ล้างป่าช้า ทำแล้วได้บุญอานิสงส์อย่างไรบ้าง
สุสาน ที่ฝังศพ หลุมฝังศพ หรือ ป่าช้า คือสถานที่ฝังศพของคนตาย คำว่าสุสานหมายความว่าดินแดนแห่งนี้ถูกกำหนดให้เป็นที่ฝังศพโดยเฉพาะ
ล้างป่าช้า ที่ฝังศพ หลุมฝังศพ หรือ ป่าช้า คือสถานที่ฝังศพของคนตาย และคำว่า สุสาน ก็มีหมายความว่าดินแดนแห่งนี้ถูกกำหนดให้เป็น ที่ฝังศพ โดยเฉพาะ
สถานที่พำนักสุดท้ายของร่างกายคือ เชิงตะกอน สถานที่สถิตสุดท้ายของวิญญาณก็คือสุสาน หากยังผูกพันและห่วงหาวิญญาณจึงยังไม่สามารถละทิ้งไปได้จึงยังคงอยู่เป็น ความเชื่อ ส่วนหนึ่งของโลกแห่ง ความตาย
ความเชื่อ เกี่ยวกับ เรื่องความตาย ของคนไทยที่มีมาแต่เก่าก่อนนั้น เมื่อใครสักคนตายจึงต้องมี พิธีสวดส่งวิญญาณ การทำบุญส่งให้วิญญาณ และฝังหรือเผาร่างนั้นไปเสีย ในช่วงต้นรัตนโกสินทร์นั้น บริเวณที่ฝังศพหรือเผาศพส่วนใหญ่ก็คือบริเวณท้ายวัดที่เราเรียกกันว่า “ป่าช้า” นั่นเอง
ทำไมสถานที่ฝังศพต้องเรียกว่า ป่าช้า
อันที่จริง เขาเรียกว่า ป่าฌา นะ ฌาที่มาจากคำว่า ฌาปน ซึ่งแปลว่าการเผานั่นเองค่ะ ดังนั้น ป่าฌา จึงหมายถึง ป่าที่มีไว้สำหรับเผา (ศพ) และคนก็เรียกเพี้ยนกันเป็น ป่าช้า
สำหรับ ขั้นตอนการทำพิธีล้างป่าช้า มีดังนี้
1. ขุดค้นหาศพ โดยเมื่อขุดพบ ผ้าขาวห่อศพ ผู้ร่วมพิธีทุกคนจะยกมือไหว้ขอขมา
2. ช่วยกันอุ้มผ้าห่อศพขึ้นมาจากหลุม ด้วยความระมัดระวัง ห้ามไม่ให้ชิ้นอวัยวะหล่นออกจากผ้าห่อศพ
3. นำชิ้นส่วนมาคัดแยกเศษดินออก และนำกระดูกมาวางเรียงตามรูปร่างเดิม
4. นำชิ้นส่วนกระดูกมาชำระล้างด้วยน้ำเปล่า พร้อมทำความสะอาดด้วยแปรง กระดูกมีสิ่งสกปรกมาก ต้องเปลี่ยนน้ำล้างทำความสะอาดเรื่อยๆ จนกว่าจะสะอาด
5. นำกระดูกที่ได้ ทำความสะอาดแล้วไปเก็บไว้ที่มูลนิธิ
6. ช่วงกลางคืน จะมีการนิมนต์พระมาสวดพระอภิธรรมมาติกาบังสุกุล พร้อมเวียนธูปเสริมสิริมงคลและอุทิศส่วนกุศล
ซึ่งการ ล้างป่าช้า มี ความเชื่อ กันว่า เป็นการ ทำบุญทำกุศลยิ่งใหญ่ เพื่อทำ พิธีส่งวิญญาณไปสู่สุคติ ผู้ร่วมพิธีต้องเป็นผู้มีจิตใจบริสุทธิ์ บางคนถือศีลกินเจก่อน 3-7 วัน เพื่อให้ร่างกายสะอาด และปกป้องสิ่งที่มองไม่เห็นค่ะ
และในกรุงเทพมหานคร สุสาน หรือ ป่าช้า ที่ดังที่สุดก็คงจะเป็น “ป่าช้าวัดดอน” หรือ “สุสานวัดดอน” แต่เดิมนั้นสุสานวัดดอนเคยมีหลุมฝังศพมากราว 70,000 หลุม เรียกได้ว่าแออัดมากเมื่อหลุมศพในสุสานมากขึ้นมีพื้นที่รองรับไม่เพียงพอเป็นปัญหาที่ทางผู้ดูแลและบรรดาลูกหลานชาวจีนต่างตระหนักกันอยู่ จึงเกิด พิธีกรรมล้างป่าช้า ขึ้น
เพื่อจัดการกับหลุมฝังศพที่ฝังไว้นานและไม่มีลูกหลานมาดูแลอีกต่อไปแล้ว หรือบรรดาหลุมฝังศพของศพไร้ญาติที่ทางมูลนิธิป่อเต็กตึ๊งรับมาเพื่อดำเนินการต่อ โดยในอดีต พิธีการล้างป่าช้า นี้มีการนำขั้นตอนของพิธีมาจากประเทศจีน เพื่อให้ได้พิธีกรรมที่ถูกต้องครบถ้วน วิญญาณของศพไร้ญาติที่ได้นำมาจากการขุดอัฐิตามสถานที่ต่าง ๆ จะได้รับบุญกุศลไปสู่ดินแดนสุขาวดี ที่เป็นความเชื่อของศาสนาพุทธนิกายมหายานและในลัทธิเต๋า ส่วนนักแสวงบุญที่ไปร่วมจารึกแสวงบุญก็ได้อานิสงส์ไปด้วย
ความเชื่อเรื่องการล้างป่าช้านั้น จากการสอบถาม ดร.สยมภู เกียรติสยมภู หรือคุณซิง ประธานเครือข่ายผู้เข้าร่วมเก็บศพไร้ญาติและล้างป่าช้า มีความเชื่อว่าการได้เข้ามาร่วมกันเก็บศพไร้ญาติในป่าช้าหรือในสุสานถือว่าได้บุญกุศลแรงทำให้คนที่ยังห่วง หรือวิญญาณที่ยังไม่ได้ไปผุดไปเกิดนั้นได้รับการปลดปล่อยและได้รับบุญจากพิธีกรรมนี้
ทำให้พิธีกรรมของการล้างป่าช้านั้นมีหลายขั้นตอนด้วยกัน จำนวนวันที่จะใช้ในพิธีกรรมทั้งหมดคนทรงของเทพเจ้าจะเป็นผู้กำหนด ในการเตรียมวางแผนการจัดงานและมีประกาศออกไปตามเครือข่ายศาลเจ้าที่เคารพนับถือเทพเจ้าองค์เดียวกัน ซึ่งเครือข่ายเหล่านี้จะเข้ามามีส่วนช่วยทั้งการระดมทุน การเข้ามาร่วมล้างป่าช้าและการจัดการอื่นภายในงานด้วย
ขอบคุณที่มาจาก : มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธ์ุ