บ้านและอสังหาริมทรัพย์

heading-บ้านและอสังหาริมทรัพย์

ตรวจรับบ้านด้วยตัวเอง 9 รายการ เช็กก่อนแก้ไขทัน ไม่ต้องเสียเงินเพิ่ม

31 พ.ค. 2566 | 18:22 น.
ตรวจรับบ้านด้วยตัวเอง 9 รายการ เช็กก่อนแก้ไขทัน ไม่ต้องเสียเงินเพิ่ม

เช็กลิสต์ 9 รายการตรวจรับบ้านฉบับด้วยตนเอง ก่อนรับโอนหรือรับส่งมอบบ้าน เช็กก่อนแก้ไขทัน ไม่ต้องเสียเงินเพิ่ม แต่ละจุดต้องตรวจอะไรบ้าง

ตรวจรับบ้านด้วยตนเอง เป็นอีกหนึ่งขั้นตอนสำคัญของคนที่ซื้อบ้านหรือซื้อคอนโด จะต้องให้ความสำคัญและใช้ความละเอียดถี่ถ้วนมากๆ เพื่อให้โครงการแก้ไขจุดบกพร่องให้เรียบร้อยก่อน เพราะหากผ่านขั้นตอนนี้ไปแล้ว นั่นหมายถึงการยอมรับสภาพบ้านหรือคอนโดที่โครงการขายให้เราอย่างสมบูรณ์ ซึ่งถ้าหากมีการรับโอนเรียบร้อยแล้ว การจะแจ้งให้โครงการดำเนินการแก้ไขตำหนิ หรือข้อผิดพลาดภายในตัวบ้านนั้น จะกลายเป็นเรื่องยากทันที นอกจากนี้ยังอาจทำให้ล่าช้า หรือต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมโดยไม่จำเป็น

 

ตรวจรับบ้านด้วยตัวเอง 9 รายการ เช็กก่อนแก้ไขทัน ไม่ต้องเสียเงินเพิ่ม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

heading-ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ทั้งนี้ หลายๆคนอาจจะยังไม่แน่ใจว่าการตรวจรับบ้านต้องตรวจอะไร และมีอะไรที่ต้องเช็กบ้าง ไทยนิวส์ออนไลน์ได้รวมลิสต์รายการตรวจรับบ้านฉบับด้วยตนเอง
 

อุปกรณ์ที่ต้องเตรียมก่อนเข้าไปตรวจรับบ้านด้วยตัวเอง


1. กล้องถ่ายรูป หรือ กล้องถ่ายรูปในโทรศัพท์มือถือใ ช้สำหรับการเก็บบันทึกภาพในมุมต่างๆ เป็นหลักฐานประกอบการแจ้งซ่อม


2. แปลนของบ้าน เพื่อให้รู้ตำแหน่งทุกห้องทุกมุมของตัวบ้านและไล่ตรวจได้ครบทุกพื้นที่ หรือถ้าสามารถเตรียมผังที่ดินไปได้ก็ควรนำไปด้วย เพื่อจะได้สามารถตรวจสอบผังที่ดินได้ด้วย


3. อุปกรณ์จดบันทึก ได้แก่ ปากกา ดินสอ สมุดจดบันทึก เพื่อจดบันทึกข้อมูลในประเด็นต่างๆ ที่จะพูดคุยสอบถามเป็น Checklist รวมถึงจดบันทึกข้อมูลที่ได้จากการตรวจสอบส่วนต่างๆ เอาไว้


4. ตลับเมตร เป็นสิ่งที่สำคัญมากเพราะจะใช้ในการวัดความยาวของโครงสร้างและอุปกรณ์ต่างๆ ไม่ควรเข้าไปพูดคุยแบบกะหรือการประมาณ แต่ควรใช้เครื่องมือในการวัดและจดบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร


5. ไม้บรรทัด สำหรับวัดความยาวในระยะสั้นๆ ที่ไม่จำเป็นต้องใช้ตลับเมตรและยังมีประโยชน์ในการตรวจสอบระนาบด้วยว่ามีความราบเรียบหรือไม่
   

6. ไขควงวัดไฟ เป็นอุปกรณ์อันเล็กๆที่สำคัญมากเอาไว้ใช้สำหรับตรวจสอบระบบไฟฟ้าภายในตัวบ้าน ซึ่งข้อควรระวังคือต้องใช้อย่างรอบคอบและคำนึงถึงความปลอดภัยอยู่เสมอ และทุกครั้งที่ต้องการตรวจสอบระบบไฟค วรสวมถุงมือยางเพื่อเป็นฉนวนป้องกันไฟด้วย
    

