สุดยอดปาล์มน้ำมันลูกผสม สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน

เกษตรยั่งยืนวันนี้ จะพาไปรู้จักกับ ปาล์มน้ำมันลูกผสมสุราษฎร์ธานี 8 ให้ผลผลิตทะลายสดและน้ำมันดิบต่อทะลายสูง กว่าเกณฑ์มาตรฐาน
เกษตรยั่งยืนวันนี้ ทีมงานไทยนิวส์จะพาไปรู้จักกับ ปาล์มน้ำมันลูกผสมสุราษฎร์ธานี 8 ให้ผลผลิตทะลายสดและน้ำมันดิบต่อทะลายสูง กว่าเกณฑ์มาตรฐาน ซึ่งต้องบอกเลยว่า เป็นอีกหนึ่งพืชที่มีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจไทยเป็นอย่างมาก
ปาล์มน้ำมันลูกผสมสุราษฎร์ธานี 8 หรือปาล์มน้ำมันคู่ผสมหมายเลข 17 ได้จากการผสมข้ามระหว่างแม่พันธุ์ 67/521D กลุ่ม Deli Dura กับพ่อพันธุ์ 112/427T กลุ่ม Yangambi โดยแม่พันธุ์ 67/521D ได้จากการคัดเลือกต้นจากสายพันธุ์ C 2120:184D Self และพ่อพันธุ์ 112/427T ได้จากคัดเลือกต้นจากสายพันธุ์ C9023:73T Self เมื่อปี 2544 ได้ปลูกทดสอบคู่ผสมหมายเลข 17 ที่ศูนย์วิจัยปาล์มน้ำมันสุราษฎร์ธานี ระหว่างปี 2547-2554 ร่วมกับคู่ผสมอื่นๆ อีกจำนวน 7 คู่ผสม โดยมีลูกผสมสุราษฎร์ธานี 1, 2 และ 3 เป็นพันธุ์เปรียบเทียบ (standard cross)
โดยมีขั้นตอนการปรับปรุงพันธุ์ คือ 1. การพัฒนาสายพันธุ์พ่อแม่ปาล์มน้ำมัน ได้ดำเนินการศึกษาในแปลงรวบรวมเชื้อพันธุกรรม ระหว่างปี 2533-2544 และปี 2544 ทำการคัดเลือกพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์ที่มีลักษณะดีเด่น ได้สายพันธุ์แม่หมายเลข 67 (C2120:184D) และคัดเลือกต้นแม่พันธุ์ที่ดีเด่นได้ต้นหมายเลข 521 และสายพันธุ์พ่อหมายเลข 112 (C9023:73T) คัดเลือกต้นพ่อพันธุ์ที่ดีเด่นได้ต้นหมายเลข 427 การคัดเลือกต้น (Individual selection) คัดเลือกตามเกณฑ์มาตรฐาน ทำการผสมข้ามต้นแม่พันธุ์หมายเลข 67/521D ต้นพ่อพันธุ์หมายเลข 112/427T
เพื่อสร้างคู่ผสมหมายเลข 17 และนำมาปลูกทดสอบ (progeny test) ร่วมกับคู่ผสมอื่นๆ ในช่วงปีเดียวกัน ได้ทำการผสมตัวเอง พ่อพันธุ์ 112/427T แม่พันธุ์ 67/521D เพื่อเป็นการเพิ่มจำนวนต้นพันธุ์ และคัดเลือกให้คงลักษณะทางพันธุกรรมเดิมของแต่ละสายพันธุ์ไว้ 2. นำคู่ผสมหมายเลข 17 และคู่ผสมอื่น รวม 10 คู่ผสม ทำการทดสอบคู่ผสมปาล์มน้ำมัน ในแปลงทดสอบ BRD 044 ดำเนินการระหว่างปี 2547-2554
