แนวทางการป้องกันและกำจัดศัตรูอ้อย ในสภาพแห้งแล้ง
กรมวิชาการเกษตร แนะนำแนวทางการป้องกันกำจัดศัตรูอ้อยในภาวะแล้ง ซึ่งมีหลายชนิด โดยเฉพาะระยะอ้อยแตกกอ ที่ส่งผลกระทบต่อการผลิตพืช
ต้องบอกเลยว่าสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยนั้นมีการเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างมาก ทั้งฝนไม่ตกตามฤดูกาล หรือการกระจายตัวของน้ำฝนผิดปกติไป อาจส่งผลกระทบต่อการผลิตพืช ทั้งในด้านการเจริญเติบโตและการให้ผลผลิต รวมถึงมีการระบาดของศัตรูพืชที่รุนแรง ทำให้เกษตรกรนั้นมีความเสี่ยงมากยิ่งขึ้น ศัตรูอ้อยที่เป็นปัญหาในสภาพแห้งแล้ง มีหลายชนิด โดยเฉพาะระยะอ้อยแตกกอ เช่น หนอนกอ และโรคแส้ดำ กรมวิชาการเกษตร แนะนำแนวทางในการป้องกันกำจัด ดังนี้
นอนกออ้อย
หนอนกออ้อย ทำลายอ้อยทุกระยะการเจริญเติบโต โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระยะอ้อยแตกกอทั้งอ้อยปลูกใหม่และอ้อยตอ ระบาดรุนแรงในสภาพที่อุณหภูมิสูง ความชื้นต่ำ ภาวะแห้งแล้งที่เกิดจากฝนทิ้งช่วง ที่สำคัญที่พบเข้าทำลายอ้อย มี 3 ชนิด คือ หนอนกอลายจุดเล็ก หนอนกอสีขาว และหนอนกอสีชมพู
- หนอนกอลายจุดเล็ก หนอนเจาะเข้าไปตรงส่วนโคนระดับผิว ดิน เข้าไปกัดกินส่วนที่กำลังเจริญเติบโต ภายในหน่ออ้อย ทำให้ยอดแห้งตาย การเข้าทำลายของหนอนกอลายจุดเล็กจะทำให้ผลผลิตอ้อยลดลง 5-40 เปอร์เซ็นต์ นอกจากนี้หนอนยังเข้าทำลายอ้อยใน ระยะอ้อยย่างปล้อง โดยหนอนเจาะเข้าไปกัดกินอยู่ภายในลำต้นอ้อย ซึ่งทำให้อ้อยแตกแขนงใหม่ และแตกยอดพุ่ม
- หนอนกอสีขาว หนอนเจาะไชจากส่วนยอดเข้าไปกัดกินส่วนโคนยอดที่กำลังเจริญเติบโต ทำให้ยอด แห้งตายโดยเฉพาะใบที่ยังม้วนอยู่ ส่วนใบยอดอื่นๆ ที่หนอนเข้าทำลายจะมีลักษณะหงิก งอ และมีรูพรุน เมื่ออ้อยมีลำแล้วหนอนจะเข้าทำลายส่วนที่กำลังเจริญเติบโต ทำให้ไม่ สามารถสร้างปล้องอ้อยให้สูงขึ้นไปได้อีก ตาอ้อยที่อยู่ต่ำกว่าส่วนที่ถูกทำลายจะ แตกหน่อขึ้นมาทางด้านข้าง เกิดอาการ แตกยอดพุ่ม
- หนอนกอสีชมพู หนอนเจาะเข้าไปตรงส่วนโคนของหน่ออ้อย ระดับผิวดิน เข้าไปทำลายส่วนที่กำลัง เจริญเติบโตภายในหน่ออ้อย ทำให้ยอด แห้งตาย ถึงแม้หน่ออ้อยที่ถูกทำลายจะสามารถแตกหน่อใหม่เพื่อชดเชยหน่ออ้อยที่เสียไป แต่หน่ออ้อยที่แตกใหม่เพื่อชดเชยในระยะหลังจะมีอายุสั้นลง ทำให้ผลผลิตและคุณภาพของอ้อยลดลง
นวทางการแก้ไขการระบาดของหนอนกออ้อย
