ไทยวิถี เกษตรยั่งยืน

heading-ไทยวิถี เกษตรยั่งยืน

กรมวิชาการเกษตร เผยเทคโนโลยีเพิ่มประสิทธิภาพผลิตอะโวคาโด 

03 พ.ย. 2565 | 12:51 น.
กรมวิชาการเกษตร เผยเทคโนโลยีเพิ่มประสิทธิภาพผลิตอะโวคาโด 

กรมวิชาการเกษตร ส่งเทคโนโลยีเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตอะโวคาโดสู่เกษตรกร  แนะคัดเลือกพันธุ์ดี โดยวิธีขยายพันธุ์แบบเสียบยอด   พร้อมกับเก็บเกี่ยวผลแก่ให้สังเกตุใบเลี้ยงที่ขั้วผล  การันตีผลผลิตเพิ่มสูงขึ้นถึง 50 เปอร์เซ็นต์  พร้อมผลักดันเป็นพืชอัตลักษณ์ จ. ตาก 

นายระพีภัทร์  จันทรศรีวงศ์  อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า  อะโวคาโด เป็นผลไม้ที่เริ่มปลูกในปี 2505 ในเขตภาคเหนือตอนล่าง  โดยศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรตาก และสถานีทดลองพืชสวนพบพระ กรมวิชาการเกษตร  ต่อมามีการกระจายพันธุ์ ส่งเสริม สนับสนุนการปลูกอะโวคาโดเป็นพืชเศรษฐกิจเด่นของจังหวัดตาก  โดยมีเป้าหมายการสร้างจังหวัดตาก เป็น “City of Avocado” และผลักดันให้เป็นพืชอัตลักษณ์ของจังหวัด

กรมวิชาการเกษตร เผยเทคโนโลยีเพิ่มประสิทธิภาพผลิตอะโวคาโด 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

heading-ข่าวที่เกี่ยวข้อง

อย่างไรก็ตาม การผลิตอะโวคาโดของเกษตรกรยังประสบปัญหาด้านการคัดเลือกพันธุ์ดี ผลผลิตด้อยคุณภาพจากต้นที่ปลูกจากเมล็ด ขาดองค์ความรู้ในการขยายพันธุ์ การจัดการพันธุ์ดี เกิดการระบาดของโรคและแมลงศัตรูพืช ขาดความรู้ความเข้าใจในการจัดการผลิต การปฏิบัติดูแลรักษา การเก็บเกี่ยว มีการจัดการสวนไม่ถูกวิธี ทำให้ผู้บริโภคขาดความเชื่อมั่นส่งผลถึงการจำหน่ายที่กำหนดราคาไม่ได้ กรมวิชาการเกษตรจึงแนะนำเทคโนโลยีการเพิ่มประสิทธิภาพการปลูกอะโวคาโดให้แก่เกษตรกร ดังนี้

กรมวิชาการเกษตร เผยเทคโนโลยีเพิ่มประสิทธิภาพผลิตอะโวคาโด 

คัดเลือกพันธุ์ดี โดยวิธีการขยายพันธุ์แบบเสียบยอด คัดเลือกสายต้นที่เหมาะสำหรับเป็นต้นตอพันธุ์ดี จากสายต้นอะโวคาโดที่มีลักษณะดี  โดยใช้เกณฑ์การคัดเลือก รสชาติมัน ปริมาณเนื้อมากกว่า 65% เปลือกหนามากกว่า 0.02 เซนติเมตร เป็นที่ต้องการของตลาด  และขยายพันธุ์อะโวคาโดพันธุ์ดีที่คัดเลือกได้ หรือเปลี่ยนเป็นพันธุ์การค้า พันธุ์ต่างประเทศที่ตลาดต้องการ ด้วยการเสียบยอดพันธุ์ดีกับต้นตอที่ปลูกจากเมล็ด

 

