ไลฟ์สไตล์

heading-ไลฟ์สไตล์

กรมวิชาการเกษตร ดันมันสำปะหลัง 6 สายพันธุ์ ให้ผลผลิตสูง ดูดซับคาร์บอนได้ดี

10 ม.ค. 2566 | 16:47 น.
กรมวิชาการเกษตร ดันมันสำปะหลัง  6 สายพันธุ์ ให้ผลผลิตสูง ดูดซับคาร์บอนได้ดี

กรมวิชาการเกษตรชูมันสำปะหลัง 6 สายพันธุ์ พืชไร่ศักยภาพสูงดูดซับก๊าซเรือนกระจกได้ดี และให้ผลผลิตสูง ป้องกันกับปัญหาภาวะโลกร้อน

นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่าบทบาทภารกิจที่สำคัญอีกด้านหนึ่งของกรมวิชาการเกษตรคือการศึกษาวิจัยชนิดพืชที่มีศักยภาพในการดูดซับก๊าซเรือนกระจกโดยเฉพาะก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และการกักเก็บคาร์บอนไว้ในส่วนต่าง ๆ ของพืช  เพื่อรับมือเตรียมความพร้อมในการร่วมกันป้องกันกับปัญหาภาวะโลกร้อน (Global Warming) และการเปลี่ยนแปลงสภาพสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) ซึ่งนอกจากพื้นที่ป่าไม้แล้วพื้นที่เพาะปลูกพืชยังเป็นแหล่งดูดซับก๊าซเรือนกระจกที่สำคัญเช่นกัน

กรมวิชาการเกษตร ดันมันสำปะหลัง  6 สายพันธุ์ ให้ผลผลิตสูง ดูดซับคาร์บอนได้ดี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

heading-ข่าวที่เกี่ยวข้อง

          มันสำปะหลัง เป็นพืชไร่เศรษฐกิจสำคัญชนิดหนึ่งของประเทศไทย ในปีการผลิต 2565 มีเนื้อที่เพาะปลูกทั้งประเทศประมาณ 11.07 ล้านไร่ ผลผลิตรวม 34.69 ล้านตัน ซึ่งพบว่าผลผลิตหัวสดมันสำปะหลังซึ่งเป็นรากสะสมอาหารจะสะสมคาร์โบไฮเดรตประมาณ 20-35% และในส่วนของลำต้นและใบยังมีการสะสมแป้งหรือคาร์โบไฮเดรต ซึ่งองค์ประกอบคาร์โบไฮเดรตที่เกิดขึ้นเหล่านี้เกิดจากกระบวนการสังเคราะห์แสงของพืช โดยพืชจะดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศและน้ำ มาใช้ให้เกิดการสังเคราะห์สารประกอบอินทรีย์ และเก็บสะสมไว้ในรูปสารประกอบคาร์บอน กรมวิชาการเกษตร ดันมันสำปะหลัง  6 สายพันธุ์ ให้ผลผลิตสูง ดูดซับคาร์บอนได้ดี

ศูนย์วิจัยพืชไร่ระยอง กรมวิชาการเกษตร  ได้ดำเนินการศึกษาวิจัยและประเมินศักยภาพของมันสำปะหลังในการดูดซับก๊าซเรือนกระจกโดยเฉพาะการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) รวมทั้งการศึกษาการกักเก็บคาร์บอนภายในส่วนต่าง ๆ ของต้นมันสำปะหลัง จำนวน 26 สายพันธุ์/พันธุ์ พบว่าในช่วงเช้าจะมีความเข้มข้นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ในอากาศอยู่ระหว่าง 400-460 ppm แต่เมื่อสภาพอากาศมีความเข้มแสงเริ่มสูงกว่า 200 µmol PPF m-2s-1 มันสำปะหลังเริ่มมีอัตราการสังเคราะห์แสงสุทธิเพิ่มขึ้น (ในสภาพอากาศปกติอยู่ประมาณ 07.00 น.) และเมื่อความเข้มแสงสูงกว่า 800 µmol PPF m-2s-1 (ประมาณ 08.00 น.) จะทำให้ใบมันสำปะหลังมีอัตราการสังเคราะห์แสงสุทธิสูงขึ้นอย่างเด่นชัด ส่งผลให้ CO2 ในอากาศในแปลงปลูกมันสำปะหลังจะลดลงเหลือ 300-350 ppm ซึ่งจะเห็นได้ว่ามันสำปะหลังสามารถดูดซับ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศได้อย่างดี

กรมวิชาการเกษตร ดันมันสำปะหลัง  6 สายพันธุ์ ให้ผลผลิตสูง ดูดซับคาร์บอนได้ดี

อธิบดีกรมวิชาการเกษตร  กล่าวว่า  การประเมินศักยภาพของพันธุ์มันสำปะหลังในการดูดซับก๊าซเรือนกระจก พบว่า มันสำปะหลังในแต่ละพันธุ์มีศักยภาพการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ในอากาศที่แตกต่างกัน  แม้ในมันสำปะหลังพันธุ์เดียวกันแต่มีช่วงอายุการเจริญเติบโตที่แตกต่างกันใบมันสำปะหลังมีศักยภาพการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่แตกต่างกันเช่นกัน โดยเฉพาะความชื้นของดินที่เหมาะสมจะมีส่วนช่วยเพิ่มศักยภาพการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้สูงขึ้น ซึ่งมันสำปะหลังเป็นพืชที่มีศักยภาพในการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และกักเก็บคาร์บอนไว้ในผลผลิตได้ดี มีส่วนสำคัญต่อการให้ผลผลิตแป้งหรือผลผลิตมันแห้งเฉลี่ยต่อไร่ต่อปีสูง

