วิธีเช็กอายุยางรถยนต์ เมื่อไหร่ถึงเวลาต้องเปลี่ยนยางแล้ว?
หลายท่านที่ใช้รถยนต์เป็นประจำทุกวันนั้น อาจจะเคยสงสัยกันมาบ้างว่า ยางรถยนต์ที่คุณใช้งานอยู่ทุกวัน มีอายุการใช้งานอยุ่ที่เท่าไหร่ และควรสังเกตจากจุดไหนได้บ้าง
วิธีเช็กอายุยางรถยนต์ เมื่อไหร่ถึงเวลาต้องเปลี่ยนยางแล้ว?
หลายท่านที่ใช้รถยนต์เป็นประจำทุกวันนั้น อาจจะเคยสงสัยกันมาบ้างว่า ยางรถยนต์ที่คุณใช้งานอยู่ทุกวัน มีอายุการใช้งานอยุ่ที่เท่าไหร่ และควรสังเกตจากจุดไหนได้บ้าง
หน้าที่หลักของยางรถยนต์ คือ เป็นตัวกลางถ่ายทอดพลังการขับเคลื่อน และการหยุดรถลงสู่พื้นผิวถนน ประโยชน์ของยางรถยนต์ทำให้รถสามารถเคลื่อนตัวหรือหยุดรถได้ จะเห็นว่าประโยชน์ของยางรถยนต์มีหน้าที่ที่สำคัญ ดังนั้น อย่าลืมหมั่นดูแลรักษาและใช้ยางให้ถูกวิธี เพื่อจะได้ใช้งานได้คุ้มค่าและปลอดภัย
อายุยาง สังเกตได้จากตรงไหน ?
ตัวเลขบนหน้ายาง ที่เราสังเกตเห็นบนหน้ายาง จะมีอยู่หลายชุด ซึ่งแต่ละชุดจะเป็นตัวเลขที่บอกข้อมูลให้เจ้าของรถเพื่อเป็นข้อสังเกต อายุยาง ว่าเมื่อไหร่ควรเปลี่ยนยาง ยกตัวอย่างเช่น 0720 จากในภาพประกอบซึ่งจะมีความหมายว่า ยางเส้นนี้ได้ถูกผลิต ในสัปดาห์ที่ 7 ในปี 2020 ทางเทคนิคยางที่ดีจะต้องใช้เวลาในการคงตัว (เซตตัว) โดยปกติจะใช้เวลาประมาณ 6-8 เดือน เพื่อความแข็งแรงในการใช้งาน แต่ผลจากการทดสอบคุณภาพยางจากได้ผลออกมาว่า ยางที่เพิ่งผลิตกับยางที่ผลิตไปแล้ว 1 – 2 ปี คุณภาพไม่แตกต่างกัน ขณะที่อายุใช้งานสูงสุดของยางไม่ควรเกิน 4 – 5 ปี (นับตั้งแต่เริ่มใช้งาน)
1. เมื่อไหร่ควรเปลี่ยนยางรถยนต์?
ยางรถยนต์ส่วนใหญ่มีตัวบอกสภาพดอกยางอยู่บริเวณหน้ายาง ถ้าตัวบอกสภาพดังกล่าวมีความหนาในระดับเดียวกับดอกยาง นั่นหมายความว่าถึงเวลาที่คุณต้องเปลี่ยนยางแล้วเพื่อความปลอดภัย ถ้ายางที่คุณใช้ไม่มีตัวบอกสภาพดอกยาง
อีกหนึ่งเคล็ดลับคือการใช้ไม้ขีดไฟทิ่มลงไปในร่องยาง ถ้าคุณเห็นหัวไม้ขีดสีแดง หมายถึงดอกยางเหลือน้อยเกินไปที่จะใช้งานได้ต่อไป ควรเปลี่ยนยาง
2. แก้มยางแตกหรือแยกส่วน?