- ในแหล่งชลประทาน ควรให้น้ำเพื่อให้อ้อยแตกหน่อชดเชย
- ปล่อยแตนเบียนไข่ไตรโคแกรมมา อัตรา 30,000 ตัว/ไร่/ครั้ง ปล่อยติดต่อกัน 2-3 ครั้ง ในช่วงที่พบกลุ่มไข่ของหนอนกอ
- เมื่ออ้อยอายุ 1 เดือน หรือเมื่ออ้อยแสดงอาการยอดเหี่ยว 10% ควรพ่นสารฆ่าแมลง เดลทาเมทริน 3% อีซี อัตรา 10 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร พ่น 2-3 ครั้ง ห่างกัน 14 วัน
- เมื่อพบการระบาดของหนอนกออ้อย และทำให้อ้อยแสดงอาการยอดเหี่ยวมากกว่า 10 เปอร์เซ็นต์พ่นสารอินดอกซาคาร์บ 15% อีซี อัตรา 15 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ คลอแรนทรานิลิโพรล 5.17% เอสซี อัตรา 60-80 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ ลูเฟนนูรอน 5% อีซี อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นโดยใช้น้ำ 60 ลิตรต่อไร่
โรคแส้ดำ
ในสภาพอากาศร้อน ความชื้นต่ำ ทำให้โรคแส้ดำระบาดมาก หากมีฝนตกหนักหรือตกสม่ำเสมอจะช่วยทำให้การระบาดลดลง
อ้อยที่เป็นโรครุนแรงจะแคระแกรน แตกกอมาก ลักษณะเป็นพุ่มเหมือนกอหญ้า ใบเล็กแคบ อ้อยไม่ย่างปล้อง อาจแห้งตายทั้งกอในที่สุด กอที่บางหน่อในกอเจริญเป็นลำ ลำอ้อยจะผอมกว่าลำอ้อยปกติ อาการปรากฏรุนแรงในอ้อยตอมากกว่าอ้อยปลูก
แนวทางการแก้ไขการระบาดโรคแส้ดำ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ ควรมีการปฏิบัติที่ผสมผสานหลายวิธีการร่วมกัน
- ไถแปลงอ้อยตอที่เป็นโรครุนแรงทิ้งไม่ให้เป็นแหล่งแพร่เชื้อในแหล่งปลูก
- ปลูกพันธุ์ต้านทานโรค
- ปลูกอ้อยด้วยท่อนพันธุ์ที่สมบูรณ์ไม่เป็นโรค เนื่องจากโรคระบาดไปได้ทางท่อนพันธุ์
- แช่ท่อนพันธุ์ในสารป้องกันกำจัดโรคพืช ไตรอาไดมีฟอน 25% ดับบลิวพี อัตรา 40 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ โพรพิโคนาโซล 250 อีซี อัตรา 16 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร แช่นาน 30 นาทีก่อนปลูก
- ตรวจไร่อย่างสม่ำเสมอหลังจากปลูก เมื่อพบกออ้อยเริ่มแสดงอาการแส้ดำ ควรตัดแส้ดำออกขณะเริ่มปรากฏอาการ ก่อนที่เยื่อหุ้มแส้ดำจะหลุดออก นำใส่ถุงไปทำลายนอกแปลงปลูก หรือขุดกอเป็นโรคออกเผาทำลาย เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดไปยังกอข้างเคียง
- ปลูกพืชชนิดอื่นหมุนเวียน หลังจากรื้อแปลงอ้อยตอ เพื่อลดการสะสมของเชื้อโรคในแปลงปลูก
สนับสนุนโดย : ปุ๋ยทิพย์