          สำรวจการระบาด และป้องกันกำจัดเพลี้ยไฟในอะโวคาโด ใช้สารสไปนีโทแรม อัตรา 20 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นสลับกับ สารอิมิดาโคลพลิด อัตรา 8 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร และ ปิโตรเลียมออล์   ตัดแต่งกิ่งอะโวคาโดแบบเปิดกลางซึ่งเป็นวิธีการตัดแต่งกิ่งที่ทำให้ทรงพุ่มโปร่ง ตัดกิ่งไม่สมบูรณ์ กิ่งแคบ กิ่งเป็นโรค ทำให้ได้รับแสงเต็มที่ กิ่งมีการเจริญเติบโตดี ได้ผลผลิตสูง  ควบคุมโรครากเน่าและโคนเน่าโดยใช้ชีวภัณฑ์ที่ผลิตได้จากเชื้อบาซิลลัส ซับทิลิส และเชื้อไตรโคเดอร์มา เชื้อบาซิลลัส ซับทิลิส 5102 สามารถรักษาโรครากเน่าโคนเน่าของอะโวคาโดซึ่งเป็นโรคชนิดเดียวกันที่เกิดกับทุเรียน วิธีการรักษาโดยลอกเปลือกบริเวณที่เป็นโรคและทาด้วยผลิตภัณฑ์ผงเชื้อบาซิลลัส ซับทิลิส 5102 จำนวน 4 ครั้ง รวมทั้งใช้เข็มฉีดเชื้อบาซิลลัส ซับทิลิส 5102 จำนวน 1 ครั้ง และใช้เชื้อไตรโคเดอร์มาราดรอบโคนต้น

 

การป้องกันกำจัดด้วงหนวดยาวเจาะลำต้น ให้ใช้วิธีผสมผสาน สำรวจการเข้าทำลาย การวางไข่ สังเกตจากขุยไม้ซึ่งเป็นมูลของหนอนที่ขับถ่ายออกมาระหว่างกัดกินในเปลือกไม้ ถ้าพบการระบาด ทำการกำจัดตัวเต็มวัย โดยใช้ไฟส่องจับตอนกลางคืน ใช้ตาข่ายดัก จับตัวเต็มวัยตอนกลางวัน พ่นสารฆ่าแมลง ฉีดพ่นเข้าในรูหนอน  และป้องกันกำจัดแมลงวันผลไม้ ตัวหนอนเจาะกัดกินผล โดยดูแลรักษาแปลงปลูกให้สะอาด ตัดวงจรชีวิตและกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ ตัดแต่งกิ่งให้โปร่ง แขวนกับดักเมธิลยูจินอลผสมมาลาไธออน 83% อีซี อัตรา 4:1 ใต้ทรงพุ่ม ใช้เหยื่อพิษ และห่อผล

 

เก็บเกี่ยวผลผลิตที่ถูกวิธี  โดยเก็บเกี่ยวผลแก่ให้สังเกตุใบเลี้ยงที่ขั้วผล เปลี่ยนสีจากเขียวเป็นเขียว-เหลือง หรือเหลืองแก่ เส้นใบเข้ม มีลวดลายเด่นชัด ขั้วผลเปลี่ยนสีเขียว-เหลือง หรือเหลืองเข้ม เมื่อเปิดขั้วผลจะมีสีเหลืองอ่อนที่รอยต่อของขั้วผลกับผล ผิวผลจะนูนขรุขระเด่นชัด บางพันธุ์สีเขียวเข้มเป็นมัน บางพันธุ์เปลี่ยนเป็นสีม่วงดำ สีแดงหรือเหลืองมีจุดประสีน้ำตาลตามผิวผล  เมื่อสุกผลจะนิ่มหรือเปลี่ยนสี บ่มส่วนมากไม่เกิน 2-5 วัน  เมื่อผ่าผล เยื้อหุ้มเมล็ดด้านในเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลและเมล็ดจะสีน้ำตาลเข้ม บางพันธุ์เมื่อเขย่าผลจะมีเสียงคลอนของเมล็ด นับอายุผล ซึ่งผลจากต้นเดียวกันจะสุกแก่ไม่พร้อมกัน ขึ้นอยู่กับช่วงการผสมดอกและติดลูก การเก็บผลทั้งต้นจึงต้องทยอยเก็บเฉพาะผลแก่  พร้อมกับศึกษาช่วงอายุเก็บเกี่ยวของอะโวคาโดพันธุ์การค้าในแหล่งปลูกต่างๆทั้งพื้นที่ราบและพื้นที่สูง  รวมถึงการจัดการพันธุ์ปลูกให้ผลผลิตออกตรงตามความต้องการของตลาด

