เกษตรยั่งยืน

heading-เกษตรยั่งยืน

แนะเทคโนโลยีเตรียมความพร้อมผลิตลำไย ช่วยลดต้นทุน เพิ่มรายได้

07 ธ.ค. 2565 | 13:23 น.
แนะเทคโนโลยีเตรียมความพร้อมผลิตลำไย ช่วยลดต้นทุน เพิ่มรายได้

กรมวิชาการเกษตรแนะเทคโนโลยีเตรียมความพร้อมผลิตลำไยฤดูกาล 2566 ช่วยช่วยลดต้นทุน สร้างผลผลิตมีคุณภาพ และเพิ่มรายได้

นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า จากสถานการณ์การผลิตลำไย ปี 2565 ที่มีเนื้อที่ให้ผล 1.7 ล้านไร่ ผลผลิต 1.5 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากปี 2564 ที่มีผลผลิตเพียง 1.2 ล้านตัน เนื่องจากสภาพอากาศเอื้ออำนวยและมีปริมาณน้ำเพียงพอในช่วงออกดอกและติดผล อย่างไรก็ตาม การผลิตลำไยให้ได้ผลผลิตจำนวนมากและมีคุณภาพดีเป็นที่ต้องการของตลาดมีอุปสรรคหลายประการโดยเฉพาะโรคและแมลงศัตรูลำไย ซึ่งเมื่อระบาดแล้วส่งผลกระทบต่อผลผลิตโดยตรงทำให้ต้นพืชอ่อนแอและทรุดโทรมลงเรื่อยๆ จนกระทั่งตายในที่สุด

แนะเทคโนโลยีเตรียมความพร้อมผลิตลำไย ช่วยลดต้นทุน เพิ่มรายได้

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

heading-ข่าวที่เกี่ยวข้อง

การยกระดับคุณภาพและมาตรฐานผลไม้ จะเพิ่มประสิทธิภาพและขีดความสามารถในการแข่งขันของผลไม้ไทยตลอดห่วงโซ่การผลิต การแปรรูป จนถึงการตลาด โดยเฉพาะในการผลิตลำไย ได้มีการวางแผนบริหารจัดการเชิงปริมาณและคุณภาพ ทั้งระยะก่อนเก็บเกี่ยวผลผลิต เน้นการกระจายผลผลิตออกนอกฤดู การส่งเสริมการผลิตตามมาตรฐาน (GAP) โครงการส่งเสริมอาชีพด้านการเกษตรตามอัตลักษณ์และภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยมุ่งเน้นการให้คำแนะนำเกษตรกรในการเตรียมต้นลำไยในการผลิตในฤดูกาลถัดไปด้วยเทคโนโลยีที่เหมาะสม กรมวิชาการเกษตร 

แนะเทคโนโลยีเตรียมความพร้อมผลิตลำไย ช่วยลดต้นทุน เพิ่มรายได้

จึงมีคำแนะนำให้กับเกษตรกรในการจัดการต้นลำไยสำหรับการผลิตลำไย ดังนี้
1. การเตรียมต้นให้พร้อมหลังจากการเก็บเกี่ยวผลผลิตในฤดูกาลก่อน
– การตัดแต่งกิ่งเพื่อควบคุมทรงพุ่มและตัดกิ่งแห้งหรือเป็นโรคออก โดยให้ตัดกิ่งกลาง กิ่งทับซ้อน กิ่งแห้งตายหรือ กิ่งที่มีโรค-แมลงทำลาย
– เก็บตัวอย่างดินเพื่อวิเคราะห์ดิน ทำการใส่ปุ๋ยเพิ่มความสมบูรณ์ต้น เพื่อปรับปรุงดินให้เหมาะสมหรือใส่ปุ๋ยอินทรีย 10-20 กิโลกรัมต่อต้น และปุ๋ยเคมี 15-15-15 ผสม 46-0-0 สัดส่วน 1:1 อัตรา 1-2 กิโลกรัมต่อต้น
– การให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ
– การป้องกันกำจัดโรคและแมลงศัตรูสำคัญในช่วงแตกใบอ่อน เช่น ไรสี่ขา หนอนคืบ
– งดการให้น้ำช่วงก่อนออกดอก