7. อุปกรณ์ทำเครื่องหมาย เช่น กระดาษ Post it , ชอล์กเขียน , เทปพันสายไฟ , เทปกาวชนิดลอกออกง่ายโดยไม่ทำให้พื้นผิววัสดุเสียหาย ฯลฯ


8. ไฟฉายพกพา สำหรับใช้ส่องบริเวณพื้นที่มืดอย่างบนฝ้าเพดาน ช่องท่องานระบบต่างๆ และใช้ส่องเช็dสีและความเรียบร้อยของพื้นผิววัสดุ

 

ตรวจรับบ้านด้วยตัวเอง 9 รายการ เช็กก่อนแก้ไขทัน ไม่ต้องเสียเงินเพิ่ม

ต้องเช็กอะไรบ้างเวลาตรวจรับบ้าน


1. ตรวจสอบระบบไฟภายในบ้าน เป็นการตรวจสอบว่าสวิตช์และเต้ารับทุกจุดภายในบ้านสามารถใช้งานได้จริง แนะนำให้ใช้เครื่องตรวจสอบเบรกเกอร์ตัดไฟรั่วไหล หรือ ELCB Tester เพื่อทดสอบว่าระบบไฟภายในบ้านสามารถจ่ายไฟได้ปกติหรือไม่ พร้อมทั้งทดสอบความถูกต้องของการเดินสายไฟ สายดิน และระบบตัดไฟ  ทั้งนี้ การใช้อุปกรณ์ตรวจสอบระบบไฟภายในบ้านอย่าลืมศึกษาวิธีการใช้อย่างละเอียดเพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้งาน


2. ตรวจสอบระบบน้ำภายในบ้าน แบ่งออกเป็น 3 ที่หลักๆ ได้แก่

- ห้องน้ำ ตรวจสอบการรั่วซึมและแรงดันของก๊อกน้ำ ฝักบัว และชักโครก พร้อมทั้งเช็คว่าชักโครกตันหรือมีกลิ่นไม่พึงประสงค์หรือไม่ ตรวจสอบความลาดเอียงของพื้นในห้องน้ำเพื่อดูว่าน้ำสามารถระบายลงท่อได้ และไม่ท่วมขังในห้องน้ำ
    
- ระบบท่อ ตรวจสอบระบบท่อว่ามีรอยแตกร้าว รั่วซึม และมีการต่อท่อไปบ่อพักหรือไม่ และอย่าลืมที่จะสังเกตกลิ่นไม่พึงประสงค์เมื่อราดน้ำลงท่อ
    
- มิเตอร์น้ำ ตรวจสอบว่าระหว่างที่ไม่ได้ใช้น้ำ เข็มมิเตอร์น้ำทำงานหรือไม่
     

3. ตรวจสอบโครงสร้างและผนังห้อง ต้องไม่มีรอยแตกร้าว และผนังบ้านควรเรียบได้ระนาบเดียวกัน ถ้าหากพบเห็นรอยแตกร้าว หรือตำหนิตามผนังหรือโครงสร้างให้คุณหาโพสอิทมาแปะไว้ เพื่อให้ทางโครงการดำเนินการแก้ไขให้เรียบร้อยก่อนเซ็นรับโอนบ้าน และในกรณีที่ผนังติดวอลล์เปเปอร์ให้ใช้ไฟฉายส่องเพื่อดูความเรียบเนียนของวอลล์เปเปอร์


4. ตรวจสอบพื้นบ้าน ถ้าหากพื้นบ้านปูด้วยกระเบื้องสามารถทดสอบพื้นบ้านได้ด้วยการเคาะเพื่อฟังเสียงด้วยค้อนยางหรือไขควงไม้ ถ้ากระเบื้องแผ่นไหนเคาะแล้วมีเสียงแตกต่างจากกระเบื้องแผ่นอื่นๆ หรือเคาะแล้วกระเบื้องสั่น หมายความว่าปูนกาวของกระเบื้องแผ่นนั้นๆ ไม่แน่นพอ และที่สำคัญกระเบื้องต้องไม่แตกร้าวและไม่แอ่น นอกจากนี้ในกรณีที่ปูพื้นด้วยไม้ลามิเนต หรือ พื้นไม้ พื้นต้องเรียบระนาบเท่ากัน ไม่บวม และไม่โก่ง
 