 

          “การใช้เทคโนโลยีของกรมวิชาการเกษตร ทำให้เกษตรกรมีผลผลิตอะโวกาโด สูงถึง 5,000 กิโลกรัมต่อไร่ (25 ต้น/ไร่)  ซึ่งสูงกว่ากรรมวิธีเดิมของเกษตรกรที่ให้ผลผลิตเพียง 2,500 กิโลกรัมต่อไร่  รวมทั้งการทำลายของโรครากเน่าโคนเน่า  เพลี้ยไฟ  และหนอนเจาะลำต้นลดลงมากกว่า 50%  นอกจากนี้ผลผลิตยังมีคุณภาพเพิ่มขึ้นมากกว่ากรรมวิธีเกษตรกร 50%  ทำให้สามารถจำหน่ายผลผลิตได้ราคา 50-120 บาท/กก. ในขณะที่กรรมวิธีของเกษตรกรจำหน่ายได้ราคา 15-20 บาท/กก. เนื่องจากต้นที่ปลูกจากเมล็ดผลผลิตจะด้อยคุณภาพ  ทำให้จำหน่ายผลผลิตได้เพียงบางต้น  ซึ่งองค์ความรู้ของกรมวิชาการเกษตรนอกจากกจะทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นตอบโจทย์ “City of Avocado”  ของจังหวัดตากยังสามารถผลักดันให้อะโวคาโดเป็นพืชอัตลักษณ์ของจังหวัดได้ในที่สุด”  อธิบดีกรมวิชาการเกษตร  กล่าว

กรมวิชาการเกษตร เผยเทคโนโลยีเพิ่มประสิทธิภาพผลิตอะโวคาโด 

ข่าวเด่น

เอส แอนด์ พี ต้อนรับเทศกาลแห่งความสุขจัดงาน “S&P SWEET HAPPINESS 2025”

เอส แอนด์ พี ต้อนรับเทศกาลแห่งความสุขจัดงาน “S&P SWEET HAPPINESS 2025”

"เบ๊น อาปาเช่" ซัดชาวเน็ตแซะ "มิกซ์" ลูกชายหม่ำ ดังเพราะบารมีพ่อ

"เบ๊น อาปาเช่" ซัดชาวเน็ตแซะ "มิกซ์" ลูกชายหม่ำ ดังเพราะบารมีพ่อ

"ทนายธรรมราช" เผยคำใบ้ "ทนายคนใหม่" ของทนายตั้ม

"ทนายธรรมราช" เผยคำใบ้ "ทนายคนใหม่" ของทนายตั้ม

ศาลไม่ให้ประกันตัว ภรรยา และ ลูกสาวหมอบุญ นำตัวกลับเข้าเรือนจำตามเดิม

ศาลไม่ให้ประกันตัว ภรรยา และ ลูกสาวหมอบุญ นำตัวกลับเข้าเรือนจำตามเดิม

แม่น้ำหนึ่งให้เลขเด็ดมาแรง งวดนี้ 1/12/67 คอหวยห้ามพลาด

แม่น้ำหนึ่งให้เลขเด็ดมาแรง งวดนี้ 1/12/67 คอหวยห้ามพลาด

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

heading-ข่าวที่เกี่ยวข้อง