ความเชื่อ

heading-ความเชื่อ

วันเข้าพรรษา ประวัติวันเข้าพรรษา วันสำคัญ ที่ทุกคนควรรู้

01 ก.ค. 2565 | 15:02 น.
วันเข้าพรรษา ประวัติวันเข้าพรรษา วันสำคัญ ที่ทุกคนควรรู้

วันเข้าพรรษา 2565 วันสำคัญ วันหยุดราชการ ประวัติวันเข้าพรรษา มีกิจกรรมอะไรบ้างที่ชาวพุทธต้องทำ เพื่อสืบสานประเพณีไทย

วันเข้าพรรษา เป็นวันสำคัญทางศาสนาพุทธ เป็นวันที่พระสงฆ์เถรวาทจะอธิษฐานว่าจะพักประจำอยู่ ณ ที่ใดที่หนึ่งตลอดระยะเวลาฤดูฝน มีกำหนดระยะเวลา 3 เดือน ตามที่พระวินัยบัญญัติไว้ โดยไม่ไปค้างแรมที่อื่น คือตั้งแต่ แรม 1 ค่ำ เดือน 8 ถึง วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 

วันเข้าพรรษา 2565 ปีนี้นั้น วันเข้าพรรษาตรงกับวันที่ 14 กรกฎาคม 2565 เป็นวันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ปีขาล โดยวันเข้าพรรษานับว่าเป็นวันสำคัญอีกวันหนึ่งสืบเนื่องมาจาก วันอาสาฬหบูชา (วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8) เป็นวันที่พุทธศาสนิกชนชาวพุทธได้สืบทอดประเพณีปฏิบัติทำบุญในวันเข้าพรรษามาเป็นเวลานานนับตั้งแต่สมัยสุโขทัย

วันเข้าพรรษาคือวันอะไร

ประเภทของการเข้าพรรษาของพระสงฆ์ แบ่งได้เป็น 2 ประเภท

1. ปุริมพรรษา คือ การเข้าพรรษาแรก ตั้งแต่ วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 จนถึง วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 หลังออกพรรษาแล้ว พระที่อยู๋จำพรรษาครบ 3 เดือน มีสิทธิ์รับกฐินซึ่งมีช่วงเวลาเพียง 1 เดือน นับตั้งแต่ วันแรม 1 ค่ำ ถึง วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12

2. ปัจฉิมพรรษา คือ การเข้าพรรษาหลัง หมายถึงกรณีที่พระภิกษุต้องเดินทางไกลแบบเหตุสุดวิสัย ทำให้กลับมาเข้าพรรษาแรกไม่ทัน ต้องรอไปเข้าพรรษาหลัง คือ วันแรม 1 ค่ำ เดือน 9 แล้วจะต้องออกพรรษาใน วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ซึ่งเป็นวันหมดเขตทอดกฐินพอดี ดังนั้นพระภิกษุทีเข้าปัจฉิมพรรษาจึงไม่มีโอกาสได้รับกฐิน แต่ก็ได้พรรษาเช่นเดียวกับพระที่เข้าปุริมพรรษาเหมือนกัน

วันเข้าพรรษา 2565 ประวัติวันเข้าพรรษา วันสำคัญ ที่ทุกคนควรรู้

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

heading-ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ประวัติวันเข้าพรรษา

วันเข้าพรรษา เมื่อครั้งพระพุทธเจ้าประทับอยู่ที่วัดเวฬุวัน เมืองราชคฤห์ พอถึงฤดูฝนพระภิกษุส่วนใหญ่ก็อยู่ประจำที่เช่นเดียวกับนักบวชนอกพุทธศาสนาที่มักถือเป็นประเพณีปฏิบัติอยู่จำพรรษามาตั้งแต่ก่อนพุทธกาล ปรากฏว่ามีพระภิกษุกลุ่มฉัพพัคคีย์พาบริวารจำนวน 1,500 รูป เที่ยวจาริกไปตามที่ต่างๆ เนื่องจากตอนต้นพุทธกาลยังไม่มีพุทธานุญาตให้ภิกษุอยู่จำพรรษา ทำให้ชาวบ้านพากันติเตียนถึงการจาริกของท่าน เพราะไปเหยียบข้าวกล้าในนาเสียหาย เมื่อรู้ไปถึงพระพุทธเจ้า จึงทรงรับสั่งให้ประชุมสงฆ์ ตรัสถามจนได้ความจริง แล้วทรงบัญญัติให้พระภิกษุอยู่จำพรรษา เป็นเวลา 3 เดือนในฤดูฝน   

อย่างไรก็ดี หนังสือ “วันเข้าพรรษา” ที่จัดพิมพ์โดย สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม ได้กล่าวไว้ว่า ในกรณีที่มีกิจจำเป็น พระพุทธเจ้าก็ได้ประทานอนุญาตให้พระภิกษุไปค้างคืนที่อื่นได้คราวละไม่เกิน ๗ วัน โดยไม่ถือว่า อาบัติ เรียกว่าเป็นเหตุพิเศษหรือ “สัตตาหกรณียกิจ” ซึ่งมีอยู่ 4 ประการคือ