5. ตรวจสอบเพดานบ้าน เพดานทั้งแผ่นต้องเรียบเนียน ไม่แอ่น หรือโก่งงอ สีที่ทาต้องเรียบเนียนทั้งแผ่นไม่มีบริเวณที่สีโดดออกมา และไม่เลอะคราบปูน นอกจากนี้อย่าลืมตรวจสอบการรั่วซึมของฝ้าเพดาน พร้อมทั้งเช็คความเรียบร้อยของการเดินสายไฟ


6. ตรวจสอบหลังคาบ้าน การตรวจสอบการรั่วซึมของน้ำจากหลังคาเป็นหนึ่งในขั้นตอนที่สำคัญของการตรวจบ้าน โดยสังเกตจากคราบน้ำที่เพดาน หรือ รอยหยดน้ำที่พื้น ถ้าหากหลังคาบ้านรั่วซึมจะถือว่าเป็นปัญหาที่ใหญ่และแก้ค่อนข้างยาก และตรวจว่าได้มีการติดตั้งฉนวนกันความร้อนเต็มพื้นที่ตามที่ตกลงหรือไม่


7. ตรวจสอบประตูหน้าต่าง ควรเช็กประตูและหน้าต่างทั้งหมดของตัวบ้าน ไม่ว่าจะเป็น บานพับ กลอน และวงกบ ว่าสามารถใช้งานได้ปกติ ปิดได้สนิท เลื่อนแล้วไม่ติดขัด พร้อมทั้งเช็คว่าตัวบานประตูและหน้าต่างขูดกับพื้นหรือเพดานหรือไม่


8. ตรวจสอบบันได ควรตรวจว่าตัวราวบันไดติดตั้งในตำแหน่งที่จับได้ถนัดและแข็งแรงไม่โยกเยกไปมา พร้อมทั้งเช็กว่าเวลาเหยียบพื้นบันไดแล้วพื้นไม่ยุบลง ถ้าหากพื้นบันไดยุบลงต้องให้ทางโครงการดำเนินการแก้ไขทันที และพื้นบันไดทุกขั้นต้องมีขนาดเท่ากัน


9. ตรวจสอบรอบตัวบ้าน ต้องไม่เป็นหลุมเป็นบ่อ บริเวณลานจอดรถต้องไม่พบร่องรอยการทรุดตัวของพื้น พร้อมทั้งตรวจสอบประตูรั้วโครงสร้างประตูต้องแข็งแรง ทนทาน  บานเลื่อนและล้อต้องไม่ฝืดหรือลื่นเกินไป

 

ตรวจรับบ้านด้วยตัวเอง 9 รายการ เช็กก่อนแก้ไขทัน ไม่ต้องเสียเงินเพิ่ม

 

ข่าวล่าสุด

heading-ข่าวล่าสุด

ข่าวเด่น

นางเอกดัง "เบลล่า ราณี"  สุดเศร้า สูญเสียคุณยายอันเป็นที่รัก

นางเอกดัง "เบลล่า ราณี" สุดเศร้า สูญเสียคุณยายอันเป็นที่รัก

"เบิร์ด เทคนิค" สูญเสียครั้งใหญ่ สุดเศร้าโลกนี้ช่างใจร้ายกับผม

"เบิร์ด เทคนิค" สูญเสียครั้งใหญ่ สุดเศร้าโลกนี้ช่างใจร้ายกับผม

ข่าวดี รัฐบาลขยายเวลา "คุณสู้ เราช่วย" ถึงสิ้นเดือนนี้

ข่าวดี รัฐบาลขยายเวลา "คุณสู้ เราช่วย" ถึงสิ้นเดือนนี้

โดนแล้ว "พีช สมิทธิพัฒน์" สารภาพ 3 ข้อหา เผยค่าปรับที่ต้องชดใช้

โดนแล้ว "พีช สมิทธิพัฒน์" สารภาพ 3 ข้อหา เผยค่าปรับที่ต้องชดใช้

รวบ 2 จิ๊กโก๋ รัวปืนกลางงานวัด บาดเจ็บ 3 ราย พบมีคดีติดตัวทั้งคู่

รวบ 2 จิ๊กโก๋ รัวปืนกลางงานวัด บาดเจ็บ 3 ราย พบมีคดีติดตัวทั้งคู่