ปลูกเมื่อเดือนกันยายน 2547 ต้นกล้าอายุ 12 เดือน วางแผนการทดลองแบบ RCB 4 ซ้ำ จำนวน 10 กรรมวิธี โดยมีพันธุ์ลูกผสมสุราษฎร์ธานี 1, 2 และ 3 เป็นพันธุ์เปรียบเทียบ 3. ผลการทดสอบคู่ผสม พบว่า คู่ผสมหมายเลข 17 ที่มีลักษณะดีเด่นตามมาตรฐานการคัดเลือกพันธุ์ลูกผสมเทเนอราของกรมวิชาการเกษตร และผลการทดสอบนี้จะเป็นข้อมูลบ่งชี้ความสามารถของพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์ (based on progeny test performance) จากนั้น ทำการคัดเลือกต้นพ่อพันธุ์แม่พันธุ์เป็นรายต้น ตามหลักเกณฑ์การคัดเลือกต้นพันธุ์เพื่อผลิตเมล็ดพันธุ์ลูกผสมเทเนอรา (DxP) หมายเลข 17 ต่อไป
ลักษณะประจำพันธุ์
ทางใบสีเขียว มีความยาวปานกลาง มีก้านทะลายและหนามช่อทะลายย่อยสั้น ลักษณะผลรูปทรงผลกลมปลายแหลม ขนาดผลใหญ่ มีเปลือกผลหนา กะลาบาง เนื้อในหนา ผลดิบสีดำและผลสุกสีแดง ลักษณะทรงต้นสูงปานกลาง จำนวนทะลายต่อต้น เฉลี่ย 15.9 ทะลายต่อต้น น้ำหนักทะลายสด เฉลี่ย 9.0 กก.ต่อทะลาย น้ำหนักผล เฉลี่ย 73.1 เปอร์เซ็นต์ น้ำหนักผล เฉลี่ย 13.7 กรัมต่อผล เปลือกนอกสดต่อผล เฉลี่ย 82.4 เปอร์เซ็นต์ กะลาต่อผล เฉลี่ย 8.9 เปอร์เซ็นต์ เนื้อในต่อผล เฉลี่ย 8.7 เปอร์เซ็นต์ ความยาวทางใบ เฉลี่ย 390.1 ซม. พื้นที่ใบ ที่ 1 เฉลี่ย 4.5 ตรม.
ลักษณะเด่น
1. ผลผลิตทะลายสดสูง ผลผลิตทะลายสดเฉลี่ย 3,543 กก.ต่อไร่ต่อปี สูงกว่าพันธุ์สุราษฎร์ธานี 1 16.0 เปอร์เซ็นต์
2. น้ำมันดิบต่อทะลายสูง มีน้ำมันดิบทะลายเฉลี่ย 24.8 เปอร์เซ็นต์ สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 12.7 เปอร์เซ็นต์
3. ผลผลิตน้ำมันดิบสูง มีผลผลิตน้ำมันดิบ 878.7 กก.ต่อไร่ต่อปี สูงกว่าพันธุ์สุราษฎร์ธานี 1 12.3 เปอร์เซ็นต์
ไม่สามารถนำเมล็ดที่ได้ไปขยายพันธุ์ต่อได้ เนื่องจากเป็นลูกผสมชั่วที่ 1 (F1)
สนับสนุนโดย : ปุ๋ยมงกุฎ

ระทึก แผ่นดินไหว 7.4 เขย่าอาร์เจนตินา เตือนสึนามิเร่งอพยพ

รักเริ่มจากวงไพ่ ภรรยาผกก. เล่าจุดเริ่มต้นความรัก แปลกไม่มีใครเหมือน

มหกรรมธงฟ้าขับเคลื่อนเศรษฐกิจภูมิภาค จ.ราชบุรี ภายใต้โครงการ เปิดเทอม เติมพลัง

รวบแล้ว มือปาหินจากสะพานลอยใส่รถสาว กลางถนนบางนา-ตราด