1. เพื่อนสหธรรมิก (ผู้มีธรรมร่วมกัน) ทั้ง 5 คือ ภิกษุ ภิกษุณี สิกขามานา (นางผู้กำลังศึกษา /สามเณรีผู้มีอายุ 18 ปีและอีก 2 ปีจะครบบวชเป็นภิกษุณี) สามเณร สามเณรี หรือบิดามารดาป่วยไปเพื่อพยาบาลได้

2. ไปเพื่อยับยั้งเพื่อนสหธรรมิกที่อยากสึก มิให้สึกได้

3. ไปเพื่อกิจของสงฆ์ เช่น หาอุปกรณ์ซ่อมกุฏิ วิหารที่ชำรุดทรุดโทรมได้

4. ไปเพื่อฉลองศรัทธาทายกที่เขาส่งตัวแทนมานิมนต์ไปร่วมบำเพ็ญบุญได้

วันเข้าพรรษา ประวัติวันเข้าพรรษา วันสำคัญ ที่ทุกคนควรรู้

วันเข้าพรรษา นอกจากจะเป็นช่วงที่พระภิกษุอยู่ประจำที่ดังกล่าวแล้ว ยังก่อให้เกิดประเพณีสำคัญขึ้นอีก 2 ประเพณีคือ ประเพณีถวายผ้าอาบน้ำฝน และ ประเพณีแห่เทียนพรรษา

1. ประเพณีถวายผ้าอาบน้ำฝน เกิดขึ้นโดยมีเรื่องเล่าว่า ในสมัยพุทธกาล ครั้งหนึ่งนางวิสาขา มหาอุบาสิกาต้องการจะนิมนต์พระภิกษุไปฉันภัตตาหารที่บ้าน จึงให้หญิงรับใช้ไปพระวิหารเชตวันเพื่อนิมนต์พระ ปรากฏว่านางไปเห็นพระภิกษุเปลือยกายอาบน้ำฝนอยู่ ก็กลับมารายงานด้วยความเข้าใจผิดว่าไม่พบพระ เห็นแต่พวกชีเปลือย นางวิสาขาก็รู้ด้วยปัญญาว่าคงเป็นพระอาบน้ำฝนอยู่

ดังนั้น นางจึงได้ทูลขอพรจากพระพุทธเจ้า ขอถวายผ้าอาบน้ำฝนแด่พระภิกษุและภิกษุณีเป็นประจำแต่นั้นมา จึงเกิดเป็นประเพณีที่ชาวพุทธปฏิบัติสืบต่อมาจนทุกวันนี้ และกล่าวกันว่า ผู้ที่ถวายผ้าอาบน้ำฝนจะได้รับอานิสงส์เหมือนการถวายผ้าอื่นๆ ตามนัยที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ คือ ทำให้เป็นผู้มีผิวพรรณผ่องใส สวยงาม ไม่มีโรคภัยไข้เจ็บ มีความสะอาดผ่องใสทั้งกายและใจ

2. ประเพณีแห่เทียนพรรษา เกิดจากความจำเป็นที่ว่าสมัยก่อนยังไม่มีไฟฟ้าใช้เช่นปัจจุบัน เมื่อพระภิกษุอยู่รวมกันมากๆ เพื่อปฏิบัติกิจวัตร เช่น การสวดมนต์ตอนเช้ามืดและพลบค่ำ การศึกษาพระปริยัติธรรม การบูชาพระรัตนตรัย ฯลฯ จำเป็นต้องใช้แสงสว่างจากเทียน ดังนั้น ชาวบ้านจึงได้ร่วมกันนำเทียนมาถวาย ซึ่งช่วงต้นก็คงจะถวายเป็นเทียนเล็กๆธรรมดา ครั้นต่อมาก็ได้มีการมัดเทียนเล็กๆ มารวมกันเป็นต้น คล้ายต้นกล้วยหรือลำไม้ไผ่ แล้วติดกับฐาน ที่เรียกกันว่า ต้นเทียน หรือ ต้นเทียนพรรษา และก็วิวัฒนาการมาเรื่อยๆ จนเป็นเทียนพรรษาอย่างที่เราเห็นกันอยู่ในปัจจุบัน

กล่าวกันว่า “เทียนพรรษา” เริ่มมาจากผู้ที่นับถือศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ซึ่งนับถือวัว ที่เป็นพาหนะของพระอิศวร เมื่อวัวตาย ก็จะเอาไขจากวัวมาทำเป็นน้ำมันเพื่อจุดบูชาพระเป็นเจ้าที่ตนเคารพ แต่ชาวพุทธจะทำเทียนเพื่อบูชาพระรัตนตรัย โดยเอามาจากรังผึ้งร้าง ต้มเอาขี้ผึ้งมาฟั่นเป็นเทียนเล็กๆ เพื่อจุดบูชาพระ และได้ยึดเป็นประเพณีที่จะนำเทียนไปถวายพระภิกษุในช่วงเข้าพรรรษา เพื่อปรารถนาให้ตนเองมีสติปัญญาเฉลียวฉลาดดุจดังแสงสว่างของดวงเทียน