2. การเตรียมต้นช่วงออกดอกและช่วงผสมเกสร
– ในช่วงเริ่มออกดอก ให้น้ำเล็กน้อยและเพิ่มปริมาณขึ้นตามลำดับ
– ใส่ปุ๋ยบำรุง
– เฝ้าระวังและป้องกันกำจัดแมลงทำลายช่อดอก ได้แก่ หนอนเจาะช่อดอก เพลี้ยหอยหรือเพลี้ยแป้ง
– พ่นสารป้องกันกำจัดแมลงก่อนดอกบาน โดยหลีกเลี่ยงช่วงดอกบาน
– ในช่วงผสมเกสร ให้น้ำอัตรา 250-350 ลิตรต่อต้น สัปดาห์ละ 2 ครั้ง
– หากมีแมลงช่วยผสมเกสรน้อย ควรมีการนำผึ้งมาเลี้ยงเพื่อช่วยผสมเกสรในสวน
– ในช่วงผสมเกสร เฝ้าระวังการเข้าทำลายของเพลี้ยไฟ พ่นสารป้องกันกำจัด


3. การจัดการช่วงติดผลและพัฒนา
– ให้น้ำ อัตรา 250-350 ลิตรต่อต้น สัปดาห์ละ 2 ครั้ง
– ในระยะติดผล ใส่ปุ๋ยบำรุง ได้แก่ ปุ๋ยเคมี เช่น 15-15-15 ผสม 46-0-0 สัดส่วน 1:1 อัตรา 1-2 กิโลกรัมต่อต้น
– ในระยะก่อนเก็บเกี่ยว 30 วัน ใส่ปุ๋ยบำรุง ได้แก่ ปุ๋ยเคมี 0-0-60 หรือ 13-13-21 อัตรา 1-2 กิโลกรัมต่อต้น
– เฝ้าระวังและป้องกันกำจัดแมลงทำลาย ได้แก่ มวนลำไย เพลี้ยหอย เพลี้ยแป้ง ผีเสื้อมวนหวาน


4. การจัดการช่วงเก็บเกี่ยว
– เก็บเกี่ยวผลผลิตเมื่อผลอายุประมาณ 22 สัปดาห์ หลังติดผล เปลือกผลเรียบเกือบไม่มีกระและสีน้ำตาลอ่อน
– หักหรือตัดช่อผล ให้มีใบย่อยสุดท้ายติดไปด้วย
– รวบรวมผลผลิตไว้ในภาชนะหรือสถานที่ที่สะอาด ควรมีภาชนะรองรับ ไม่ควรวางผลผลิตบนพื้นดินโดยตรง
– ตัดแต่งช่อผล คัดขนาด และคุณภาพผลผลิตตามมาตรฐานลำไย

