ชมภาพ "เหยี่ยวนกเขาชิครา" สัตว์ป่าคุ้มครอง

24 มิถุนายน 2566

"เหยี่ยวนกเขาชิครา" สัตว์ป่าคุ้มครอง สัตว์จำพวกนก ลำดับที่ 925 เป็นภาพชุดแรกที่ได้จากกล้องดักถ่ายสัตว์ป่า

เหยี่ยวนกเขาชิครา หรือ เหยี่ยวชิครา

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Accipiter badius

อังกฤษ : shikra

เหยี่ยวนกเขาชิครา เป็นเหยี่ยวขนาดเล็กชนิดหนึ่งจำพวกเหยี่ยวนกเขา

ชมภาพ "เหยี่ยวนกเขาชิครา" สัตว์ป่าคุ้มครอง

ลักษณะ : มีปากแหลมปลายปากงุ้มลง ปีกกว้างสั้น ปลายปีกแหลม หางยาว ตัวผู้และตัวเมียมีลักษณะคล้ายกัน แต่ตัวเมียจะมีขนาดใหญ่กว่าเล็กน้อยและลำตัวออกสีน้ำตาลมากกว่า ลำตัวด้านบนมีสีเทาอมฟ้า แก้มสีเทามีสีขาวเป็นลายเล็ก ๆ สีน้ำตาลจาง ๆ อยู่ติดกัน ที่คอมีสีเส้นสีดำลากผ่านกึ่งกลางสันคอ ตามีสีแดงหรือเหลือง หางสีเทามีลายแถบสีคล้ำ 5 แถบ แข้งเป็นสีเหลือง เมื่อเวลาบินจะเห็นปีกด้านล่างเป็นสีขาว ปลายปีกเป็นสีดำและมีลายยาวสีน้ำตาลคล้ำ

ชมภาพ "เหยี่ยวนกเขาชิครา" สัตว์ป่าคุ้มครอง

ลูกนกที่ยังไม่โตเต็มที่จะมีขนสีน้ำตาลเทาเข้ม มีแถบสีขาวและน้ำตาลแดงที่ท้ายทอย คิ้วสีขาว หน้าอกมีแถบใหญ่สีน้ำตาลแดง ที่สีข้างและต้นขามีสีน้ำตาลแดงเป็นขีดสั้น ๆ

ขนาดเมื่อโตเต็มที่ประมาณ 30-36 เซนติเมตร จึงจัดเป็นเหยี่ยวขนาดเล็กที่สุดในสกุล Accipiter ชนิดหนึ่ง

ชมภาพ "เหยี่ยวนกเขาชิครา" สัตว์ป่าคุ้มครอง

พฤติกรรม : สามารถกระพือปีกได้เร็ว และร่อนอยู่กลางอากาศเพื่อหาเหยื่อ ล่าเหยื่อจำพวกสัตว์ชนิดอื่นและนกขนาดเล็ก รวมถึงแมลงขนาดใหญ่เป็นอาหาร มักอยู่ตามลำพังหรืออยู่เป็นคู่ ปกติชอบเกาะนิ่งอยู่ตามยอดไม้สูงชายป่าหรือป่าละเมาะ คอยออกบินโฉบจับเหยื่อไม่ให้รู้ตัว สร้างรังอย่างง่าย ๆ โดยการเอากิ่งไม้มาขัดกันบนคาคบ

ชมภาพ "เหยี่ยวนกเขาชิครา" สัตว์ป่าคุ้มครอง

เหยี่ยวนกเขาชิครา เป็นนกที่มีการกระจายพันธุ์ค่อนข้างกว้าง โดยพบได้ตั้งแต่ทวีปแอฟริกา, เอเชียใต้, เอเชียอาคเนย์, เอเชียตะวันออกจนถึงเกาะสุมาตรา จึงแบ่งออกเป็นชนิดย่อยด้วยกันทั้งหมด 6 ชนิดสำหรับในประเทศไทยสามารถพบได้ทุกภูมิภาคยกเว้นภาคใต้

สถานภาพทางกฎหมาย : เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า
ชมภาพ "เหยี่ยวนกเขาชิครา" สัตว์ป่าคุ้มครอง

ที่มา : หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ ที่ นพ.4 (หินช้างสี) อุทยานแห่งชาติน้ำพอง