9 ปัญหาสุขภาพ ที่มีผลต่อการขับรถยนต์ และอาจจะส่งให้เกิดอุบัติเหตุได้
9 ปัญหาสุขภาพ ที่มีผลต่อการขับรถยนต์ และอาจจะส่งให้เกิดอุบัติเหตุได้ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาทางสายตา หรือ อาการทางสมอง หรือ อาการป่วยต่างๆแล้วต้องกินยาบางชนิดที่มีผลทำให้ง่วงซึม
9 ปัญหาสุขภาพ ที่มีผลต่อการขับรถยนต์ ถ้าคุณมีปัญหาเกี่ยวกับ เพราะว่า 9 อาการเหล่านี้ จะทำให้ประสิทธิภาพลดลงต่อการขับขี่ และไม่ควรขับรถยนต์เป็นอันขาด เนื่องจากอาจจะทำให้เกิดอุบัติเหตุทั้งตัวคุณ และเพื่อนร่วมทางได้ในที่สุด จะมีอาการแบบไหนกันบ้าง เราไปชมกันเลย
1. อาการเกี่ยวกับสายตา ควรเลี่ยงการขับรถกลางคืน สำหรับผู้ที่จอประสาทตาเสื่อม จะมองเห็นเส้นทางเวลากลางคืนไม่ชัดเจน ผู้ที่เป็นต้อหิน ต้อกระจก จะมีมุมมองสายตาแคบ สายตาสั้นหรือ ยาว มองเห็นไฟจราจรพล่ามัว และที่จะเเนะนำเพิ่มเติมคือ ไม่ควรใช้ฟิลม์ที่มีสีเข้มจนเกินไป
2. อาการหลงลืม ส่งผลต่อการตัดสินใจ หรืออาการสมองเสื่อมที่มักพบในผู้สูงอายุ จดจำเส้นทางไม่ได้ อาจเกิดปัญหาขับรถหลงทางได้
3. อาการปวดบริเวณต่างๆ เช่น ปวดข้อเข่า เหยียบเบรก/คันเร่งได้ไม่เต็มที่ หรือกระดูกคอเสื่อม หันคอ หันหน้าดูการจราจรได้ลำบาก หลีกเลี่ยงการขับรถทางไกลเป็นเวลานาน เเละอาจจะผลต่อการตัดสินใจในการเบรคกระทันหันในที่สุด
4. พาร์กินสัน การตัดสินใจช้าลง ผู้สูงอายุ และวัยทำงานสามารถเป็นได้ เกิดจากระบบประสาท มักจะสั่นขณะอยู่เฉยๆ เมื่อขยับตัวอาการสั่นก็ทุเลาลง หากมีอาการรุนแรงจะทำให้เกิดภาพหลอน ก่อให้เกิดอันตรายได้
5. เบาหวาน (ระยะควบคุมไม่ได้) ความสามารถในการขับขี่ลดลง หากปริมาณน้ำตาลในเลือดต่ำ จะทำให้หน้ามืด ตาพร่ามัว ใจสั่น หมดสติได้ สำหรับผู้ที่อาการไม่รุนแรงหากจำเป็นต้องขับรถควรเตรียม ลูกอม น้ำหวาน ทานระหว่างขับรถเพื่อป้องกันภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ
6. ลมชัก เกิดจากความผิดปกติของการส่งสัญญาณไฟฟ้าในสมอง หากมีสิ่งกระตุ้น เช่น ความเครียด อาจชักเกร็งกระตุก เหม่อนิ่งไม่รู้สึกตัว สูญเสียความสามารถในการควบคุมตนเองไปชั่วขณะ ไม่ควรขับรถ ควรปรึกษาและได้รับคำแนะนำจากแพทย์ และอาจจะทำให้เกิดอุบัติได้ในที่สุด
7. อาการป่วย ซึ่งต้องกินยาบางชนิดที่มีผลทำให้ง่วงซึมหรือง่วงนอน มึนงง สับสนได้เวลาขับรถ การตอบสนองในขับขี่ทำได้ไม่ดีเหมือนเดิม ควรเลี่ยงการขับขี่ หากมีความจำเป็นต้องขับรถควรปรึกษาแพทย์
8. โรคหลอดเลือดในสมอง ความไวของการตอบสนองต่อเหตุการณ์ลดลง ไม่มีแรงในการบังคับพวงมาลัยหรือเปลี่ยนเกียร์ เพื่อความปลอดภัย ควรปรึกษาแพทย์และรักษาอาการของโรคให้หายเป็นปกติก่อนกลับมาขับรถ
9. โรคหัวใจ หากขับรถนานๆ เครียดกดดันจากรถติด หรือมีเหตุให้ตกใจกับสถานการณ์ตรงหน้า อาจทำให้แน่นหน้าอก เจ็บหน้าอก หัวใจวายเฉียบพลันได้ นำไปสู่อุบัติเหตุร้ายแรง
ก็เอาเป็นว่า 9 อาการเหล่านี้ ล้วนส่งผลให้เกิดความอันตรายต่อสุขภาพ แถมยังส่งผลให้เกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนได้ในที่สุด เพราะฉะนั้นลองไปสังเกตอาการกันดูนะครับ ใครมีอาการที่ทางเราเหล่ามา ก็ควรไปปรึกษาเเพทย์ และถ้าไม่จำเป็น ก็ไม่ควรจะขับรถยนต์โดยเด็ดขาดครับ
ขอบคุณที่มาจาก:https://www.autospinn.com/2022/03/health-problems-affecting-driving-88828