จุดสีแดงบนหน้าผาก คังคุไบ หมายถึงอะไร
จุดสีแดงที่แต้มกลางหน้าผากหญิงอินเดีย ที่เราคุ้นเคยกันดี มีความหมายว่าอะไร และมีที่มา ความเชื่อ มาจากอะไรบ้าง
เปิดความหมาย จุดแดงบนหน้าผากหญิงอินเดีย สำหรับกระแสตอนนี้ "คังคุไบ" เป็นกระแสความแรงอยู่บนโลกออนไลน์ และแน่นอนว่ามีผู้ชมภาพยนตร์ เรื่อง "Gangubai Kathiawadi" หรือ "หญิงแกร่งแห่งมุมไบ" และหลายคนอาจจะสงสัย ตั้งคำถามว่า จุดสีแดงที่เห็นอยู่ระหว่างกลางหน้าผากของ คังคุไบ นั้นคืออะไร วันนี้ Thainews Online จะพาไปรู้จัก จุดสีแดงบนหน้าผาก นี้ให้มากขึ้นค่ะ
จุดแดงบนหน้าผาก หรือ จุดสีแดงบนหน้าผาก นั้นเรียกว่า "ติกะ" (Tika) แต่ในบางครั้งอาจเรียกว่า "บินดิ" (Bindi) โดยจะใช้นิ้วป้ายขึ้นไปตามรอยแสกผม
บินดิ ตามธรมเนียม ฮินดู ดั้งเดิมนั้นเป็นเครื่องหมายมงคล มี ความเชื่อ ว่าจะนำมาซึ่งความเจริญรุ่งเรือง เป็นศัพท์ที่มาจากภาษาสันสกฤตคำว่า Bindu ซึ่งแปลว่า "จุด" ซึ่งมักจะเป็นจุดสีแดง ทำมาจากผงสีแดง ใช้แต้มที่กลางหน้าผาก ระหว่างหัวคิ้ว เป็นตำแหน่งที่ตั้งของภูมิปัญญาที่แฝงเร้นอยู่ของคนเรา
โดยทั่วไป จุดสีแดง นี้จะทำจากมูลวัวนำมาเผาและบดจนละเอียดแล้วผสมกับสีแดงชาดที่ได้จากรากไม่ มูลวัวไม่ถือว่าเป็นของสกปรก เพราะวัวเป็นพาหนะของพระเจ้า และกินพืชเป็นอาหารผงสีนี้เรียกว่า "ผงวิภูติ" มีจำหน่ายตามร้านค้า ผงนี้อาจมีการนำไปทำพิธีก่อนนำมาใช้ก็ได้คะ
ลักษณะของ จุดติกะ มีหลายแบบ เดิมนิยม จุดกลม คนที่ยังสาวจะนิยมจุดเล็กเพราะสวยงามกว่าแต่พออายุมากขึ้นอาจแต้มจุดให้ใหญ่ขึ้น ปัจจุบันมีรูปแบบจุดอื่น ๆ เช่น รูปคล้ายหยดน้ำ หรือเป็นวงกลมและมีรัศมีโดยรอบเหมือนดวงอาทิตย์ ปัจจุบันติกะพัฒนารูปแบบไปมากทั้งรูปทรงและสีสัน บางทีก็ทำเป็นสติกเกอร์เพื่อสะดวกใช้
มีข้อสังเกตว่า
ในบางครั้งจุดติกะอาจไม่ใช่สัญลักษณ์ของสตรีที่แต่งงานเพียงอย่างเดียว ติกะถือว่าเป็นสิ่งมงคล ชาวอินเดีย บางกลุ่มจะใช้ในโอกาสอื่น ๆ เช่นเวลาไหว้พระ พราหมณ์จะให้ผงวิภูติ ผู้รับจะนำมาเจิมเพื่อเป็นสิริมงคล แต่ก็เป็นการเจิมเพียงชั่วคราวเท่านั้น
คนที่ไม่เข้าใจ วัฒนธรรมอินเดีย มักเข้าใจว่าจุดแดงเป็นสัญลักษณ์ที่แสดงถึงความเป็นชาวอินเดีย จึงมักแต้มจุดแดงเวลาที่แต่งกายเป็นชาวอินเดีย เช่นนางเอกในละครแม้ยังเป็นสาว ก็แต้มจุดแดงกับเขาด้วยนี่เป็นเรื่องของการนำมาใช้โดยไม่ศึกษาให้ถ่องแท้
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจุดแดงจะเป็นวัฒนธรรมของพวก พราหมณ์-ฮินดู แต่สตรีชาวอินเดียที่แต่งงานแล้ว และไม่ใช่ชาวฮินดูแท้ ๆ อาจรับวัฒนธรรมนี้ไปใช้ ในชาวอินเดียบางกลุ่ม สัญลักษณ์ของสตรีที่แต่งงานแล้วอาจเป็นการห้อยสายสร้อยสังวาลมงคล ซึ่งสามีมอบให้
ขอบคุณข้อมูลจาก : วิกิพีเดีย
ภาพจาก : ภาพยนตร์ เรื่อง "Gangubai Kathiawadi" หรือ "หญิงแกร่งแห่งมุมไบ"