เกษตรยั่งยืน

heading-เกษตรยั่งยืน

ข้อดีของการ"ปลูกอ้อยข้ามแล้ง"หรือปลายฝน ได้ผลผลิตมีคุณภาพ-ลดต้นทุน

02 มี.ค. 2566 | 09:15 น.
ข้อดีของการ"ปลูกอ้อยข้ามแล้ง"หรือปลายฝน ได้ผลผลิตมีคุณภาพ-ลดต้นทุน

ฤดูกาลปลูกอ้อยในประเทศไทยตามสภาพภูมิประเทศ แนะข้อดีของการปลูกอ้อยข้ามแล้งหรือปลายฝน ระหว่างเดือนตุลาคม-มกราคม

   การปลูกอ้อยที่ดีได้ผลผลิตมีประสิทธิภาพ คุ้มค่าการลงทุุน ควรปลูกอ้อยในฤดูกาลไหน?? ประเทศไทยมีฤดูกาลปลูกอ้อยแตกต่างกันไปตามสภาพภูมิประเทศและลักษณะการตกของฝน  สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมที่อ้อยต้องการ  พร้อมเทคนิคการปลูกอ้อยข้ามแล้ง-อ้อยต้นฝน- อ้อยชลประทานหรืออ้อยน้ำราด และการลดต้นทุนการผลิตอ้อย

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

heading-ข่าวที่เกี่ยวข้อง


สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมที่อ้อยต้องการ

อ้อยเป็นพืชเขตร้อน ความยาวของช่วงวันที่เหมาะสม ประมาณ 11.5-12.5 ชั่วโมง และอุณหภูมิเฉลี่ยที่เหมาะสม ตลอดฤดูการปลูกประมาณ 26-35 องศาเซลเซียส สามารถปลูกในดินทรายจนถึงดินเหนียวจัด

ข้อดีของการ\"ปลูกอ้อยข้ามแล้ง\"หรือปลายฝน ได้ผลผลิตมีคุณภาพ-ลดต้นทุน

แต่ดินที่เหมาะสำหรับปลูกอ้อยคือ ดินร่วนทราย หรือดินร่วนเหนียว มีค่า pH ตั้งแต่ 5.5-7 มีความลึกของหน้าดินพอสมควรและระบายน้ำหรืออากาศได้ดีจนถึงปานกลาง

ฤดูกาลปลูกอ้อย

ในประเทศไทยมีฤดูกาลปลูกอ้อยแตกต่างกันไปตามสภาพภูมิประเทศและลักษณะการตกของฝน และมีการเรียกชื่อแตกต่างกันดังนี้


1. อ้อยข้ามแล้งหรือปลายฝน ปลูกระหว่างเดือนตุลาคม-มกราคม โดยอาศัยความชื้นที่เก็บไว้ในดินตลอดช่วงฤดูฝนเพื่อให้อ้อยงอกและเจริญเติบโตอย่างช้า ๆ ในช่วงที่ไม่มีฝนตกจนกระทั่งต้นปีถัดไปจะมีฝนตกบ้าง ดินที่เหมาะสมคือดินร่วนปนทรายหรือดินทราย

2. อ้อยชลประทาน อ้อยน้ำราด หรืออ้อยน้ำเสริม ปลูกระหว่างเดือนมกราคม-มีนาคม วิธีการปลูกอ้อยน้ำราดเป็นการ ปลูกอ้อยโดยอาศัยความชื้นจากการให้น้ำเสริมเพื่อช่วยให้อ้อยสามารถงอกและเจริญเติบโตได้จนเข้าสู่ฤดูฝนปกติ สภาพดินที่เหมาะสมคือดินเหนียวหรือดินร่วนเหนียวมักอยู่ในเขตชลประทานหรือมีแหล่งน้ำพอสมควร


3. อ้อยต้นฝน ปลูกระหว่างเดือนเมษายน - พฤษภาคม เป็นการปลูกอ้อยโดยอาศัยความชื้นจากฝนช่วงแรกที่ตกเพื่อให้อ้อยงอกและเจริญเติบโตได้จนเข้าสู่ฤดูฝนปกติ ดินที่เหมาะสมคือดินเหนียวหรือดินร่วนเหนียว โดยต้องมีการเตรียมดินและ ชักร่องรอฝน ซึ่งปริมาณนน้ำฝนที่เพียงพอต่อการงอกของอ้อย สังเกตได้จากร่องอ้อยจะมีน้ำขัง


ข้อสังเกต
 - การปลูกอ้อยข้ามแล้งจะได้ผลผลิตและคุณภาพอ้อยสูงกว่าการปลูกอ้อยต้นฝน
 เนื่องจากมีระยะเวลาการเจริญเติบโตของอ้อยที่ยาวนานกว่าและระยะการใช้น้ำของอ้อยที่เหมาะสมกว่าด้วย
 - ลดต้นทุนการผลิตอ้อย การปลูกอ้อยข้ามแล้งจะมีต้นทุนการผลิตอ้อยต่ำกว่าการปลูกอ้อยในฤดูฝน

สนับสนุนโดย : ปุ๋ยมงกุฎ

ข้อดีของการ\"ปลูกอ้อยข้ามแล้ง\"หรือปลายฝน ได้ผลผลิตมีคุณภาพ-ลดต้นทุน

ข่าวล่าสุด

heading-ข่าวล่าสุด

ข่าวเด่น

ราชกิจจาฯ ประกาศ พ.ร.ก.ไซเบอร์ 2 ฉบับ ธนาคาร-ค่ายมือถือ รับผิดด้วย

ราชกิจจาฯ ประกาศ พ.ร.ก.ไซเบอร์ 2 ฉบับ ธนาคาร-ค่ายมือถือ รับผิดด้วย

เพื่อนสนิท "ณิชา" ฟาดเดือด หลัง "มายด์" เปิดปากสัมพันธ์ "โตโน่"

เพื่อนสนิท "ณิชา" ฟาดเดือด หลัง "มายด์" เปิดปากสัมพันธ์ "โตโน่"

กัน จอมพลัง ซัดคนขับ BMW ลุงป้ายกมือไหว้ขอโทษ ยังเดือดไม่หยุด

กัน จอมพลัง ซัดคนขับ BMW ลุงป้ายกมือไหว้ขอโทษ ยังเดือดไม่หยุด

"พาณิชย์" เผยผลไม้ไทยนิยมในยูเออี คนรุ่นใหม่-กลุ่มกำลังซื้อสูง

"พาณิชย์" เผยผลไม้ไทยนิยมในยูเออี คนรุ่นใหม่-กลุ่มกำลังซื้อสูง

เคลื่อนไหวทันที เฟิร์สพี่ชายณิชา โพสต์ฟาดหลังเห็นแชทโตโน่

เคลื่อนไหวทันที เฟิร์สพี่ชายณิชา โพสต์ฟาดหลังเห็นแชทโตโน่