักษา "ตาปลา" ด้วยตัวเอง กับของใช้ใกล้ตัว
5 วิธีรักษา "ตาปลา" แบบโบราณด้วยตัวเอง กับของใช้ใกล้ตัว สืบทอดจากภูมิปัญญาชาวบ้าน และเคล็ดลับที่จะไม่ทำให้กลับมาเกิดซ้ำ
เรียกได้ว่าการดำเนินชีวิตของคนในยุคปัจจุบันนี้นั้น คงมีหลายคนที่ต้องเผชิญกับโรคผิวหนังชนิดหนึ่ง ซึ่งมีอาการเป็นตุ่มนูนขึ้นมาลักษณะคล้ายดวงตาของปลา เกิดจากการที่มีการเสียดสีหรือกระทบถูกผิวหนังบริเวณนั้นบ่อยๆ หรือเป็นประจำ มักจะพบมากในผู้สูงอายุ ซึ่งส่วนใหญ่มักจะเกิดที่บริเวณเท้า เพราะผิวหนังส่วนเท้านั้นมีการเสียดสีอยู่กับรองเท้าแทบจะตลอดเวลา ซึ่งเมื่อเกิดขึ้นแล้วจะส่งผลให้ผู้ป่วยเกิดอาการเจ็บปวดที่บริเวณตาปลานั้นอย่างมาก และส่งผลทำให้เดินไม่สะดวก ดังนั้นเรามีวิธีการรักษาเจ้าตาปลาแบบง่ายๆ และสามารถทำได้เองมาฝากกัน
1. แช่เท้าข้างที่เป็นตาปลาลงในน้ำอุ่นสักพัก แล้วใช้หินขัดส่วนที่เป็นตุ่มเนื้อแข็งๆ ออก หรือจะใช้ของมีคม เช่น มีดขูดออกก็ได้ แต่ต้องใช้อย่างระมัดระวัง หากขูดถูกส่วนตาปลาจะหลุดออกมา และหลังจากส่วนหนังแข็งๆ หลุดออกมาแล้ว ให้ใช้ยารักษาอาการตาปลาที่หาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไปพอกทาบริเวณนั้น อาการก็จะค่อยๆ หายไป
2. หาน้ำมันมะพร้าว น้ำมันการบูร น้ำมันสน นำมาผสมกันให้เข้ากันโดยใช้สัดส่วนดังนี้ น้ำมันมะพราว 1 ช้อนโต๊ะ น้ำมันการบูร 2 ช้อนโต๊ะและน้ำมันสน 1 ช้อนโต๊ะมาผสม และกวนให้เข้ากัน จากนั้นนำไปพอกหรือทาที่บริเวณที่เป็นตาปลา จากนั้นแผลจะค่อยๆ หายไปเอง
3. ใช้กระเทียมสด ฝานเป็นชิ้นหนาๆ แล้วนำไปทาที่บริเวณตาปลา หรือจะพันผ้าทิ้งไว้ข้ามคืนก็ได้ ซึ่งสารบางอย่างในกระเทียมนั้นสามารถช่วยรักษาและฆ่าเชื้อโรคที่อยู่ในตาปลาของคุณได้ แต่ต้องทำเป็นระยะเวลาต่อเนื่องกันประมาณ 1-2 สัปดาห์ แต่ถ้าไม่ชอบกลิ่นที่ฉุนเฉียวของกระเทียมจะเปลี่ยนมาใช้มะนาวหรือสับประรดแทนก็ได้
4. น้ำมันสน ใช้น้ำมันสนชุบกับผ้าสะอาดหรือผ้าพันแผล แล้วนำไปลูบทาที่บริเวณตาปลา หรือจะใช้วิธีการพันทับไว้กับแผลทิ้งไว้ค้างคืนประมาณ 4-5 วันติดต่อกัน สารจากน้ำมันสนจะช่วยให้หายเร็วขึ้น วิธีการนี้ได้รับความนิยมอย่างมาก เพราะสามารถรักษาอาการตาปลาได้อย่างชะงัด และมีประสิทธิภาพ
5.ถ้าหากลองทำวิธีการทั้งหมดแล้วไม่หายหรือไม่ดีขึ้น และมีอาการบวมแดงมีน้ำหนอง ให้รีบไปพบแพทย์โดยเร็วที่สุดเพรานั่นคืออาการติดเชื้อ จำเป็นต้องได้การรักษาโดยยาปฏิชีวนะ
สำหรับการป้องกันตาปลานั้น ควรเลือกสวมใส่รองเท้าที่มีความพอดี ไม่คับแน่นหรือมีรูปการรองรับเท้าที่แปลกผิดสรีระ เช่น รองเท้าที่มีส้นสูงมากเกินไป เป็นการป้องกันไม่ให้เท้านั้นรับน้ำหนักของร่างกายมากเกินไป ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดตาปลานั่นเอง