อาการโรคซึมเศร้า และ วิธีรักษาโรคซึมเศร้า
โรคซึมเศร้า ในช่วงเวลาที่ผ่านมามีการนำเสนอข่าวคนดัง ข่าวอาชญากรรม ข่าวการเสียชีวิต ซึ่งมีส่วนเกี่ยวโยงกับการเป็น โรคซึมเศร้า ออกมาอย่างต่อเนื่อง วันนี้เราจะมาทำความรู้จัก อาการโรคซึมเศร้า ในแง่มุมต่างๆ ให้มากขึ้น
โรคซึมเศร้า หรือ ภาวะซึมเศร้า
โรคซึมเศร้า เกิดจากความผิดปกติของสมองในส่วนที่มีผลกระทบต่อความคิด อารมณ์ ความรู้สึก พฤติกรรม รวมถึงสุขภาพทางกาย ซึ่งโรคซึมเศร้าเป็นโรคที่เกิดจากความไม่สมดุลของสารสื่อประสาท 3 ชนิด คือ ซีโรโตนิน นอร์เอปิเนฟริน และโดปามีน จึงจำเป็นที่ต้องได้รับการรักษาจากจิตแพทย์ เพราะนอกจากจะต้องบำบัดอย่างถูกวิธีแล้ว ยังอาจจะต้องใช้ยาในการรักษาร่วมด้วย
โรคซึมเศร้ามีหลายประเภท ทำให้ผู้ป่วยซึมเศร้าแต่ละคนมีพฤติกรรมที่แตกต่างกันออกไป
1. โรคซึมเศร้า แบบเมเจอร์ ดีเพรสชั่น (Major Depression)
โรคซึมเศร้าชนิดนี้ ผู้ป่วยจะมีอารมณ์ซึมเศร้านานกว่า 2 สัปดาห์ โดยมากมักมีอาการเศร้าซึมมากจนไม่มีความสุขหรือไม่สนใจในสิ่งต่างๆ ที่เคยชอบ หลับยาก น้ำหนักขึ้นหรือลงฮวบฮาบ รู้สึกหงุดหงิด เหนื่อยๆ เนือยๆ ไม่มีเรี่ยวแรง รู้สึกไร้ค่า ช่วงภาวะซึมเศร้านี้สามารถเกิดในช่วงหลังคลอดได้
2. โรคซึมเศร้า แบบดิสทีเมีย (Dysthymia Depression)
โรคซึมเศร้าชนิดนี้ ผู้ป่วยจะมีอาการรุนแรงน้อยกว่าชนิด เมเจอร์ ดีเพรสชั่น แต่จะมีอาการอย่างต่อเนื่องอย่างน้อย 2 ปี อาการไม่รุนแรงถึงขนาดทำอะไรไม่ได้ เพียงแต่จะรู้สึกไม่อยากอาหารหรือกินมากไป นอนไม่หลับหรือนอนมากไป
การหลีกเลี่ยงจากโรคซึมเศร้า
1. หมั่นดูแลตนเองให้มีสุขภาพดี ไม่ว่าจะเป็นการออกกำลังกาย พักผ่อนนอนหลับให้เพียงพอ กินอาหารถูกสุขลักษณะ ไม่ใช้สารเสพติด ไม่ดื่มสุรา ไม่สูบบุหรี่ และเข้ารับการตรวจสุขภาพอย่างน้อยปีละครั้ง
2. ด้านจิตใจ ฝึกให้เป็นคนคิดบวก มองโลกในแง่ดี ไม่คิดร้ายกับใคร ไม่กล่าวโทษตัวเองไปซะทุกเรื่อง ควรหางานอดิเรก คลายเครียด เข้าชมรมต่างๆ ที่เหมาะกับวัย หรือเป็นจิตอาสา ทําสิ่งที่ทำให้รู้สึกตัวเองมั่นใจ
ท้ายที่สุดนี้..ผมขอเป็นกำลังใจให้ทุกคนที่เป็นโรคนี้อยู่ คุณไม่ได้อยู่คนเดียวยังมีคนอีกมากมายที่รักคุณนะครับ และขอให้คุณผ่านสิ่งเหล่านี้ไปให้ได้นะครับ
ขอบคุณ โรงพยาบาลพญาไท