กรมส่งเสริมการเกษตร แนะ 6 วิธีดูแลสวนปาล์มหลังน้ำท่วม
กรมส่งเสริมการเกษตร แนะ 6 วิธีดูแลสวนปาล์มหลังน้ำท่วม และแนะนำแนวทางการแก้ปัญหา ที่ส่งผลให้ผลผลิตลดลง ความเสียหายเกิดจากหลายปัอจัย
ผลกระทบเมื่อถูกน้ำท่วม
- รากขาดอากาศหายใจ สามารถดูดน้ำและอาหารลดลง ชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลง ความเสียหายเกิดจากหลายปัอจัย เช่น คุณภาพน้ำที่ท่วมขัง, จำนวนวันที่ท่วมขัง,ระดับน้ำท่วมขัง
การฟื้นฟูต้นปาล์มน้ำมัน
1. เร่งระบายน้ำออกจากแปลงปลูกโดยเร็ว
- พื้นที่ดอน ทำทางระบายน้ำไม่ให้ท่วมขังโคนต้น
- พื้นที่ลุ่ม รีบซ่อมแซมหรือเสริมคันดิน แล้วสูบน้ำออก
2. ขณะดินยังชื้น
- ห้ามเดินเหยียบย่ำบริวณโคนต้นหรือนำเครื่องจักรกลเข้าสวนเพราะหน้าดินที่ถูกน้ำขังจะมีโครงสร้างที่ง่ายต่อการถูกทำลายและเกิดการอัดแน่นของดินจึงเป็นผลเสียต่อการไหลซึมของน้ำ และระบายอากาศ กระทบกระเทือนต่อระบบรากพืช อาจทำให้ต้นโทรม หรือตายได้
- ไม่ตัดแต่งทางใบหรือทะลายที่เน่าเสียหาย จะทำให้ต้นโยกคลอน รากที่เกิดใหม่เสียหาย
3. หากต้นปาล์มล้มเอียง
- ตัดแต่งทางใบปาล์มที่เสียหายและทำการค้ำยันเพื่อให้ต้นปาล์มน้ำมันฟื้นตัวได้เร็วขึ้น
4.เมื่อน้ำท่วมเกิดดิน/ทราย พัดมาทับถมที่โคนต้น
- หลังน้ำลดและดินแห้ง ให้ขุดลอกดิน/กรายออกจากทรงพุ่ม โดยให้ลึกระดับดินเดิม เพื่อให้การถ่ายเทอากาศดีขึ้น
5. หากตรวจพบต้นปาล์มน้ำมันตาย
- ควรขุดต้นที่ตายและทำลายทิ้ง
- ใช้ปูนขาวโรยหลุมปลูกฆ่าเชื้อโรค ทิ้งไว้ 1 สัปดาห์
- รองก้นหลุมด้วยร็อกฟอสเฟต 0-3-0 อัตรา 0.5 กก. แล้วปลูกซ่อมทันที
6. ปรับสภาพหลังน้ำลด
- โรยปูนขาวรอบโคนรัศมีทางใบเพื่อปรับสภาพดินและฆ่าเชื้อโรค
- ใส่ปุ๋ยคอก/ปุ๋ยหมัก ปรับโครงสร้างดิน
- ใส่ปุ๋ยสูตร 0-3-0 เร่งการเจริญของระบบราก
* ปาล์มขนาดเล็กใช้ 0.5 กก.
* ปาล์มขนาดใหญ่ใช้ 15 กก.
- ฉีดพ่นปุ๋ยทางใบโดยใช้ปุ๋ยเกล็ดสูตร 21-21-21 ช่วยให้ปาล์มฟื้นตัวเร็วขึ้น
หากน้ำท่วมนานทำให้ทะลายปาล์มเน่า
- ควรตัดทะลายเน่าทิ้งหากปล่อยไว้นานอาจเกิดเชื้อราแพร่กระจายไปทะลาย หรือส่วนอื่นได้
- ตัดยอดปาล์ม หรือส่วนที่เน่าออก ฉีดพ่นสารเคมีป้องกันโรคเชื้อรา เช่น เมทาแลกซิล(ริโดมิล)หรือไฟโซล - อลูมินัม (อาลีเอท) ผสมน้ำ 50 กรับ/น้ำ 20 ลิตร
สนับสนุนโดย : ปุ๋ยมงกุฎ