เปิดเคล็ดลับลดต้นทุน วิธีปลูก "เงาะโรงเรียน" ให้ได้ผลดก สร้างกำไรดี
เงาะโรงเรียน เงาะผลไม้ขึ้นชื่อและเป็นเงาะที่พันธุ์ดีที่สุดในประเทศไทย เงาะพันธุ์โรงเรียนจึงถือเป็นที่นิยมของเกษตรกร เพราะสามารถขายได้ในราคาที่ดีทั้งแบบส่งออกและแบบรับซื้อ
เงาะ เป็นไม้ผลเมืองร้อนโดยทั่วไปเงาะเป็นไม้ผลที่เจริญเติบโตได้ดี ในบริเวณที่มีความชื้นค่อนข้างสูง เงาะในประเทศไทย จึงนิยมปลูกในบริเวณภาค ตะวันออกและภาคใต้ อาทิ เงาะพันธุ์สีทอง เงาะพันธุ์น้ำตาลกรวด เงาะพันธุ์สีชมพู เงาะพันธุ์โรงเรียน และเงาะพันธุ์เจ๊ะมง เป็นต้น แต่พันธุ์เงาะที่นิยมปลูกเป็นการค้า มีแค่ 3 พันธุ์ คือ พันธุ์โรงเรียน พันธุ์สีทอง และพันธุ์สีชมพูค่ะ
ขั้นตอนการปลูกเงาะ
1. พันธุ์เงาะ
คำแนะนำกรมวิชาการเกษตร
เลือกใช้พันธุ์ที่มีคุณภาพ และตรงตามความต้องการของตลาด หรือ พันธุ์การค้า เช่น พันธุ์โรงเรียน
วิธีปฏิบัติโดยทั่วไป
นิยมปลูกพันธุ์โรงเรียน
การลดต้นทุน
- เลือกต้นพันธุ์ที่สมบูรณ์ไม่แคระแกน หรือ เป็นโรค
- ใช้ต้นพันธุ์ที่ดีของตัวเอง โดยการขยายพันธุ์ใช้เอง
2. พื้นที่ปลูกเงาะ
คำแนะนำกรมวิชาการเกษตร
- สภาพพื้นดิน ดินร่วนปนทรายที่มีการระบายน้ำดี มีอินทรียวิตถุมาก ความเป็นกรดด่าง 5.5 - 7.0 หน้าดินลึกไม่น้อยกว่า 1 เมตร
- สภาพภูมิอากาศ มีความชื้นสัมพันธ์ในอากาศสูง การกระจายตัวของฝนดีไม่ต่ำกว่า 1,500 มิลลิเมตรต่อปี
วิธีปฏิบัติโดยทั่วไป
ปลูกตามพื่นที่ที่มีอยู่โดยไม่คำนึงถึงความเหมาะสม ไม่พิจารณาถึงต้นทุนหรือปัจจัยที่เพิ่มขึ้น
การลดต้นทุน
ใช้พื้นที่ที่ให้เหมาะสมกับความต้องการของพืชและศักยภาพการผลิตที่เหมาะสม ลดต้นทุนประมาณ 40 %
3. การเตรียมพื้นที่ปลูกเงาะ
คำแนะนำกรมวิชาการเกษตร
ควรเตรียมพื้นที่ปลูกในฤดูแล้ง เพราะสามารถปลูกได้ทันทีตั้งแต่ต้นฤดูฝน โดยไถกำจัดวัชพืชตลอดจนตอไม้และไม้ยืนต้นอื่นๆ ออกให้หมด ไถพรวนปรับพื้นที่ให้เรียบ
วิธีปฏิบัติโดยทั่วไป
ปลูกตามพื้นที่ที่มีอยู่
การลดต้นทุน
- การเตรียมพื้นที่ปลูกที่เหมาะสม ลดปัญหาสภาพแปลง ป้องกันน้ำท่วมขังและโรคที่จะตามมา
- เก็บตัวอย่างดินวิเคราะห์และประเมินความอุดมสมบูรณ์ดินก่อนปลูก
4. การปลูกเงาะ
คำแนะนำกรมวิชาการเกษตร
- การวางผังปลูก เนื่องจากเงาะมีทรงพุ่มกว้างและออกดอกที่ปลายพุ่ม จึงจำเป็นต้องปลูกให้มีระยะ ระหว่างต้นและแถว ค่อนข้างกว้าง ระยะปลูกที่เหมาะสมคือ 8x8 เมตร หรือ 10x10 เมตร (ใน 1 ไร่ ปลูกได้ประมาณ 16-20 ต้น)
- วิธีการปลูก ควรปลูกต้นฤดูฝน หลุมปลูกขนาด 50x50x50 เซนติเมตร ควรมีการพรางแสงแดดให้กับต้นเงาะ อาจใช้ทางมะพร้าว หรือปลูกพืชแซม เช่น กล้วย มะละกอ
วิธีปฏิบัติโดยทั่วไป
นิยมปลูกแบบสีเหลี่ยมจัตุรัส
การลดต้นทุน
- ใช้ระยะปลูกและวิธีปลูกที่เหมาะสมทำให้ง่ายต่อการปฏิบัติงานในสวน ลดปัญหาสภาพแปลง ให้ผลผลิตสูงและมีคุณภาพ
- การปลูกพืชแชมในช่วงเริ่มต้นที่เงาะ ยังไม่ให้ผลผลิต นอกจากช่วยพรางแสงแล้วยังก่อให้เกิดรายได้เสริมจากการขายผลผลิตพืชแซมด้วย