กรมวิชาการเกษตร ดันมันสำปะหลัง  6 สายพันธุ์ ให้ผลผลิตสูง ดูดซับคาร์บอนได้ดี

จากผลงานวิจัยเมื่อใบมันสำปะหลังได้รับความเข้มข้นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มขึ้นจะทำให้ใบมันสำปะหลังดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เข้าไปเก็บไว้ภายในภายในช่องว่างระหว่างเซลล์ของใบได้เพิ่มขึ้น และทำให้ใบมันสำปะหลังมีอัตราการสังเคราะห์แสงสุทธิเพิ่มขึ้น ส่งผลให้เกิดการสังเคราะห์สารประกอบอินทรีย์เพิ่มขึ้น ซึ่งจากการทดลองพันธุ์มันสำปะหลังส่วนใหญ่มีอัตราการสังเคราะห์แสงสุทธิสูงในช่วง 2-4 เดือนหลังปลูก โดยเฉพาะในช่วง 4 เดือนที่ต้นมันสำปะหลังมีจำนวนใบสมบูรณ์ต่อต้นจำนวนมาก ทำให้ช่วงการเจริญเติบโตนี้สามารถกักเก็บคาร์บอนได้สูง เมื่อพิจารณาพันธุ์ที่มีศักยภาพดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ใช้ความเข้มแสงในระดับต่ำและสูงได้ดี และให้ผลผลิตสูง สามารถคัดเลือกพันธุ์ได้ดังนี้ พันธุ์ระยอง 9 ระยอง 11 ระยอง 72 สายพันธุ์ CMR57-83-69 ห้วยบง 80 และพิรุณ 2 ซึ่งพันธุ์เหล่านี้จะเป็นพันธุ์ทางเลือกในการกักเก็บคาร์บอนได้สูงและทำให้การผลิตมันสำปะหลังเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมต่อไปอธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวในตอนท้ายว่า  การเลือกใช้พันธุ์มันสำปะหลังและการจัดการแปลงปลูกที่เหมาะสมมีส่วนช่วยเพิ่มศักยภาพการกักเก็บคาร์บอนของพืช จากสรุปผลงานวิจัยของมันสำปะหลังจำนวน 26 สายพันธุ์/พันธุ์ พบว่า ผลผลิตหัวสดสามารถกักเก็บคาร์บอนเฉลี่ย 0.870 ตันคาร์บอนต่อไร่ และดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เฉลี่ย 3.190 ตัน CO2 ต่อไร่ ทำให้มันสำปะหลังสามารถดูดซับ CO2 ในพื้นที่ปลูกทั้งประเทศต่อปี รวมประมาณ 30.11 ล้านตัน CO2 ต่อปี หากนำส่วนต่าง ๆ ของมันสำปะหลังที่เหลือ ได้แก่ ลำต้น เหง้า ใบ และก้านใบ มาคำนวณรวมกับรากสะสมอาหาร จะทำให้มันสำปะหลังเป็นพืชที่มีศักยภาพสูงในการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งเป็นก๊าซชนิดหนึ่งของก๊าซเรือนกระจก และทำให้การผลิตมันสำปะหลังเป็นมิตรกับสภาพภูมิอากาศต่อไป

กรมวิชาการเกษตร ดันมันสำปะหลัง  6 สายพันธุ์ ให้ผลผลิตสูง ดูดซับคาร์บอนได้ดี

ข่าวเด่น

เอส แอนด์ พี ต้อนรับเทศกาลแห่งความสุขจัดงาน “S&P SWEET HAPPINESS 2025”

เอส แอนด์ พี ต้อนรับเทศกาลแห่งความสุขจัดงาน “S&P SWEET HAPPINESS 2025”

"เบ๊น อาปาเช่" ซัดชาวเน็ตแซะ "มิกซ์" ลูกชายหม่ำ ดังเพราะบารมีพ่อ

"เบ๊น อาปาเช่" ซัดชาวเน็ตแซะ "มิกซ์" ลูกชายหม่ำ ดังเพราะบารมีพ่อ

"ทนายธรรมราช" เผยคำใบ้ "ทนายคนใหม่" ของทนายตั้ม

"ทนายธรรมราช" เผยคำใบ้ "ทนายคนใหม่" ของทนายตั้ม

ศาลไม่ให้ประกันตัว ภรรยา และ ลูกสาวหมอบุญ นำตัวกลับเข้าเรือนจำตามเดิม

ศาลไม่ให้ประกันตัว ภรรยา และ ลูกสาวหมอบุญ นำตัวกลับเข้าเรือนจำตามเดิม

แม่น้ำหนึ่งให้เลขเด็ดมาแรง งวดนี้ 1/12/67 คอหวยห้ามพลาด

แม่น้ำหนึ่งให้เลขเด็ดมาแรง งวดนี้ 1/12/67 คอหวยห้ามพลาด

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

heading-ข่าวที่เกี่ยวข้อง