รวมเทคนิคการปลูกและดูแลมังคุด ให้ผลผลิตมีคุณภาพตรงตามที่ท้องตลาดต้องการ
รวมเทคนิคการปลูกและการดูแลมังคุด การให้น้ำ-การใส่ปุ๋ยให้กับต้นมังคุด เพื่อให้ได้ผลผลิตที่น่าทานตรงตามที่ท้องตลาดต้องการ
หากจะพูดผลไม่ที่นิยมรับประทาน หนึ่งในนั้นคงหนีไม่พ้นมังคุด ด้วยรสชาติที่มีความเปรี้ยว อมหวาน จึงทำให้หลายคนที่ได้ลิ้มลองต่างติดใจ ด้วยรสชาติ และราคาที่ไม่สูงมังคุดจึงขึ้นแท่นเป็นราชินีผลไม้ของไทยได้ง่ายๆ นอกจากราคาที่ถูก และรสชาติที่แสนอร่อย มังคุดยังมีประโยชน์ และคุณสมบัติที่ดีต่อร่างกายมากมายเช่น ช่วยลดกลิ่นปาก และสมานแผลในปาก, ต่อต้านอนุมูลอิสระ, ยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียในลำไส้ โดยบทความนี้เราจะมาแบ่งปันเทคนิควิธีการปลูก และดูแลมังคุดให้ได้ผลผลิตที่ดี และต้นมังคุดแข็งแรง
การเลือกสายพันธุ์มังคุด
การเลือกสายพันธุ์ต้องเลือกพันธุ์ที่ได้จากการเพราะเมล็ด เพราะจะทำให้ได้ต้นที่สมบูรณ์ แข็งแรง และต้องเลือกต้นกล้าที่มีอายุไม่น้อยกว่า 2 ปี หรือมีขนาดต้นที่สูงกว่า 30 เซนติเมตร และมีระบบรากที่แข็งแรง ไม่ขด ไม่งอ
การเลือกพื้นที่ปลูก
การเลือกพื้นที่ที่จะใช้ปลูกควรสูงจากน้ำทะเลในระดับ 0 - 650 เมตร โดยมีความลาดเอียง 1 – 3 % แต่ไม่ควรเกิน 15% โดยดินที่ควรใช้ปลูกควรเป็นดินร่วนปนทรายระดับน้ำใต้ดินลึกมากกว่า 1 เมตร มีค่าความเป็นกรดของดินอยู่ที่ระหว่าง 5.5 – 6.5 ควรอยู่ในพื้นที่ใกล้แหล่งน้ำ โดยไม่มีน้ำท่วมขัง และใช้ระยะปลูกและวิธีปลูกที่เหมาะสม สะดวกต่อการจัดการแปลงและการดูแลรักษา จะทำให้ผลผลิตสูงและมีคุณภาพ
การใส่ปุ๋ย
การใส่ปุ๋ยให้กับต้นมังคุดตามความเหมาะสม เพื่อให้ต้นมังคุดสมบูรณ์ ติดดอกง่าย ได้ผลผลิตดี ได้ราคาสูงตรงตามความต้องการของตลาด ทั้งนี้เคล็ดลับขั้นตอนการใส่ปุ๋ยให้กับต้นมังคุดตามความเหมาะสม เพื่อให้ต้นมังคุดสมบูรณ์ ติดดอกง่าย ได้ผลผลิตดี โดยจะใส่ตามระยะการพัฒนาของต้นมังคุด
โดยแบ่งออกเป็น 3 ระยะดังนี้
- ช่วงบำรุงต้นหลังเก็บเกี่ยว/แตกใบอ่อน
- ช่วงสร้างตาดอก เร่งดอก
- ช่วงบำรุงผล เร่งเนื้อ เพิ่มรสชาติ
การให้น้ำมังคุด
มังคุดเป็นพืชที่มีการต้องการน้ำอย่างสม่ำเสมอ ดังนั้นการให้น้ำที่เหมาะสมจะช่วยทำให้มังคุดสามารถเจริญเติบโตได้ดี โดยการให้น้ำที่เหมาะสมจะช่วยให้ผลผลิตและคุณภาพของมังคุด หวาน และมีคุณภาพดี
ระยะติดผล อายุผลประมาณ 5 สัปดาห์ ให้น้ำทุก 3 วัน อัตรา 80% ของการให้น้ำปกติ
ระยะอายุผล 5 สัปดาห์ถึงก่อน 10 สัปดาห์ ให้น้ำอัตรา 90% ของการให้น้ำปกติ