5. การใส่ปุ๋ย
คำแนะนำกรมวิชาการเกษตร
- ควรเก็บตัวอย่างดินและตัวอย่างใบเพื่อวิเคราะห์ปริมาณธาตุอาหารและใส่ปุ๋ยให้สอดคล้องกับค่าวิเคราะห์ดินและใบ
- การใส่ปุ๋ยตาม GAP (แผนควบคุม)
- ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับปุ๋ยเคมีและปุ๋ยชีวภาพ
วิธีปฏิบัติโดยทั่วไป
- ไม่มีการวิเคราะห์ดิน
- ใส่ปุ๋ยมากเกินความจำเป็น
การลดต้นทุน
- ใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินและค่าวิเคราะห์พืช ลดต้นทุนปุ๋ย 20-40%
- ผสมปุ๋ยใช้เองลดต้นทุนค่าปุ๋ยเคมีได้ 30-50%
- ให้ปุ๋ยทางระบบน้ำ ลดต้นทุนการใช้แรงงาน 10-15%
6. การให้น้ำ
คำแนะนำกรมวิชาการเกษตร
ให้น้ำเพียงพอกับความต้องการของเงาะในแต่ละช่วงการเจริญเติบโต ดังนี้
- ช่วงเริ่มปลูก : ให้น้ำ 7-10 วัน/ครั้ง
ช่วงระยะใกล้ออกดอก ให้น้ำน้อยจนถึงงดน้ำในบางช่วงเพื่อป้องกันการแตกใบอ่อน เมื่อช่อดอกแทงออกมาระยะหนึ่ง จะให้น้ำประมาณ 1 ใน 3 ของการให้น้ำปกติและเพิ่มปริมาณเรื่อยๆ จนกระทั่งดอกเริ่มบานและติดผล ช่วงการเจริญของผล ให้น้ำในอัตรา 80% ของการให้น้ำปกติเมื่อผลเงาะอายุ 1-5 สัปดาห์หลังดอกบาน และเพิ่มเป็น 85% ของการให้น้ำปกติเมื่อผลอายุ 6 สัปดาห์หลังดอกบานจนกระทั่งเก็บเกี่ยว
วิธีปฏิบัติโดยทั่วไป
- ให้น้ำตามร่อง หรือสายยางรดน้ำ
- ให้น้ำโดยไม่พิจารณาความจำเป็นในแต่ละช่วงการเจริญเติบโต
การลดต้นทุน
ใช้ระบบการให้น้ำแบบหัวเหวี่ยงเล็กช่วยประหยัดน้ำและลดต้นทุนค่าจ้างแรงงาน
8. การเก็บเกี่ยว และ การปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว
- อายุการเก็บเกี่ยวเงาะ หลังจากดอกบานประมาณ 3 - 4 เดือนหรือประมาณ 90 - 120 วัน โดยผลเงาะจะเริ่มเปลี่ยนจากสีเขียวเป็นสีแดงหรือชมพู
- การเก็บเกี่ยวควรใช้กรรไกรที่คม ตัดช่อผลออกมา ไม่ควรหักกิ่งเพราะจะทำให้กิ่งช้ำมาก และไม่ควรให้เงาะตกถึงพื้น เพราะจะทำให้ขนช้ำ เหี่ยวแห้งง่าย อาจจะเก็บเกี่ยวแบบปลิดเฉพาะผลใส่เข่งเพื่อขายส่ง หรืออาจจะเก็บมาทั้งพวงเพื่อมามัดจำหน่ายในการขายปลีกก็ได้
- เลือกแรงงานที่มีความชำนาญในการเก็บเกี่ยว
- มีสถานที่เหมาะสมสำหรับคัดแยกผลผลิตคุณภาพ และมีแผนการนำผลผลิตด้อยคุณภาพไปใช้ประโยชน์
วิธีปฏิบัติโดยทั่วไป
- ใช้กรรไกรตัดช่อผล หากช่ออยู่สูงใช้การปีนต้นหรือปืนบันไดตัดใส่เข่งหรือตะกร้าบางรายตัดช่อเงาะหลุดจากต้นลงมากระทบพื้น ซึ่งส่งผลเสียหายต่อผลผลิต
การลดต้นทุน
- มีการควบคุมทรงพุ่ม รวมทั้งการควบคุมให้ออกดอกพร้อมกัน เพื่อสะดวกในการจัดการเก็บเกี่ยว และลดการใช้แรงงาน
- ลดการสูญเสียของผลผลิตไม่ให้เกิน10% ต่อการเก็บเกี่ยวแต่ละครั้ง เพื่อเพิ่มผลผลิตที่มีคุณภาพ ทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น
- การเก็บเกี่ยวผลผลิตโดยการตัดใส่ตะกร้า ช่วยลดความเสียหายต่อผลผลิตดีกว่าการตัดผลร่วงกระทบพื้น ช่วยเพิ่มผลผลิตที่มีคุณภาพ
ขอบคุณข้อมูลจาก : สถาบันวิจัยพืชสวนกรมวิชาการเกษตร
สนับสนุนโดย : ปุ๋ยทิพย์