อนึ่ง การที่พระภิกษุจำนวนมากอยู่จำพรรษาถึง 3 เดือนนี้ นับเป็นโอกาสเหมาะที่จะได้ศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัย และประพฤติปฏิบัติธรรมกับพระเถระที่เป็นอุปัชฌาย์อาจารย์อย่างเต็มที่ ในขณะเดียวกันก็เป็นโอกาสให้พุทธศาสนิกชนได้ไปบำเพ็ญกุศล เช่น ทำบุญตักบาตร รักษาศีล สวดมนต์ ฟังธรรม เจริญภาวนา ตลอดจนไปศึกษาหาความรู้กับพระภิกษุ ซึ่งต่อมาได้เกิดเป็นประเพณีนิยมที่จะให้ลูกหลานไปบวชเรียนในช่วงเข้าพรรษา เพื่อให้ได้ศึกษาพระธรรมคำสอนของพระพุทธองค์ และได้ฝึกฝนตนเอง

วันเข้าพรรษา ความสำคัญ

1. ช่วงเข้าพรรษานั้นเป็นช่วงเวลาที่ชาวบ้านประกอบอาชีพทำไร่นา ดังนั้นการกำหนดให้ภิกษุสงฆ์หยุดการเดินทางจาริกไปในสถานที่ต่างๆ ก็จะช่วยให้พันธุ์พืชของต้นกล้า หรือสัตว์เล็กสัตว์น้อย ไม่ได้รับความเสียหายจากการเดินธุดงค์

2. หลังจากเดินทางจาริกไปเผยแผ่พระพุทธศาสนามาเป็นเวลา 8 - 9 เดือน ช่วงเข้าพรรษาเป็นช่วงที่ให้พระภิกษุสงฆ์ได้หยุดพักผ่อน

3. เป็นเวลาที่พระภิกษุสงฆ์จะได้ประพฤติปฏิบัติธรรมสำหรับตนเอง และศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัยตลอดจนเตรียมการสั่งสอนให้กับประชาชนเมื่อถึงวันออกพรรษา

4. เพื่อจะได้มีโอกาสอบรมสั่งสอนและบวชให้กับกุลบุตรผู้มีอายุครบบวช อันเป็นกำลังสำคัญในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาต่อไป

5. เพื่อให้พุทธศาสนิกชน ได้มีโอกาสบำเพ็ญกุศลเป็นการพิเศษ เช่น การทำบุญตักบาตร หล่อเทียนพรรษา ถวายผ้าอาบน้ำฝน รักษาศีล เจริญภาวนา ถวายจตุปัจจัยไทยธรรม งดเว้นอบายมุข และมีโอกาสได้ฟังพระธรรมเทศนาตลอดเวลาเข้าพรรษา

เทศกาลเข้าพรรษา พ.ศ. 2565 ตั้ง วันพฤหัสบดี ที่ 14 กรกฎาคม จนถึง วันจันทร์ ที่ 10 ตุลาคม 

วันเข้าพรรษา 2565 ประวัติวันเข้าพรรษา วันสำคัญ ที่ทุกคนควรรู้

ขอบคุณ : สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม

ข่าวเด่น

"น้ำท่วมยะลาล่าสุด" อ่วมหนักในรอบ 20ปี ประกาศเตือนภัยยกของขึ้นที่สูง

"น้ำท่วมยะลาล่าสุด" อ่วมหนักในรอบ 20ปี ประกาศเตือนภัยยกของขึ้นที่สูง

ประกันภัยไทยวิวัฒน์ มอบของขวัญปีใหม่ สิทธิ์ใช้ประกันรถเปิดปิด ฟรี 1เดือน

ประกันภัยไทยวิวัฒน์ มอบของขวัญปีใหม่ สิทธิ์ใช้ประกันรถเปิดปิด ฟรี 1เดือน

โครงการ รวมใจภักดิ์รักษ์ทะเลไทยใสสะอาด เฉลิมพระเกียรติ 6 รอบ

โครงการ รวมใจภักดิ์รักษ์ทะเลไทยใสสะอาด เฉลิมพระเกียรติ 6 รอบ

"แอนนา" ไม่ยื่นอุทธรณ์ ศาลสั่งจำคุก 100 ปี ยินดีรับสภาพ

"แอนนา" ไม่ยื่นอุทธรณ์ ศาลสั่งจำคุก 100 ปี ยินดีรับสภาพ

"หวยลาววันนี้" 27/11/67 หวยลาววันนี้ ออกอะไร หวยลาว ผลหวยลาววันนี้ 27พ.ย.67

"หวยลาววันนี้" 27/11/67 หวยลาววันนี้ ออกอะไร หวยลาว ผลหวยลาววันนี้ 27พ.ย.67

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

heading-ข่าวที่เกี่ยวข้อง