ยานยนต์

heading-ยานยนต์

ต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ 2566 ให้ความคุ้มครองอย่างไรบ้าง?

01 ก.พ. 2566 | 19:13 น.
ต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ 2566  ให้ความคุ้มครองอย่างไรบ้าง?

พ.ร.บ. คือ พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 หรือเรียกอีกอย่างว่าประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ เนื่องจากผู้ครอบครองรถทุกคันที่จดทะเบียนกับกรมการขนส่งทางบกจะต้องจัดทำ พ.ร.บ. เป็นประจำอย่างต่อเนื่องทุกปี

ต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ 2566 ให้ความคุ้มครองอย่างไรบ้าง?

ต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ 2566  ให้ความคุ้มครองอย่างไรบ้าง?

เป็นที่รู้กันว่า ในการใช้รถยนต์นั้นจำเป็นต้องต่อ พ.ร.บ. ทุกปี เพราะว่านอกจากเรามีประกันภัยรถยนต์แล้ว พ.ร.บ. จะช่วยคุ้มครองแก่ผู้ประสบอุบัติเหตุจากการใช้รถได้อย่างทันท่วงที โดยไม่คำนึงถึงว่าบุคคลที่ประสบอุบัติเหตุดังกล่าวจะเป็นฝ่ายผิดหรือฝ่ายถูกแต่อย่างใด ซึ่งมีรายละเอียดความคุ้มครอง 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

heading-ข่าวที่เกี่ยวข้อง

พ.ร.บ. คือ พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 หรือเรียกอีกอย่างว่าประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ เนื่องจากผู้ครอบครองรถทุกคันที่จดทะเบียนกับกรมการขนส่งทางบกจะต้องจัดทำ พ.ร.บ. เป็นประจำอย่างต่อเนื่องทุกปี หากฝ่าฝืนใช้งานรถยนต์ที่ไม่มี พ.ร.บ. หรือหมดอายุ จะต้องถูกระวางโทษปรับสูงสุดไม่เกิน 10,000 บาท

ต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ 2566  ให้ความคุ้มครองอย่างไรบ้าง?

พ.ร.บ. ให้ความคุ้มครองอย่างไรบ้าง?

     พ.ร.บ. จะให้ความคุ้มครองแก่ผู้ประสบอุบัติเหตุจากการใช้รถได้อย่างทันท่วงที โดยไม่คำนึงถึงว่าบุคคลที่ประสบอุบัติเหตุดังกล่าวจะเป็นฝ่ายผิดหรือฝ่ายถูกแต่อย่างใด ซึ่งมีรายละเอียดความคุ้มครอง ดังนี้

1.วงเงินค่าเสียหายเบื้องต้นโดยไม่ต้องรอพิสูจน์ความผิด

1.1 ค่ารักษาพยาบาลจากการบาดเจ็บ (ตามจริง) 30,000 บาทต่อคน
1.2 การเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพอย่างถาวร 35,000 บาทต่อคน

2.วงเงินค่าเสียหายที่เกินกว่าค่าเสียหายเบื้องต้น (จะได้รับภายหลังจากการพิสูจน์แล้วว่าไม่ได้เป็นฝ่ายละเมิด (ฝ่ายผิด))

2.1 ค่ารักษาพยาบาลจากอาการบาดเจ็บ ไม่เกิน 80,000 บาทต่อคน
2.2 สูญเสียอวัยวะ / ทุพพลภาพถาวร / ทุพพลภาพสิ้นเชิง 200,000 - 500,000 บาทต่อคน
2.3 การเสียชีวิต 500,000 บาทต่อคน
2.4 ชดเชยรายวัน 200 บาท รวมกันไม่เกิน 20 วัน กรณีเข้าพักรักษาพยาบาลในสถานพยาบาลในฐานะคนไข้ใน สูงสุดไม่เกิน 4,000 บาทต่อคน

ต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ปี 2566 จ่ายเงินกี่บาท?

     อัตราค่าเบี้ยประกันภัย พ.ร.บ. สำหรับรถยนต์โดยสารส่วนบุคคลเป็นแบบคงที่ขึ้นอยู่กับประเภทรถ โดยมีรายละเอียดดังนี้ (ราคาทั้งหมดยังไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%)

  • รถยนต์โดยสาร
  • รถยนต์โดยสารที่นั่งไม่เกิน 7 คน 600 บาทต่อปี
  • รถยนต์โดยสารเกิน 7 คน ไม่เกิน 15 ที่นั่ง 1,100 บาทต่อปี
  • รถยนต์โดยสารเกิน 15 ที่นั่ง ไม่เกิน 20 ที่นั่ง 2,050 บาทต่อปี
  • รถยนต์โดยสารเกิน 20 ที่นั่ง ไม่เกิน 40 ที่นั่ง 3,200 บาทต่อปี
  • รถยนต์โดยสารเกิน 40 ที่นั่ง 3,740 บาทต่อปี
  • รถยนต์ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า
  • รถยนต์ไฟฟ้า 600 บาทต่อปี

     ทั้งนี้ การต่อ พ.ร.บ. สามารถทำควบคู่ไปกับการต่อภาษีประจำปีรถยนต์ได้ ซึ่งกำหนดให้รถทุกคันสามารถต่อภาษีประจำปีล่วงหน้าได้สูงสุด 90 วัน หรือ 3 เดือน

ข่าวล่าสุด

heading-ข่าวล่าสุด

ข่าวเด่น

ไม่มีกั๊ก "ฮาย อาภาพร" เปิดเลขมงคล แบ่งโชคแฟนๆ หลวงพ่อเขียนให้เอง

ไม่มีกั๊ก "ฮาย อาภาพร" เปิดเลขมงคล แบ่งโชคแฟนๆ หลวงพ่อเขียนให้เอง

เช็กเงินสงเคราะห์บุตรอัตราใหม่ ของผู้ประกันตน ม.33 และ 39

เช็กเงินสงเคราะห์บุตรอัตราใหม่ ของผู้ประกันตน ม.33 และ 39

นักข่าวสาวเสียชีวิต ศพเพิ่งถูกส่งให้ครอบครัว เปิดดูถึงตกใจสภาพ

นักข่าวสาวเสียชีวิต ศพเพิ่งถูกส่งให้ครอบครัว เปิดดูถึงตกใจสภาพ

เจ้าของร้านหมูกระทะ ชี้แจงแล้ว หลังเจอดราม่าปรับเศษหมู ที่ลูกค้ากินเหลือ

เจ้าของร้านหมูกระทะ ชี้แจงแล้ว หลังเจอดราม่าปรับเศษหมู ที่ลูกค้ากินเหลือ

พบผู้เสียชีวิตแล้วอย่างน้อย 15 ราย เศร้ามีเด็กรวมอยู่ด้วย

พบผู้เสียชีวิตแล้วอย่างน้อย 15 ราย เศร้ามีเด็กรวมอยู่ด้วย