ความจริงกระจ่าง "สาหร่ายทอดกรอบ" เป็นพิษต่อไต ยืนยันแล้วไม่จริง
สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุขตรวจสอบพร้อมยืนยันแล้วกรณีข่าวว่อน "สาหร่ายทอดกรอบเป็นพิษต่อไต" ยืนยัน ไม่จริง
ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมเผยผลการตรวจสอบหลังว่อนข้อมูลเตือน สาหร่ายทอดกรอบเป็นพิษต่อไต ตรวจสอบโดยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข ยืนยันว่าเป็นข่าวปลอม อย่าแชร์ สาหร่ายทอดกรอบเป็นพิษต่อไต ไม่เป็นความจริง
ตามที่มีการเผยแพร่ข่าวสารเรื่องสาหร่ายทอดกรอบเป็นพิษต่อไต ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับทางสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข พบว่าข้อมูลดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ
จากกรณีที่มีข้อมูลเปิดเผยว่า สาหร่ายทอดกรอบเป็นพิษต่อไต ทางสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข ได้ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่า ไม่เป็นความจริง สาหร่ายกรอบไม่มีพิษต่อไต เพราะมีปริมาณโซเดียมเฉลี่ย 100 มิลลิกรัมต่อหนึ่งหน่วยบริโภค ซึ่งยังอยู่ในปริมาณที่ร่างกายสามารถรับได้เฉลี่ยวันละ 2,000 มิลลิกรัมต่อวัน โดยร่างกายจะสามารถขับโซเดียมผ่านทางปัสสาวะ ดังนั้นการรับประทานติดต่อกัน 6-8 เดือนย่อมไม่ส่งผลต่อร่างกาย แต่ไม่แนะนำให้บริโภคมากจนเกินไปและเป็นประจำ เพราะอาจได้รับปริมาณสารอาหารไม่เหมาะสม และไม่ครบถ้วนตามหลักโภชนาการ
ทั้งนี้ สาหร่ายเป็นพืชชนิดหนึ่งที่พบทั้งในน้ำจืด น้ำกร่อย น้ำเค็ม น้ำพุร้อน แต่ที่นิยมนำมาเป็นอาหาร ได้แก่ สาหร่ายทะเล และสาหร่ายน้ำจืด โดยนำมาใช้เป็นส่วนประกอบของอาหาร เช่น แกงจืด หรือซุป ใช้เป็นเครื่องปรุงรส และนำมาอบ หรือทอดกรอบ ปรุงรส หรือบริโภคเป็นอาหารว่าง สาหร่ายเป็นแหล่งที่ดีของโปรตีน ใยอาหาร และไอโอดีน ในขณะที่มีปริมาณไขมัน แป้ง และน้ำตาลน้อย
ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพ สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ www.fda.moph.go.th หรือหากพบผลิตภัณฑ์ที่ต้องสงสัย สามารถแจ้งร้องเรียนได้ที่สายด่วน 1556
บทสรุปของเรื่องนี้คือ : สาหร่ายกรอบไม่มีพิษต่อไต เพราะมีปริมาณโซเดียมเฉลี่ย 100 มิลลิกรัมต่อหนึ่งหน่วยบริโภค ซึ่งยังอยู่ในปริมาณที่ร่างกายสามารถรับได้เฉลี่ยวันละ 2,000 มิลลิกรัมต่อวัน โดยร่างกายจะสามารถขับโซเดียมผ่านทางปัสสาวะ ดังนั้นการรับประทานติดต่อกัน 6-8 เดือนย่อมไม่ส่งผลต่อร่างกาย
หน่วยงานที่ตรวจสอบ : สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข