ตั้งศาลพระภูมิเองได้ไหม เครื่องตั้งศาลพระภูมิ มีอะไรบ้าง
การตั้งศาลพระภูมิ ฤกษ์ยามในการทำพิธีตั้งศาลพระภูมิต้องทำอย่างไร เพื่อให้คนในบ้านมีความสุข ร่มเย็น และนำความเจริญรุ่งเรืองมาสู่บ้าน
การตั้งศาลพระภูมิ หรือ ตั้งศาลพระภูมิ อย่างไรให้ถูกหลักและเป็นมงคลกับตัวเองและคนในครอบครัว มาดูกันค่ะว่ามี วิธีการตั้งศาลพระภูมิ อย่างไร มีขั้นตอนอะไรบ้าง
1. องค์ประกอบของศาลพระภูมิ
การตั้งศาลพระภูมิต้องเตรียมอะไรบ้าง หัวใจสำคัญของการตั้งศาลพระภูมิ คือ องค์ประกอบของศาลพระภูมิ ซึ่งมีดังนี้
2. เจว็ดศาลพระภูมิ และ บริวารของพระภูมิ
เจว็ดศาลพระภูมิ คือ แผ่นไม้รูปร่างคล้ายใบเสมาหรือแกะสลักเป็นรูปเทวดาถือพระขรรค์ โดยเมื่อทำพิธีปลุกเสกแล้ว จะเรียกว่า พระภูมิ ซึ่งเป็นประธานของศาลพระภูมิ
3. สถานที่ตั้งศาลพระภูมิ
ตั้งศาลพระภูมิบนพื้นดิน โดยห้ามตั้งศาลบนพื้นเดียวกันกับตัวบ้าน แต่หากไม่มีบริเวณพื้นดินจริง ๆ ให้ตั้งศาลพระภูมิที่ชั้นดาดฟ้าได้
ควรยกพื้นให้พื้นที่ตั้งศาลพระภูมิสูงขึ้นจากพื้นดินประมาณ 1 คืบ
ตั้งศาลพระภูมิให้ห่างจากตัวบ้าน โดยไม่ให้เงาของตัวบ้านทอดลงมาทับศาลพระภูมิได้
ห้ามหันหน้าศาลพระภูมิเข้าไปทางตัวบ้าน ห้องน้ำ และประตูของตัวบ้าน
ให้มีระยะห่างจากที่ตั้งศาลพระภูมิกับกำแพงบ้านอย่างน้อย 1 เมตร
4. ทิศทางของศาลพระภูมิ
ตามความเชื่อโดยทั่วไป ศาลพระภูมิควรหันหน้าไปทางทิศดังนี้
ทิศที่ดีเป็นอันดับ 1 คือ ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ
ทิศที่ดีเป็นอันดับ 2 คือ ทิศตะวันออก
ทิศที่ดีเป็นอันดับ 3 คือ ทิศตะวันออกเฉียงใต้
ทิศต้องห้ามคือ ทิศตะวันตกและทิศใต้
5. การปักเสาตั้งศาลพระภูมิ
ก่อนวันทำพิธีตั้งศาลพระภูมิ จะต้องเตรียมหลุมสำหรับปักเสาศาลพระภูมิ โดยมีสิ่งของที่ต้องเตรียมในการปักเสา คือ พานครู 1 พาน สำหรับใส่ข้าว ธูป เทียนขาว ดอกไม้หรือพวงมาลัยสด เหล้า บุหรี่ ผ้าขาว เงิน 6 สลึงหรือ 99 บาท
นอกจากนี้ จะต้องใส่ของมงคลในหลุมเสาศาลพระภูมิด้วย โดยมีรายการดังนี้
เหรียญเงินและเหรียญทองอย่างละ 9 เหรียญ
ใบเงิน 9 ใบ
ใบทอง 9 ใบ
ใบนาค 9 ใบ
ใบมะยม 9 ใบ
ใบรัก 9 ใบ
ใบนางกวัก 9 ใบ
ใบนางคุ้ม 9 ใบ
ใบกาหลง 9 ใบ
ดอกบานไม่รู้โรย 9 ดอก
ดอกพุทธรักษา 9 ดอก
ไม้มงคล 9 ชนิด
แผ่นเงิน ทอง และนาค 1 ชุด
พลอยนพเก้า 1 ชุด
6. ฤกษ์ยามในการทำพิธีตั้งศาลพระภูมิ
เดือนอ้าย (ธันวาคม) วันต้องห้าม วันพฤหัสบดี และวันเสาร์
เดือนยี่ (มกราคม) วันต้องห้าม วันพุธ และวันศุกร์
เดือน 3 (กุมภาพันธ์) วันต้องห้าม วันอังคาร
เดือน 4 (มีนาคม) วันต้องห้าม วันจันทร์
เดือน 5 (เมษายน) วันต้องห้าม วันพฤหัสบดี และวันเสาร์
เดือน 6 (พฤษภาคม) วันต้องห้าม วันพุธ และวันศุกร์
เดือน 7 (มิถุนายน) วันต้องห้าม วันอังคาร
เดือน 8 (กรกฎาคม) วันต้องห้าม วันจันทร์
เดือน 9 (สิงหาคม) วันต้องห้าม วันพฤหัสบดี และวันเสาร์
เดือน 10 (กันยายน) วันต้องห้าม วันพุธ และวันศุกร์
เดือน 11 (ตุลาคม) วันต้องห้าม วันอังคาร
เดือน 12 (พฤศจิกายน) วันต้องห้าม วันจันทร์