คาถาบูชาหลวงพ่อโต พร้อมวิธีบูชา สมเด็จโต พรหมรังสี
คาถาบูชาหลวงพ่อโต คาถาบูชาหลวงปู่โต คาถาบูชาสมเด็จโต วันนี้ Thainews Online เรามีวิธีบูชา สมเด็จโต พรหมรังสี มาฝากค่ะ
สมเด็จพระพุฒาจารย์ โต พรหมรังสี หรือนามที่นิยมเรียก สมเด็จโต หรือ หลวงปู่โต หรือ สมเด็จวัดระฆัง เป็นพระเกจิดังเป็นพระมหาเถระรูปสำคัญที่ได้รับความนิยมนับถืออย่างมากในประเทศไทย และ สมเด็จโต พรหมรังสี เคยดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหารในสมัยรัชกาลที่ 4 และ รัชกาลที่ 5
สมเด็จโต พรหมรังสี เป็นพระเกจิดังที่มีปฏิปทาจริยาวัตรที่น่าเลื่อมใส เป็นที่เคารพนับถือตั้งแต่ท่านยังมีชีวิตอยู่ ตั้งแต่พระมหากษัตริย์จนถึงสามัญชน นอกจากนี้ สมเด็จโต ท่านยังเก่งทางด้านวิชาคาถาอาคม เมตตามหานิยม โดยเฉพาะวัตถุมงคล พระสมเด็จ ที่ท่านได้สร้างขึ้นเพื่อเป็นพุทธบูชา ได้ถูกจัดเข้าในพระเครื่องเบญจภาคี หรือเป็นสุดยอดของพระเครื่องวัตถุมงคล 1 ใน 5 ของประเทศไทย
วิธีบูชา สมเด็จโต พรหมรังสี
- จุดธูป 3 ดอก พร้อมด้วย ดอกไม้ และเทียน
- เครื่องสักการะ : หมากพลู, บายศรี 1 คู่
คาถาบูชาสมเด็จโต พรหมรังสี
พระคาถาบูชาองค์พระสมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังษี
นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (3จบ)
พรหมรังษี เมตตาบารมี จุติจุตัง อะระหังจุตติ นะโมพุทธายะ
นะมะพะทะ จะภะกะสะ มะอะอุ มะอะอุ มะอะอุ ภะคะวา
คาถาบูชาหลวงพ่อโต
ตั้งนะโม 3 จบ
อิติปิโสภะคะวา พรหมรังสี นามะโต อะระหัง พุทธะโต นะโม พุทธา ยะ
สัจธรรมแห่งสมเด็จพระพุฒาจารย์ โต พรหมรังสี
คาถาบูชาพระสมเด็จ
ปุตตะกาโม ละเภ ปุตตัง
ธะนะกาโม ละเภ ธะนัง
อัตถิ กาเย กายะญายะ
เทวานัง ปิยะตัง สุตะวา
คาถาอารธนาพระสมเด็จ
โตเสนโต วะระธัมเมนะ
โตสัฏฐาเน สิเว วะเร
โตสัง อะกาสิ ชันตูนัง
โตสะจิตตัง นะมามิหัง
คาถาสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)
พุทธมังคลคาถาถือเป็นอีกหนึ่งบทคาถาของท่านสมเด็จพระพุฒาจารย์โต คำว่าพุทธมังคลคาถานี้ คือการนมัสการบูชาพระอรหันต์แปดทิศซึ่งล้วนแต่เป็นพระมหาเถระที่ยิ่งใหญ่ทั้งสิ้น
พุทธมังคลคาถา
สัมพุทโธ ทิปะทัง เสฏโฐ นิสินโน เจวะ มัชฌิเม
โกณฑัญโญ ปุพพะภาเค จะ อาคเณยเย จะ กัสสะโป
สารีปุตโต จะ ทักขิเณ หะระติเย อุปาลิ จะ
ปัจฉิมเมปิ จะ อานันโท พายัพเพ จะ คะวัมปะติ
โมคคัลลาโน จะ อุตตะเร อีสาเนปิ จะ ราหุโล
อิเม โข มังคะลา พุทธา สัพเพ อิธะ ปะติฏฐิตา
วันทิตา เต จะ อัมเหหิ สักกาเรหิ จะ ปูชิตา
เอเตสัง อานุภาเวนะ สัพพะโสตถี ภะวันตุ โน
อิจเจวะมัจจันตะนะมัสสะเนยยัง
นะมัสสะมาโน ระตะนัตตะยัง ยัง
ปุญญาภิสันทัง วิปุลัง อะลัตถัง
ตัสสานุภาเวนะ หะตันตะราโยฯ