แก้มยางจะไม่ใช่ส่วนที่สัมผัสพื้นถนนโดยตรงเหมือนหน้ายาง แต่ถ้าแก้มยางมีรอยแตก ควรรีบเปลี่ยนในทั้งที เพราะว่ายางจะทำให้คุณเกิดอุบัติเหตุจากยางระเบิดได้
3. ยางบวม เวลารถเคลื่อนตัวช้า ๆ เราจะรู้สึกกระเด้งๆ เป็นจังหวะ พวงมาลัยก็จะสั่น ๆ เพราะยางไม่กลมนี่เอง ซึ่งเกิดจากเวลาที่ขับขี่ ยางนั้นได้ไปกระแทกกับขอบอะไรสักอย่าง แล้วทำให้ยางเกิดความเสียหายภายในโครงสร้าง จึงหมดสภาพการใช้งานแล้วนั่นเอง เเนะนำให้รีบเปลี่ยนทันที
4. ตำแหน่งรั่วของยาง
เมื่อยางเกิดรั่ว หลายคนนิยมใช้วิธีปะยางแทนการเปลี่ยนยางทั้งเส้น เพราะประหยัดสตางค์ได้มากกว่า แต่ควรตระหนักว่าการปะยางควรทำในบริเวณที่รอยรั่วมีขนาดไม่เกิน 1 ใน 4 นิ้วและเกิดขึ้นบริเวณการปะยางไม่ควรทำบริเวณแก้มหรือขอบยางเพราะไม่มีประโยชน์อันใดและอาจเป็นอันตรายต่อไปได้ หรือจะให้เเนะนำคือ ใช้ในเวลาที่ชั่วคราวเท่านั้น แล้วรีบนำรถยนต์ของท่านเปลี่ยนยางทันที
สาเหตุการรั่วของลมยางสามารถมาได้จากทั้งที่ตัวยางเองและที่ล้อ โดยมักมีลักษณะของปัญหาที่แตกต่างกัน
– ถูกตะปูหรือวัสดุแหลมคมทิ่มตำ แน่นอนว่าปัญหาหลักๆ ของยางรั่วมักเกิดขึ้นที่ตัวยาง โดยมาจากการชำรุดหรือเกิดแผลที่ยาง และสาเหตุหลักอันดับต้นๆ ที่ทำให้ยางรั่วก็คือถูกตะปูหรือวัสดุที่แหลมคมบนถนนทิ่มตำที่หน้ายางหรือแก้มยาว โดยรูเล็กๆ บนยางจากการถูกตำจะสามารถทำให้ลมรั่วออกจากยางได้ถึง 2-3 psi ต่อวัน แต่หากสิ่งของที่แหลมคมนั้นยังทิ่มค้างอยู่ในยาง การรั่วของยางก็จะไม่รุนแรงนัก แต่ก็อย่านิ่งนอนใจเพราะควรนำสิ่งที่ทิ่มนั้นออกจากยางและแก้ไขปัญหาต่อไป
– ขอบยางชำรุด อีกปัญหาที่ยางซึ่งทำให้ลมรั่วออกจากยางมากกว่าปกติคือความเสียหายที่ขอบยางในส่วนที่อยู่ใต้ล้อ ซึ่งทำให้ซีลระหว่างยางกับล้อไม่สนิท นอกจากนี้ยางที่มีอายุการใช้งานนานหรือถูกผลิตออกมานานก็ยังทำให้ขอบยางมีความอ่อนตัวลงและเกิดการรั่วได้ รวมถึงแม้มีวัสดุขนาดเล็กแทรกอยู่ระหว่างขอบยางและล้อก็สามารถเป็นช่องทางทำให้ลมออกจากยางได้
– ความเสียหายที่แก้มยาง การขับรถผ่านหลุมลึกหรือเบียดขอบทางจนอาจทำให้เกิดการผิดรูปที่แก้มยางสามารถทำให้ลมยางรั่วได้
– แกนวาล์วหรือจุ๊บลมชำรุด นอกจากที่ยางแล้ว สาเหตุยางรั่วยังมาจากที่ล้อได้ด้วย โดยปัญหาหนึ่งจากล้อก็คือ ฝาปิดจุ๊บเติมลมยางเก่าและชำรุดจากการใช้ไปนานๆ แล้วสัมผัสกับสารเคมีหรือสิ่งต่างๆ ที่ทำให้เสื่อมสภาพ ซึ่งการที่ฝาปิดจุ๊บเติมลมชำรุดหรือหายไปโดยไม่รู้ตัวหรือรู้แล้วแต่ไม่สนใจจะหามาปิดเหมือนเดิม สามารถทำให้กรวด น้ำ หรือสิ่งต่างๆ ที่มีขนาดเล็กเข้าไปที่จุ๊บเติมลมแล้วทำให้วาล์วภายในซึ่งป้องกันลมออกเสียหาย จนเกิดการรั่วได้
– ล้อคดหรือเบี้ยว ล้ออาจมีการสูญเสียรูปทรงกลมที่สมบูรณ์จากสาเหตุต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการสึกกร่อน หรือการกระแทกอย่างรุนแรงจนคดหรือเบี้ยวได้ ซึ่งโดยปกติแล้วการสึกกร่อนมักเกิดขึ้นในบริเวณที่ติดกับยางจึงทำให้เกิดการรั่วของลม ในขณะที่ล้อซึ่งคดจะทำให้เกิดการสั่นของรถซึ่งสามารถเป็นสาเหตุให้เกิดการชำรุดของขอบยาง ที่เป็นสาเหตุของการรั่วซึมได้