เกษตรยั่งยืน

heading-เกษตรยั่งยืน

แนะนำ สายพันธุ์ปาล์มน้ำมัน พืชเศรษฐกิจไทย ส่งออกสู่ตลาดโลก

02 มิ.ย. 2565 | 14:26 น.
แนะนำ สายพันธุ์ปาล์มน้ำมัน พืชเศรษฐกิจไทย ส่งออกสู่ตลาดโลก

เกษตรยั่งยืนวันนี้ จะพาทุกท่านไปรู้จักพันธุ์ปาล์มน้ำมัน 3 ชนิด พืชที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจไทย ส่งออกสู่ตลาดโลก

เกษตรยั่งยืนในวันนี้ ทีมงานไทยนิวส์จะพาทุกท่านมาพูดถึงเรื่องการปลูกปาล์มน้ำมัน โดยกรมส่งเสริมการเกษตรได้ส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกปาล์มน้ำมันลูกผสมพันธุ์เทเนอรา (D x P) ซึ่งเป็นพันธุ์ลูกผสมชั่วที่ 1 ที่ได้จากการผสมระหว่างพ่อพันธุ์พิสิเฟอรา (Pisifera) และแม่พันธุ์ดูรา (Dura)

 

แนะนำ การปลูกพันธุ์ปาล์มน้ำมัน พืชเศรษฐกิจไทย ส่งออกสู่ตลาดโลก

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

heading-ข่าวที่เกี่ยวข้อง

หลักในการเลือกใช้พันธุ์ปาล์มน้ำมัน


พันธุ์ปาล์มน้ำมันที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ ในปัจจุบันแบ่งได้เป็น 3 ชนิด ซึ่งสามารถแยกความแตกต่างของพันธุ์เหล่านี้ โดยพิจารณาความหนากะลาของผลปาล์มเป็นสำคัญ


1. พันธุ์ดูรา (Dura) เป็นพันธุ์ที่มีกะลาหนาประมาณ 2 ถึง 8 มิลลิเมตร มีชั้นเปลือกนอกที่ให้น้ำมัน (Mesocarp) ประมาณ 35 ถึง 60 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักผลปาล์ม พันธุ์ดูราเป็นพันธุ์ที่มีกะลาหนามาก ๆ เรียกว่ามาโครคายา (Macrocarya) คือมีกะลาหนาประมาณ 6 ถึง 8 มิลลิเมตร และมักจะพบมากในแถบตะวันออกไกล เช่น พันธุ์เดลีดูรา (Deli Dura) ซึ่งเป็นพันธุ์ที่ให้ผลผลิตค่อนข้างสูง ปัจจุบันพันธุ์ดูรามักใช้เป็นต้นแม่สำหรับปรับปรุงพันธุ์เพื่อผลิตลูกผสมเป็นการค้า


2. พันธุ์ฟิสิเฟอรา (Pisifera) เป็นพันธุ์ที่มีกะลาบางมาก หรือบางครั้งไม่มีกะลา เมล็ดในและผลมีขนาดเล็ก ช่อดอกตัวเมียมักเป็นหมัน ผลผลิตแต่ละทะลายต่อต้นมีปริมาณต่ำ จึงไม่เหมาะที่จะปลูกเพื่อเป็นการค้าและนิยมใช้พันธุ์ฟิสิเฟอราเป็นต้นพ่อสำหรับผลิตพันธุ์ลูกผสม


3. พันธุ์เทเนอรา (Tenera) เป็นลูกผสมระหว่างพันธุ์แม่ดูราและพันธุ์พ่อฟิสิเฟอรา  เป็นพันธุ์ที่มีกะลาบาง ประมาณ 0.5 ถึง 4 มิลลิเมตร มีปริมาณของ Mesocarp 60 ถึง 90 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักผลผลผลิตต่อทะลายสูง ในปัจจุบันจึงนิยมปลูกเป็นการค้า

 

แนะนำ การปลูกพันธุ์ปาล์มน้ำมัน พืชเศรษฐกิจไทย ส่งออกสู่ตลาดโลก

โดยในวันนี้ทีมงานไทยนิวส์ จะมาแนะนำการปลูกปาล์มน้ำมัน ซึ่งทางภาควิชาพืชไร่นา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรมวิชาการเกษตร ได้ให้ความรู้เรื่องการปลูกปาล์มน้ำมัน ดังนี้


การเตรียมพื้นที่ปลูก


1. การบุกเบิกพื้นที่และการปรับสภาพพื้นที่สำหรับการปลูกปาล์มน้ำมัน เริ่มต้นจากการโค่นต้นไม้ขนาดใหญ่และเคลื่อนย้ายมากองรวมกัน จากนั้นปล่อยทิ้งไว้ให้แห้ง ระยะเวลาประมาณ 1 เดือน แล้วจึงทำการเผา และไถพื้นที่และปรับสภาพพื้นที่

      
2. การทำถนนและทางระบายน้ำ และการสร้างถนนในสวนปาล์มน้ำ ถือว่ามีความจำเป็นมากในการปลูกและการขนส่งหลังจากทำการเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว ลักษณะถนน มี 2 แบบ คือ ถนนใหญ่ ถือเป็นเส้นทางการขนส่งผลผลิต มีความกว้างของถนน ประมาณ 6 เมตร จะมีจำนวนกี่สายก็ขึ้นอยู่กับขนาดของแปลง ลักษณะภูมิประเทศ และเงินทุน ส่วนอีกแบบหนึ่ง เรียกว่าถนนย่อยหรือถนนเข้าแปลง เป็นถนนที่เชื่อมกับถนนใหญ่ ควรมีขนาดความกว้าง ประมาณ 4 เมตร  ระยะห่างของถนนย่อยควรห่างกัน ประมาณ 500 เมตร  ในขณะที่ถนนใหญ่แต่ละเส้นควรอยู่ห่างกัน ประมาณ 1 กิโลเมตร หากพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันมีสภาพเป็นพื้นที่ลุ่มการทำร่องระบายน้ำก็นับว่าเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง

      
3. การวางแนวในการปลูกปาล์มน้ำมัน หลังการเตรียมพื้นที่เสร็จเรียบร้อยแล้วจะต้องทำการวางสำหรับการปลูกปาล์มน้ำมัน ซึ่งปกติการปลูกปาล์มน้ำมันนิยมปลูกเป็นลักษณะของสามเหลี่ยมด้านเท่า ระยะในการปลูกตั้งแต่ 8 x 8 เมตร ถึง 10 x 10 เมตร

       
4. การปลูกพืชคลุมดิน ในขณะที่ต้นปาล์มน้ำมันมีขนาดเล็ก ระยะห่างระหว่างต้นขนาดพื้นที่เหลือมาก จึงมีปัญหาที่ตามมาคือการแก่งแย่งของวัชพืช การปลูกพืชคลุมดินจึงนับว่ามีความจำเป็นเพราะนอกเหนือจากจะเป็นการป้องกันการขึ้นแข่งขันของวัชพืชแล้วยังสามารถรักษาความชุ่มชื้นของดินให้คงอยู่ได้ระยะเวลานาน และเป็นการป้องกันการพังทะลายของหน้าดินในกรณีที่พื้นที่เป็นที่ลาดชัน รวมไปถึงการเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้แก่ดินโดยการเพิ่มอินทรียวัตถุและการตรึงไนโตรเจนจากอากาศ การปลูกพืชคลุมดิน ควรมีระยะห่างจากแถวปาล์มอย่างน้อย 1.5 เมตร และชนิดของพืชคลุมที่ใช้ เช่น Calogoponium Mucunoides, Pueraria Phaseoloides, Centrocema Pubescens โดยแนะนำให้ปลูกร่วมกันทั้ง 3 ชนิด คือ การเตรียมพื้นที่สำหรับการปลูกควรเริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนธันวาคม และเริ่มต้นการปลูกปาล์มน้ำมันตั้งแต่เดือนพฤษภาคมจนถึงเดือนกรกฎาคม เพื่อที่จะให้เสร็จเรียบร้อยก่อนฤดูฝนในแต่ละปี

 

แนะนำ การปลูกพันธุ์ปาล์มน้ำมัน พืชเศรษฐกิจไทย ส่งออกสู่ตลาดโลก


วิธีการปลูก

ระบบการปลูกปาล์มน้ำมันที่นิยมปลูก คือ ปลูกแบบสามเหลี่ยมด้านเท่า ระยะ 9 x 9 x 9 เมตร โดยปลูกปาล์มน้ำมันในช่วงฤดูฝน (ไม่ควรปลูกช่วงปลายฤดูฝนต่อเนื่องถึงฤดูแล้ง) หรือหลังจากปลูกต้นกล้าแล้วจะต้องมีฝนตกอีกอย่างน้อยประมาณ 3 เดือนจึงจะเข้าฤดูแล้ง การปลูกปาล์มน้ำมันจะต้องใช้ต้นกล้าพันธุ์ดีมีอายุประมาณ 8 ถึง 14 เดือน จำนวน 22 ถึง 25 ต้นต่อไร่


ระยะปลูก

ระยะปลูกที่เหมาะสมสำหรับพันธุ์ลูกผสมที่ได้จากพ่อพันธุ์กลุ่มต่างๆ ดังตารางด้านล่าง

 

แนะนำ สายพันธุ์ปาล์มน้ำมัน พืชเศรษฐกิจไทย ส่งออกสู่ตลาดโลก

 

ขอบคุณ ภาควิชาพืชไร่นา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรมวิชาการเกษตร

ข่าวเด่น

"น้ำท่วมยะลาล่าสุด" อ่วมหนักในรอบ 20ปี ประกาศเตือนภัยยกของขึ้นที่สูง

"น้ำท่วมยะลาล่าสุด" อ่วมหนักในรอบ 20ปี ประกาศเตือนภัยยกของขึ้นที่สูง

ประกันภัยไทยวิวัฒน์ มอบของขวัญปีใหม่ สิทธิ์ใช้ประกันรถเปิดปิด ฟรี 1เดือน

ประกันภัยไทยวิวัฒน์ มอบของขวัญปีใหม่ สิทธิ์ใช้ประกันรถเปิดปิด ฟรี 1เดือน

โครงการ รวมใจภักดิ์รักษ์ทะเลไทยใสสะอาด เฉลิมพระเกียรติ 6 รอบ

โครงการ รวมใจภักดิ์รักษ์ทะเลไทยใสสะอาด เฉลิมพระเกียรติ 6 รอบ

"แอนนา" ไม่ยื่นอุทธรณ์ ศาลสั่งจำคุก 100 ปี ยินดีรับสภาพ

"แอนนา" ไม่ยื่นอุทธรณ์ ศาลสั่งจำคุก 100 ปี ยินดีรับสภาพ

"หวยลาววันนี้" 27/11/67 หวยลาววันนี้ ออกอะไร หวยลาว ผลหวยลาววันนี้ 27พ.ย.67

"หวยลาววันนี้" 27/11/67 หวยลาววันนี้ ออกอะไร หวยลาว ผลหวยลาววันนี้ 27พ.ย.67

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

heading-ข่าวที่เกี่ยวข้อง