แนะเทคโนโลยีเตรียมความพร้อมผลิตลำไย ช่วยลดต้นทุน เพิ่มรายได้

อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า นอกจากนี้กรมวิชาการเกษตรยังแนะนำหลักการการผลิตลำไยนอกฤดู ดังนี้
1. การเตรียมความพร้อมต้น
- หลังเก็บเกี่ยวให้ทำการตัดแต่งกิ่ง เพื่อกระตุ้นให้แตกกิ่งใหม่ให้เร็วและสม่ำเสมอ โดยตัดกิ่งภายในทรงพุ่มที่ไม่ได้รับแสงและกิ่งที่ถูกโรคและแมลงทำลาย
- ใส่ปุ๋ยบำรุงดินและต้น โดยการใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก 10-20 กิโลกรัมต่อต้น พร้อม 15-15-15 ผสม 46-0-0 สัดส่วน 1:1 อัตรา 1-2 กิโลกรัมต่อต้น
- ให้น้ำอย่างสม่ำเสมอและเพียงพอ
- ป้องกันกำจัดศัตรูลำไยที่สำคัญที่จะกัดกินใบอ่อน เช่น หนอนคืบกินใบและแมลงค่อมทอง
2. การชักนำให้ออกดอก
- บำรุงต้นให้สมบูรณ์ ต้นลำไยอยู่ในระยะใบแก่
- ทำความสะอาดบริเวณใต้ทรงพุ่มให้โล่งเตียน
- ชักนำให้ออกดอกด้วยสารคลอเรต โดยการให้สารโพแทสเซียมคลอเรตบริสุทธิ์ อัตรา 60-80 กรัมต่อน้ำ 40-60 ลิตร ต่อเส้นผ่านศูนย์กลางทรงพุ่ม 1 เมตร ราดรอบชายพุ่ม ในช่วงฤดูฝนใช้อัตราเพิ่มขึ้นเป็น 100-120 กรัม หรือใช้โซเดียมคลอเรต 50% เอสพี อัตรา 100 กรัมต่อน้ำ 60-80 ลิตร ลิตร ต่อเส้นผ่านศูนย์กลางทรงพุ่ม 1 เมตร ราดรอบชายพุ่ม
- หลีกเลี่ยงการชักนำออกดอกโดยใช้สารคลอเรตในช่วงที่มีฝนตกชุก
- รดน้ำให้ดินชุ่มชื้น ทุก 3-5 วัน หลังราดสาร ประมาณ 20-30 วัน ลำไยจะเริ่มออกดอก
- การปฏิบัติดูแลรักษา ได้แก่ การใส่ปุ๋ย การให้น้ำ การป้องกันกำจัดศัตรูพืชและการเก็บเกี่ยวผลผลิตจะปฏิบัติเช่นเดียวกับการผลิตลำไยในฤดู

แนะเทคโนโลยีเตรียมความพร้อมผลิตลำไย ช่วยลดต้นทุน เพิ่มรายได้

อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวในตอนท้ายว่า การใช้เทคโนโลยีการผลิตลำไยของกรมวิชาการเกษตร ทำให้เกษตรกรลดต้นทุน เพิ่มรายได้ ผลผลิตมีคุณภาพตรงตามความต้องการของผู้บริโภค โดยการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมในการชักนําการออกดอกและติดผลช่วงฤดูฝน สามารถลดต้นทุนการผลิตลำไยนอกฤดูลงได้ 46% และสามารถเพิ่มรายได้ให้เกษตรกรสุทธิ 32.5% รวมทั้งยังเพิ่มคุณภาพผลผลิตในด้านความกว้างผล ความยาวผล ความหนาผล ความหนาเนื้อ น้ำหนักเนื้อต่อผล และความหวานด้วย

สนับสนุนโดย : ปุ๋ยมงกุฎ

แนะเทคโนโลยีเตรียมความพร้อมผลิตลำไย ช่วยลดต้นทุน เพิ่มรายได้

ข่าวล่าสุด

heading-ข่าวล่าสุด

ข่าวเด่น

ราชกิจจาฯ ประกาศ กรมการขนส่งทางบก ระเบียบใหม่ ชำระภาษีรถยนต์

ราชกิจจาฯ ประกาศ กรมการขนส่งทางบก ระเบียบใหม่ ชำระภาษีรถยนต์

เผยภาพหลุด เจ้าอาวาสวัดดัง แฉสาเหตุยอมไม่กลับวัด 4 เดือน

เผยภาพหลุด เจ้าอาวาสวัดดัง แฉสาเหตุยอมไม่กลับวัด 4 เดือน

พยากรณ์อากาศวันนี้ 11 ก.ค. 2568 ฝนตกหนักหลายจังหวัด เสี่ยงน้ำท่วม

พยากรณ์อากาศวันนี้ 11 ก.ค. 2568 ฝนตกหนักหลายจังหวัด เสี่ยงน้ำท่วม

เตือนภัย! พบ "Blue Dragon" ทากทะเลพิษร้าย ที่หาดกะรน จ.ภูเก็ต

เตือนภัย! พบ "Blue Dragon" ทากทะเลพิษร้าย ที่หาดกะรน จ.ภูเก็ต

ดาราดังหายตัวไม่มีใครรู้ เจออีกทีกลายเป็นศพในสภาพสุดสะเทือนใจ

ดาราดังหายตัวไม่มีใครรู้ เจออีกทีกลายเป็นศพในสภาพสุดสะเทือนใจ