ยานยนต์

heading-ยานยนต์

ไขข้อสงสัย! ประกันชั้น 2+ กับ 3+ แตกต่างกันอย่างไร?

14 ม.ค. 2567 | 15:34 น.
ไขข้อสงสัย! ประกันชั้น 2+ กับ 3+ แตกต่างกันอย่างไร?

หลายคนประกันชั้น 2+ กับ 3+ แตกต่างกันอย่างไร สามารถครองคุณในกรณีเกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์ ได้มากน้อยแค่ไหน วันนี้เราหาคำตอบไว้ที่นี่แล้วครับ!

เผยข้อสงสัย! ประกันชั้น 2+ กับ 3+ แตกต่างกันอย่างไร? 

ไขข้อสงสัย! ประกันชั้น 2+ กับ 3+ แตกต่างกันอย่างไร?

ก่อนอื่นเราไปทำความเข้าใจ เกี่ยวกับ ประกันภัยรถยนต์คุ้มครองอย่างไร?

ผู้เอาประกันภัยแต่ละคนจ่ายเบี้ยประกันให้กับบริษัทประกันรถยนต์เพื่อแลกกับความคุ้มครองทางการเงินจากความเสี่ยงบางประการในการขับขี่ยานพาหนะ เช่น ความเสียหายเนื่องจากอุบัติเหตุทางถนน หรือความรับผิดต่อบุคคลภายนอก
 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

heading-ข่าวที่เกี่ยวข้อง

นอกเหนือจากประกันภัยชั้น 1 ที่มีค่าเบี้ยประกันสูงที่สุดเมื่อเทียบกับประกันประเภทอื่นนั้น ประกันชั้น 2+ และ 3+ ก็เป็นอีกทางเลือกที่มีราคาย่อมเยาลงมา และยังคงให้ความคุ้มครองรถคันที่เอาประกัน แตกต่างจากประกันชั้น 2 ที่จะคุ้มครองในบางกรณี และประกันชั้น 3 ที่คุ้มครองเฉพาะคู่กรณีเท่านั้น


ประกันชั้น 2+ แตกต่างจาก 3+ แตกต่างกันอย่างไรบ้าง

ประกันรถยนต์ชั้น 2+ และ 3+ ต่างก็มอบความคุ้มครองใกล้เคียงกับประกันชั้น 1 โดยจะคุ้มครองรถคันที่เอาประกันภัยในกรณีอุบัติเหตุที่มีคู่กรณีเป็นยานพาหนะทางบก (รถชนรถ) ตามทุนประกันที่ทำไว้ แตกต่างจากประกันชั้น 2 และชั้น 3 แบบปกติที่คุ้มครองเฉพาะค่าซ่อมของคู่กรณีเท่านั้น (ประกันชั้น 2 ครอบคลุมในบางกรณีเพิ่มเติม เช่น รถหาย ไฟไหม้ ภัยธรรมชาติ ฯลฯ)

อย่างไรก็ดี ประกันชั้น 2+ และ 3+ ต่างก็มีข้อแตกต่างเล็กน้อย โดยจะเพิ่มความคุ้มครอง

ไขข้อสงสัย! ประกันชั้น 2+ กับ 3+ แตกต่างกันอย่างไร?

กรณีรถหาย ไฟไหม้ และภัยธรรมชาติบางประเภท จึงทำให้ค่าเบี้ยของประกัน 2+ สูงกว่า 3+ เล็กน้อย ขณะที่เงื่อนไขความคุ้มครองตัวรถคันที่เอาประกันภัยยังคงเหมือนกันแทบทั้งหมด จะต่างกันก็เพียงทุนประกันตามที่ได้เลือกซื้อไว้แต่แรกนั่นเอง

สรุปง่ายๆ คือ ประกันชั้น 3+ จะด้อยกว่าประกันชั้น 2+ ตรงที่ไม่คุ้มครองกรณีรถหาย ไฟไหม้ และความเสียหายที่เกิดขึ้นจากภัยธรรมชาติเท่านั้น

ข้อเสีย การทำประกันชั้น 2+ และ 3+ 

ประกันรถยนต์ชั้น 2+ และ 3+ จะคุ้มครองรถคันที่เอาประกันภัยก็ต่อเมื่อประสบอุบัติเหตุกับพาหนะที่สามารถจดทะเบียนกับกรมการขนส่งทางบกได้เท่านั้น จึงไม่คุ้มครองกรณีเฉี่ยวชนแบบไม่มีคู่กรณี เช่น เฉี่ยวเสาบ้าน, ชนกระถางต้นไม้ ฯลฯ
 

อีกทั้งยังไม่คุ้มครองกรณีถูกชนแล้วหนี ซึ่งไม่สามารถพิสูจน์รายละเอียดของคู่กรณีได้ ยกตัวอย่างเช่น หากจอดรถไว้ข้างถนน หากถูกเฉี่ยวชนแล้วคู่กรณีหลบหนีไป ลักษณะเช่นนี้เจ้าของรถจะต้องพิสูจน์หาคู่กรณีที่แน่ชัดได้เสียก่อน จึงจะได้รับความคุ้มครอง

สุดท้ายนี้ หากจำเป็นต้องทำประกันชั้น 2+ หรือ 3+ เนื่องจากต้องการประหยัดค่าเบี้ยจากประกันชั้น 1 แล้วล่ะก็ ควรติดตั้งกล้องหน้ารถเพื่อเป็นตัวช่วยในการพิสูจน์คู่กรณีเอาไว้ด้วย
 

ข่าวล่าสุด

heading-ข่าวล่าสุด

ข่าวเด่น

ราชกิจจาฯ ประกาศ พ.ร.ก.ไซเบอร์ 2 ฉบับ ธนาคาร-ค่ายมือถือ รับผิดด้วย

ราชกิจจาฯ ประกาศ พ.ร.ก.ไซเบอร์ 2 ฉบับ ธนาคาร-ค่ายมือถือ รับผิดด้วย

เพื่อนสนิท "ณิชา" ฟาดเดือด หลัง "มายด์" เปิดปากสัมพันธ์ "โตโน่"

เพื่อนสนิท "ณิชา" ฟาดเดือด หลัง "มายด์" เปิดปากสัมพันธ์ "โตโน่"

กัน จอมพลัง ซัดคนขับ BMW ลุงป้ายกมือไหว้ขอโทษ ยังเดือดไม่หยุด

กัน จอมพลัง ซัดคนขับ BMW ลุงป้ายกมือไหว้ขอโทษ ยังเดือดไม่หยุด

"พาณิชย์" เผยผลไม้ไทยนิยมในยูเออี คนรุ่นใหม่-กลุ่มกำลังซื้อสูง

"พาณิชย์" เผยผลไม้ไทยนิยมในยูเออี คนรุ่นใหม่-กลุ่มกำลังซื้อสูง

เคลื่อนไหวทันที เฟิร์สพี่ชายณิชา โพสต์ฟาดหลังเห็นแชทโตโน่

เคลื่อนไหวทันที เฟิร์สพี่ชายณิชา โพสต์ฟาดหลังเห็นแชทโตโน่