สุขภาพ-ความงาม

heading-สุขภาพ-ความงาม

จริงหรือไม่? คอตตอนบัดแคะหูบ่อย ๆ เป็นอันตราย

10 ม.ค. 2567 | 14:14 น.
จริงหรือไม่? คอตตอนบัดแคะหูบ่อย ๆ เป็นอันตราย

โดยปกติทั่วไปเมื่อมีอาการคันหูจึงใช้คอตตอนบัด หรือไม้แคะหู เพื่อทำความสะอาดและแก้อาการคันในรูหู ซึ่งในความเป็นจริงแล้วไม่มีความจำเป็นที่จะต้องแคะหูเลย อีกทั้งการแคะหูยังมีความเสี่ยงที่จะเกิดอันตรายแก่รูหู

นพ. ภาสกร วันชัยจิรบุญ อายุรแพทย์ กล่าวว่าปกติแล้วทางการแพทย์ “ไม่แนะนำ” ให้ใส่คอตตอนบัท หรือสิ่งใด ๆ เข้าไปในรูหู เพราะว่าขี้หู หรือ earwax เป็นเรื่องธรรมชาติที่หูจะผลิตออกมา เพื่อป้องกันสิ่งแปลกปลอมเข้าไปในหู ดังนั้นวิธีการทำความสะอาดหู เพียงแค่ใช้คอตตอนบัด หรือสำลีอื่น ๆ เช็ดบริเวณรอบนอกรูหู หรือปากรูหู เพื่อทำความสะอาดในกรณีที่หูสกปรก หรือขี้หูไหลออกมานอกรูหูเท่านั้น

จริงหรือไม่? คอตตอนบัดแคะหูบ่อย ๆ เป็นอันตราย

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

heading-ข่าวที่เกี่ยวข้อง

อันตรายหลังจากการแคะหู

- หูอื้อหลังแคะหู

- แคะหูแล้วเป็นแผล   

- มีเลือด และหนองไหลออกจากรูหู

- หูอักเสบ

- แห้วหูทะลุ

- ขี้หูอุดตัน

- อุบัติเหตุ เช่น ก้านสำลีหลุดเข้าไปในรูหู

แคะหูด้วยคัตตอนบัด

การใช้คัตตอนบัด  หรือก้านสำลีมาแคะหู จะทำให้เกิดการกระตุ้นการทำงานของต่อมที่สร้างขี้หู เมื่อมีขี้หูเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ และยิ่งใช้คัตตอนบัดมาแคะหู ไม่ได้ทำให้ขี้หูออกมาจนหมดแต่อย่างใด หากแต่เป็นการดันขี้หูให้อันแน่นในรูหู ให้ลึกมากขึ้น ส่งผลให้เกิดภาวะขี้หูอุดตันได้  โดยเฉพาะเด็ก และผู้สูงอายุ

วิธีการแคะขี้หูให้ปลอดภัย

วิธีการแคะขี้หูที่มีความปลอดภัย  คือการทำโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ แพทย์จะทำการส่องกล้องภายในรูหู และใช้เครื่องมือในการนำขี้หูออก โดยไม่สัมผัสตัวเยื่อบุ หรือผนังหู หากไม่สามารถพบแพทย์ได้ สามารถทำการแคะหูเองได้ดังนี้

- ทำความสะอาด ข้างหน้า และข้างหลังใบหู

- ใช้เบบี้ออยล์ หรือ ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ (Hydrogen Peroxide) หยดลงในรูหูเพียงเล็กน้อย เพื่อให้ขี้หูมีความอ่อนตัวลง สามารถแคะออกได้ง่าย

- เอียงศีรษะไปข้างใดข้างหนึ่ง ใช้อุปกรณ์ เช่น คัตตอนบัด แหย่เข้าไปในรูหู และแคะขี้หูออกมาอย่างเบามือที่สุด

- เมื่อเสร็จแล้ว ทำความสะอาดรูหู และใบหูด้วยเบบี้ออยล์ แล้วเช็ดให้แห้ง

จริงหรือไม่? คอตตอนบัดแคะหูบ่อย ๆ เป็นอันตราย

ข้อควรระวังในการแคะหู

- ควรใช้คอตตอนบัดทำความสะอาดเพียงบริเวณใบหู และบริเวณปากรูหูเท่านั้น

- ไม่ควรใช้อุปกรณ์ในการแคะหูซ้ำโดยเด็ดขาด ควรใช้ครั้งเดียว และทิ้งเลย

- ผู้ที่มีอาการแพ้เบบี้ออยส์ และแพ้ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ ควรหลีกเลี่ยงของเหลวเหล่านี้ในการแคะหู

- หลีกเลี่ยงการใช้ของเหลวต่างๆ มาใช้ในการแคะหู โดยเฉพาะแอลกอฮอล์ และน้ำเปล่า เพราะจะทำให้หูแห้งจนเกินไป อีกทั้งหากไหลเข้าลงสู่หูชั้นใน อาจเกิดการอักเสบ ระคายเคือง จนเกิดโรคหูน้ำหนวกได้

- หากมีอาการผิดปกติ เช่น น้ำเข้าหูแล้วมีอาการหูอื้อ หรือรู้สึกว่าน้ำยังไม่ออกจากหู ไม่ควรนำอุปกรณ์ใดๆสอดเข้าไปในรูหูโดยเด็ดขาด ควรไปพบแพทย์

 

ข่าวล่าสุด

heading-ข่าวล่าสุด

ข่าวเด่น

เงินดิจิทัล 10,000 บาท เฟส 4 กลุ่มอายุ 21-59 ปี โอนเงินช่วงไหน

เงินดิจิทัล 10,000 บาท เฟส 4 กลุ่มอายุ 21-59 ปี โอนเงินช่วงไหน

"เมืองไทยประกันภัย" จ่ายค่าสินไหมทดแทน กรณีอุบัติเหตุรถไฟชนกระบะ จ.ตรัง

"เมืองไทยประกันภัย" จ่ายค่าสินไหมทดแทน กรณีอุบัติเหตุรถไฟชนกระบะ จ.ตรัง

"กชเบล" MGT 2025 เล่าชีวิตวัยเด็ก โตมากับความรุนแรงในครอบครัว

"กชเบล" MGT 2025 เล่าชีวิตวัยเด็ก โตมากับความรุนแรงในครอบครัว

เปิดสาเหตุ "บังมัด" ตบหน้า "สันธนะ" กลางร้านดังทองหล่อ

เปิดสาเหตุ "บังมัด" ตบหน้า "สันธนะ" กลางร้านดังทองหล่อ

สาวคันรอบดวงตา เจอก้อนเนื้อขยับได้ หาหมอถึงกับตกใจรู้เป็นอะไร

สาวคันรอบดวงตา เจอก้อนเนื้อขยับได้ หาหมอถึงกับตกใจรู้เป็นอะไร