วิธีการสักการะบูชา เสด็จพ่อ ร.5 ที่ถูกวิธี
บทสวดพร้อมวิธีบูชา เสด็จพ่อ ร.๕ ได้ผลดั่งใจ โชคลาภ เงินทอง การบูชา เสด็จพ่อร.5 ช่วยเสริมบารมีให้คนที่สวดเป็นสิริมงคลกับตัวเอง
คาถาบูชาเสด็จพ่อ ร.5 หากเอ่ยถึง พระบรมรูปทรงม้า ณ พระลานหน้าพระที่นั่งอนันตสมาคม เป็นพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5
และหลายคนมีความเชื่อว่าหากบูชาเสด็จพ่อ ร.5 แล้วนั้น จะช่วยส่งผลทำให้ทำมาค้าขึ้น มีความสุขความเจริญ การงานก้าวไกล มีโชคลาภในการประกอบอาชีพ ปลดหนี้ได้ และมีเมตตามหานิยม มาดูวิธีการสักการะองค์เสด็จพ่อ ร.5 พร้อม คาถาบูชา ร.5 และควรบูชาวันไหน
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่5 นี้ ทรงเป็นมหากษัตริย์ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงพระปรีชาสามารถยิ่ง อันปรากฏได้ชัดจากที่พระองค์ทรงพัฒนาบ้านเมืองให้มีความทันสมัย ก้าวสู่ความเจริญรุ่งเรืองทัดเทียมกับอารยะประเทศ ด้วยการปฏิรูปด้านต่างๆ แก่ประเทศ
ผู้คนจึงนิยมขอพรให้มีความเจริญรุ่งเรืองในทุกด้านของชีวิตเช่นกัน จึงเชื่อในการพระราชทาน ให้มีโชคลาภในการประกอบอาชีพ งานที่ทำสะดวกลุล่วง การปลดหนี้หรือถูกรังแก ค้าขาย และจากการประกาศเลิกทาสนั้น ก็เป็นที่ประจักษ์ชัดในพระเมตตาที่มีต่อพสกนิกรไทยอย่างเหลือคณา
จึงเป็นที่รักใคร่อย่างล้นเหลือของทั้งพสกนิกรทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติพระองค์จึงได้รับการถวายพระราชสมัญญานามว่า “สมเด็จพระปิยะมหาราช” ซึ่งมีความหมายว่า “พระมหากษัตริย์ที่ทรงเป็นที่รักยิ่งของปวงชน” จึงเป็นที่เชื่อกันว่า การสักการะพระองค์ก็เพื่อให้เป็นที่รักของคนทั่วไป หรือเรียกกันว่า เมตตามหานิยม นั่นเอง
พระองค์จึงมิใช่มีฐานะเป็นกษัตริย์ที่สร้างความเจริญให้ประเทศเพียงอย่างเดียวเท่านั้น หากแต่เมื่อสวรรคตไปแล้ว พระองค์ได้กลายเป็นสมมติเทวราช ในฐานะเทพอันศักดิ์สิทธิ์ของพสกนิกรทั้งหลาย คนทั้งหลายจึงมีความเชื่อว่าได้เห็นท่านแสดงอิทธิปาฏิหาริย์ให้ผู้ที่นับถือประจักษ์ต่อสายตาต่างๆนานาและด้วยความเชื่อต่าง ๆ นั้นส่งผลให้พระองค์มีลักษณะเป็น บุคลาธิษฐาน หรือบุคคลในจินตนาการหรือบุคคลในมโนคติแห่งการอธิษฐานเพื่อขอพรให้พระบารมีแห่งพระองค์ได้ปกป้องคุ้มครองและอำนวยชัย จนพระองค์มีฐานะเป็นเทพในดวงใจของชาวไทยทั้งมวลในที่สุด จนเป็นที่มาของคำเรียกติดปากที่เราได้ยินกันอยู่ทุกวันนี้ว่า "เสด็จพ่อ ร.5"
วิธีการปฏิบัติบูชา
สำหรับผู้บูชาเป็นครั้งแรกให้ จุดธูป 16 ดอก ส่วนครั้งต่อไปจุด 9 ดอก ว่าคาถาดังนี้
พระคาถาบูชาดวงวิญญาณเสด็จพ่อรัชกาลที่ 5
- นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (3 จบ)
- พระสะยามะมินโท วะโร อิติ พุทธะสังมิ อิติ อะระหัง สะหัสสะกายัง วะรัง พุทโธ นะโม พุทธายะ ปิยะ มะมะ นะโม พุทธายะ" (กล่าว 3 ครั้ง)
พระคาถาบูชารัชกาลที่ 5 แบบย่อ
- พระสะยามะมินโท วะโร อิติ พุทธะสังมิ อิติ อะระหัง สะหัสสะกายัง วะรัง พุทโธ นะโม พุทธายะ
พระคาถาอธิษฐานขอพร แต่ห้ามบนบาน!!!
- นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (3 จบ)
- พระสยามะมินโท วะโร อัตตัง พุทธะสังมิ อิติ อะระหัง วะรัง พุทโธ นะโม พุทธายะ ปิโย เทวามนุสสานังจงเป็นที่รักของมนุษย์และเทวดาทั้งหลาย ปิโย นาคะสัมปันนานัง จงบังเกิดความรักที่มีอนุภาคสูงสุด ปิโย พรหมานะมุตตะโม จงบังเกิดความรักกับผู้มีอำนาจท่านท้าวมหาพรหม เจ้าจอม อินทรา นาค ครุฑ และคนธรรพ์ ปินันทิยัง นะมามินัง
ความรัก ความยินดี ความเมตตาจงบังเกิดในเรือนร่างข้าพเจ้าทุกส่วนแม้ปลายเส้นผม
ปิยะ มะมะ นะโม พุทธายะ (5 จบ) ขอเดชะฝ่าละอองธุลีพระบาท ข้าพระพุทธเจ้า (นาย นาง นางสาว) ชื่อ...นามสกุล... ต้องการให้พระองค์ท่านช่วยเรื่อง... อิติปิโส วิเสเสอิอิเสเส พุทธะ นาเมอิอิเมนา พุทธะตังโสอิอิโสตัง พุทธะปิติอิปิยะ มะมะ นะโม พุทธายะ (3 จบ)
พระพุทธเจ้าขอรับด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะขอให้บุญบารมีขององค์เสด็จพ่อ ร.5 สูงยิ่ง ๆ ขึ้น และแกร่งกล้ายิ่ง ๆ ขึ้น
- โดยเครื่องที่ควรนำมาสักการะคือ ดอกกุหลาบสีชมพู เพราะ ดอกกุหลาบนั้นมีทั้งหนามที่แหลมคมและความงดงาม เปรียบดังพระองค์ท่าน ที่พระองค์มีพระปรีชาสามารถและอำนาจในการปกครองประเทศเปรียบกับความแหลมคมของหนาม แต่กระนั้นยังมีความเมตตากรุณายิ่งอันเป็นความงดงามแก่แผ่นดินไทยควบคู่ด้วยเสมอ และสีชมพูนั้นหมายถึง สีของวันอังคารอันเป็นวันพระราชสมภพของพระองค์ นอกจากดอกกุหลาบสีชมพูแล้ว ที่นิยมนำมาสักการบูชายังได้แก่ บายศรี หมากพลู บุหรี่(ซิกการ์) สุรา บรั่นดี หรือ ไวน์เป็นต้น และนอกจากสิ่งของที่นำมาสักการะแก่พระองค์แล้ว ที่นิยมอีกคือ หญ้าสดใหม่ ที่นำมาถวายแก่ ม้าพระที่นั่งอีกด้วย
วันที่ควรบูชา คือวันที่ 23 ตุลาคม (วันปิยมหาราช – วันคล้ายวันสวรรคตพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว) หรือวันอังคารซึ่งเป็นวันเฉลิมพระชนมพรรษาของพระองค์ และวันพฤหัสบดี ซึ่งเป็นวันครูหรือในวันพระ แต่ในวันพระให้ยกเว้นเครื่องสักการะที่เป็นอบายมุข จำพวก บุหรี่ เหล้า
ภาพจาก : oknation.net/blog/jarinasa