ยานยนต์

heading-ยานยนต์

3 วิธี "ผ่อนรถไม่ไหว" ไม่ถูกยึดรถ-ไม่ติดแบล็กลิสต์ ต้องทำอย่างไร ?

20 พ.ย. 2565 | 14:33 น.
3 วิธี "ผ่อนรถไม่ไหว" ไม่ถูกยึดรถ-ไม่ติดแบล็กลิสต์ ต้องทำอย่างไร ?

ใครที่กำลังประสบปัญหาผ่อนรถไม่ไหว ยิ่งช่วงโรคระบาย โควิด-19 ด้วยเเล้วนั้น ทำให้สภาพเศรษฐกิจที่ย่ำแย่ เป็นอย่างมาก โดยครั้นจะปล่อยให้ไฟแนนซ์ยึดไป ก็จะเจอปัญหาอีกมากมาย ซึ่งทางเรามี 3 วิธีดีๆ สำหรับใครที่ผ่อนรถไม่ไหว

3 วิธี "ผ่อนรถไม่ไหว" ไม่ถูกยึดรถ-ไม่ติดแบล็กลิสต์ ต้องทำอย่างไร ?

หลายคนกำลังประสบปัญหาผ่อนรถไม่ไหว ยิ่งช่วงโรคระบาย โควิด-19 ด้วยเเล้วนั้น ทำให้สภาพเศรษฐกิจที่ย่ำแย่ เป็นอย่างมาก โดยครั้นจะปล่อยให้ไฟแนนซ์ยึดไป ก็จะเจอปัญหาอีกมากมาย ซึ่งทางเรามี 3 วิธีดีๆ สำหรับใครที่ผ่อนรถไม่ไหว จะได้ถูกยึดรถ-ไม่ติดแบล็กลิสต์ กันครับ

3 วิธี \"ผ่อนรถไม่ไหว\" ไม่ถูกยึดรถ-ไม่ติดแบล็กลิสต์ ต้องทำอย่างไร ?

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

heading-ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ก่อนอื่นต้องเข้าใจก่อนว่าการปล่อยให้ไฟแนนซ์ยึดรถ ไม่ใช่การเคลียร์หนี้ให้กลายเป็นศูนย์แต่อย่างใด เพราะนอกจากคุณจะถูกขึ้นแบล็กลิสต์มีประวัติเสียในเครดิตบูโรแล้วนั้น รถที่โดนยึดไปจะถูกขายทอดตลาดในราคาต่ำกว่าความเป็นจริง จากนั้นลูกหนี้ก็ยังจำเป็นต้องจ่ายยอดหนี้ส่วนเหลือหลังจากขายทอดตลาดอีก หากไม่จ่ายก็จะถูกฟ้องร้องกลายเป็นคดีความตามมาอีกต่อหนึ่ง

3 วิธี \"ผ่อนรถไม่ไหว\" ไม่ถูกยึดรถ-ไม่ติดแบล็กลิสต์ ต้องทำอย่างไร ?
 

คุณสามารถหลีกเลี่ยงปัญหาดังกล่าวได้ โดยใช้ 3 วิธีเหล่านี้

1.ปรับปรุงโครงสร้างหนี้

    ไฟแนนซ์-ลีสซิ่งหลายแห่งมีมาตรการ "ปรับปรุงโครงสร้างหนี้" โดยจะนำยอดหนี้ที่เหลือมาคำนวณและขยายระยะเวลาการผ่อนออกไป ซึ่งจะทำให้ยอดผ่อนในแต่ละเดือนลดลง (แต่ผ่อนนานขึ้น) ซึ่งข้อเสียก็คือดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นเล็กน้อย แลกกับการที่คุณยังคงมีรถไว้ใช้ และไม่กระทบถึงเครดิตทางการเงินอีกด้วย

2.เปลี่ยนสัญญา-ขายดาวน์

    วิธีนี้ถือเป็นการตัดไฟแต่ต้นลม โดยคุณสามารถเปลี่ยนสัญญาไปให้ผู้อื่นผ่อนต่อได้ หากยอดหนี้ที่เหลือต่ำกว่าราคาตลาดในขณะนั้น คุณยังสามารถเรียกเงินดาวน์มาเป็นเงินก้อนไว้ใช้จ่ายได้อีกด้วย แต่หากยอดหนี้มากกว่าแล้วล่ะก็ คุณอาจจำเป็นต้องยอมขายแบบขาดทุนสักหน่อย แลกกับการไม่เสียประวัติทางการเงินนั่นเอง   แต่สำคัญที่สุด คือ คุณห้ามนำรถไปขายต่อให้ผู้อื่นโดยไม่เปลี่ยนสัญญาอย่างเด็ดขาด เพราะมีโอกาสสูงมากที่จะถูกเบี้ยวค่างวดและเชิดรถหนีไปแบบดื้อๆ สุดท้ายก็จะต้องเป็นฝ่ายรับผิดชอบเองอยู่ดี รวมถึงไม่นำรถไปจำนำเถื่อน (ประเภทจอดรถไว้แต่ไม่วางเล่มเพื่อนำเงินออกมา) เพราะกรรมสิทธิ์ของตัวรถยังคงเป็นของไฟแนนซ์ ผู้ครอบครองไม่สามารถนำไปจำนำหรือขายต่อโดยพลการได้

3.เจรจาโดยตรงกับไฟแนนซ์-ลีสซิ่ง

    ปัจจุบันด้วยสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ไฟแนนซ์และลีสซิ่งหลายแห่งต่างก็มีมาตรการรองรับลูกค้าที่ประสบปัญหาการชำระแตกต่างกันออกไป บางแห่งยินยอมให้คุณหยุดพักค่างวดไว้ชั่วคราว บางแห่งสามารถชำระเฉพาะดอกเบี้ยได้ ทางที่ดีควรติดต่อขอรับข้อมูลกับไฟแนนซ์ที่ใช้บริการโดยตรง เพื่อดูว่ามีทางออกอย่างไรบ้าง
 

ข่าวล่าสุด

heading-ข่าวล่าสุด

ข่าวเด่น

เงินดิจิทัล 10,000 บาท เฟส 4 กลุ่มอายุ 21-59 ปี โอนเงินช่วงไหน

เงินดิจิทัล 10,000 บาท เฟส 4 กลุ่มอายุ 21-59 ปี โอนเงินช่วงไหน

"เมืองไทยประกันภัย" จ่ายค่าสินไหมทดแทน กรณีอุบัติเหตุรถไฟชนกระบะ จ.ตรัง

"เมืองไทยประกันภัย" จ่ายค่าสินไหมทดแทน กรณีอุบัติเหตุรถไฟชนกระบะ จ.ตรัง

"กชเบล" MGT 2025 เล่าชีวิตวัยเด็ก โตมากับความรุนแรงในครอบครัว

"กชเบล" MGT 2025 เล่าชีวิตวัยเด็ก โตมากับความรุนแรงในครอบครัว

เปิดสาเหตุ "บังมัด" ตบหน้า "สันธนะ" กลางร้านดังทองหล่อ

เปิดสาเหตุ "บังมัด" ตบหน้า "สันธนะ" กลางร้านดังทองหล่อ

สาวคันรอบดวงตา เจอก้อนเนื้อขยับได้ หาหมอถึงกับตกใจรู้เป็นอะไร

สาวคันรอบดวงตา เจอก้อนเนื้อขยับได้ หาหมอถึงกับตกใจรู้เป็นอะไร