"แมวดาว" (leopard cat) สัตว์ป่าคุ้มครองในไทย
แมวป่าขนาดเล็กที่อาศัยอยู่ในเอเชียใต้ ตะวันออกเฉียงใต้ และตะวันออก จัดอยู่ในกลุ่มสิ่งมีชีวิตที่มีความเสี่ยงต่ำต่อการสูญพันธุ์ ตั้งแต่ ค.ศ. 2002 แมวดาวเป็นแมวชนิดแรกที่ถูกปรับเป็นสัตว์เลี้ยงในจีนยุคหินใหม่ประมาณ 5,000 ปีที่แล้วในมณฑลฉ่านซีและมณฑลเหอหนาน
ลักษณะ
แมวดาวมีขนาดเท่ากับแมวบ้าน แต่มีความเพรียวมากกว่า ขนมีสีซีดสีน้ำตาลอ่อน บริเวณท้องสีขาว มีลายคล้ายดอกกุหลาบบริเวณลำตัวและหาง ส่วนปลายหางเป็นปล้อง มีแถบดำสี่แถบพาดขนานจากหน้าผากไปยังบริเวณคอ แมวดาวมีหัวขนาดเล็ก ปากสั้น และหูกลม
ถิ่นอาศัย
แมวดาวอาศัยอยู่ในป่าดิบชื้น ป่าดิบเขตร้อน และพื้นที่เพาะปลูก ป่าผลัดใบเขตร้อน และป่าสน เชิงเขาเทือกเขาหิมาลัย ที่ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเล 1,000 เมตร แมวดาวกระจายทั่วไปในเอเชีย ภาคตะวันออกของอัฟกานิสถานและภาคเหนือของปากีสถาน และชายฝั่งทางตอนเหนือของอินเดีย พม่า ลาว ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย เวียดนาม ไต้หวัน สุมาตรา ชวา บาหลี เกาะบอร์เนียวเนปาล เกาหลี กัมพูชา บางส่วนของฟิลิปปินส์ และภาคตะวันออกของจีน
อาหาร
สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็ก สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน นก ปลา ซากสัตว์ และแมลง
พฤติกรรม
หากินเวลากลางคืนทั้งบนดินและต้นไม้ ชอบนอนในโพรง บางครั้งกระโจนจากต้นไม้เพื่อจับสัตว์กิน เป็นสัตว์ที่ว่ายน้ำเก่ง
ขนาดและน้ำหนักตัว
โดยเฉลี่ยน้ำหนักระหว่าง 3-7 กิโลกรัม ลำตัวถึงหัวยาว 44.5-107 เซนติเมตร และหางยาว 23-44 เซนติเมตร