ระยะอายุผลประมาณ 10-12 สัปดาห์ถึงเก็บเกี่ยว ให้น้ำอัตรา 80% ของการให้น้ำปกติ
เทคนิคการดูแลมังคุด
การเตรียมสภาพต้นมังคุดให้พร้อม คือ การจัดการให้ต้นมังคุดแตกใบอ่อนในเวลาที่เหมาะสม และพัฒนาไปเป็นใบแก่ได้พอดีกับช่วงที่มีสภาพแวดล้อมเหมาะสมปกติ ต้นมังคุดที่ตัดแต่งกิ่งและใส่ปุ๋ยตามคำแนะนำจะแตกใบอ่อนตามเวลาที่เหมาะสม แต่ต้นที่ไว้ผลมากและขาดการบำรุงที่ดีในฤดูที่ผ่านมา แม้จะจัดการต่างๆ แล้วแต่ก็มักจะไม่ค่อยแตกใบอ่อนหรือแตกใบอ่อนช้า
จึงควรกระตุ้นการแตกใบอ่อนโดยฉีดพ่นปุ๋ยยูเรีย อัตรา 100 ถึง 200 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร แต่หากพ่นปุ๋ยยูเรียไปแล้ว มังคุดยังไม่ยอมแตกใบอ่อนก็ให้ใช้ไทโอยูเรีย จำนวน 20 ถึง 40 กรัม ผสมน้ำตาลเด็กซ์โตรส จำนวน 600 กรัม ในน้ำ 20 ลิตร
การจัดการเพื่อเพิ่มปริมาณผลผลิตที่มีคุณภาพ (มังคุดคุณภาพ หมายถึง ผลมังคุดที่มีผิวลายไม่เกิน 5 เปอร์เซ็นต์ของผิวผลและมีน้ำหนักไม่น้อยกว่า 80 กรัมปราศจากอาการเนื้อแก้วยางไหลภายในผล และจะต้องเป็นผลที่เก็บเกี่ยวถูกวิธี) ส่วนการควบคุมปริมาณดอก มังคุดทุกดอกจะเจริญเติบโตเป็นผลได้โดยไม่ต้องผสมเกสรหากปล่อยให้ออกดอกมากเกินไป ผลที่ได้มีขนาดเล็กราคาไม่ดี และยังมีผลต่อความสมบูรณ์ของต้นในปีถัดไป นอกจากจะจัดการน้ำตามที่กล่าวแล้ว
ในกรณีที่พบว่ามังคุดออกดอกมากเกินไป ให้หว่านปุ๋ยทางดิน สูตร 16-16-16 หรือ 15-15-15 ในปริมาณ 2 เท่าของปกติควบคู่กับการให้น้ำจะทำให้ผลที่มีอายุ 2 ถึง 3 สัปดาห์ร่วงได้บางส่วน และจะต้องทำการตรวจสอบและป้องกันกำจัดศัตรูเพลี้ยไฟ ไรแดง ไรขาวอย่างใกล้ชิดในช่วงดอกใกล้บาน และติดผลขนาดเล็ก
การเก็บเกี่ยว
เก็บเกี่ยวผลมังคุดที่แก่พอเหมาะ เมื่อผลเริ่มเป็นระยะสายเลือด คือ ผลที่มีสีเหลืองอ่อนปนสีเขียว มีจุดประสีชมพูกระจายอยู่ทั่วผล แนะนำให้เก็บเกี่ยว ด้วยตะกร้อผ้าเพื่อป้องกันผลตกลงมากระแทกกับพื้นและรอยขีดข่วนที่ผิว
ทั้งนี้หลังจากการเก็บเกี่ยวแล้ว ควรล้างน้ำให้สะอาด เพื่อชำระคราบฝุ่นปละสิ่งสกปรกที่ติดมากับผลมังคุด หลังจากที่ล้างแล้วให้นำมังคุดไปผึ่งให้แล้ว นำผ้าสะอาดมาเช็ดให้สะอาดมาเช็ดให้แห้ง สำหรับเกษตกรที่ส่งออกมังคุดไปยังต่างประเทศควรแช่ผลมังคุดในสารละลายของเบนโนมีล (เบนเลท) ในอัตรา1 กรัมต่อน้ำ 1 ลิตร หรือ ไธอาเบนดาโซล (พรอนโต 40) อัตรา 1.25 กรัมต่อน้ำ 1 ลิตร นานประมาณ 1 - 2 นาทีแล้วผึ่งให้แห้งจะช่วยลดการเน่าเสียของผลมังคุดที่อาจจะเกิดจากเชื้อราเข้าทำลาย
สนับสนุนโดย : ปุ๋ยทิพย์