ยานยนต์

heading-ยานยนต์

ใช้รถต้องรู้! 4 อาการบ่งบอกว่าถึงเวลาต้องเปลี่ยน "น้ำมันเครื่อง" ก่อนรถพัง

25 ก.พ. 2567 | 13:51 น.
ใช้รถต้องรู้! 4 อาการบ่งบอกว่าถึงเวลาต้องเปลี่ยน "น้ำมันเครื่อง" ก่อนรถพัง

"น้ำมันเครื่อง" ถือว่าเป็นหัวใจหลักที่สำคัญในการทำงานของเครื่องยนต์ เนื่องจากช่วยหล่อลื่นชิ้นส่วนภายในเครื่องยนต์ไม่ให้เสียดสีกันโดยตรงและช่วยรักษาระดับความร้อนภายในเครื่องยนต์ให้อยู่ในระดับปกติอีกด้วย

ใช้รถต้องรู้! 4 อาการบ่งบอกว่าถึงเวลาต้องเปลี่ยน "น้ำมันเครื่อง" ก่อนรถพัง 

ใช้รถต้องรู้! 4 อาการบ่งบอกว่าถึงเวลาต้องเปลี่ยน \"น้ำมันเครื่อง\" ก่อนรถพัง

 

ก่อนอื่นเราไปชมประโยชน์ของน้ำมันเครื่อง ทั้งเบนซินและดีเซล 5 ประการต่อไปนี้ 

1.ช่วยหล่อลื่นชิ้นส่วนต่างๆ ภายในห้องเครื่องยนต์
2.ช่วยระบายความร้อนภายในห้องเครื่องยนต์
3.ป้องกันการเกิดสนิม การกัดกร่อน และลดคราบเขม่า
4.ลดแรงเสียดทานและการสึกหรอจากการเผาไหม้
5.ช่วยรักษากำลังอัดของเครื่องยนต์

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

heading-ข่าวที่เกี่ยวข้อง

การตรวจเช็กระดับน้ำมันเครื่อง
การวัดระดับน้ำมันเครื่องสามารถทำได้เองเป็นประจำเมื่อต้องการ โดยจำเป็นต้องสตาร์ทเครื่องยนต์ทิ้งไว้ชั่วครู่ (ยกเว้นการเช็กระดับน้ำมันเครื่องหลังจากใช้งาน) จากนั้นรอประมาณ 1-2 นาที ดึงก้านวัดระดับน้ำมันเครื่องออกมาทำความสะอาดด้วยผ้าแห้ง หรือกระดาษทิชชู่อย่างหนา 1 ครั้ง แล้วเสียบก้านน้ำมันเครื่องกลับไปจนสุดเหมือนเดิม

ใช้รถต้องรู้! 4 อาการบ่งบอกว่าถึงเวลาต้องเปลี่ยน \"น้ำมันเครื่อง\" ก่อนรถพัง

แล้วให้ดึงก้านวัดน้ำมันเครื่องออกมาตรวจสอบ หากระดับน้ำมันอยู่ระหว่างขีด MIN และ MAX แสดงว่าอยู่ในระดับปกติ หากอยู่ต่ำกว่าระดับ MIN แสดงว่าน้ำมันเครื่องพร่อง ควรรีบเติมน้ำมันเครื่องกลับเข้าไปจนพอดี หรือหากน้ำมันเครื่องเกินระดับ MAX จะทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องยนต์ลดลง ควรถ่ายน้ำมันออกหรือเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องอีกครั้ง
 

4 ข้อที่ต้องหมั่นสังเกต เพื่อให้ทราบว่าถึงเวลาเปลี่ยนน้ำมันเครื่องได้แล้ว ดังต่อไปนี้

1. เมื่อครบตามระยะทาง หรือระยะเวลาที่กำหนด

ระยะการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องขึ้นอยู่กับชนิดของน้ำมันเครื่องที่ใช้ โดยน้ำมันเครื่องแต่ละประเภทมีระยะการเปลี่ยนถ่าย ดังนี้

  • น้ำมันเครื่องธรรมดา - ทุก 5,000 - 7,000 กม.
  • น้ำมันเครื่องกึ่งสังเคราะห์ - ทุก 7,500 - 8,000 กม.
  • น้ำมันเครื่องสังเคราะห์แท้ - ทุก 10,000 - 15,000 กม.

หากใช้งานรถน้อย ไม่ค่อยนำรถออกมาใช้ ให้อ้างอิงตามรอบระยะเวลาเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องตามที่ผู้ผลิตกำหนดไว้ เพราะการที่จอดรถทิ้งไว้นานๆ น้ำมันเครื่องก็จะค่อยๆ เสื่อมคุณภาพลง ซึ่งโดยปกติแล้วรถญี่ปุ่นจำเป็นต้องเปลี่ยนทุก 6 เดือน และรถยุโรปจำเป็นต้องเปลี่ยนทุก 1 ปี

2. เสียงเครื่องยนต์ดังผิดปกติ

หากว่าน้ำมันเครื่องขาด หรือเสื่อมสภาพจนความหนืดไม่เป็นไปตามสเปกของเครื่องยนต์ อาจส่งผลให้เกิดเสียงดังผิดปกติขณะใช้งานได้ ซึ่งโดยมากแล้วจะมีลักษณะดังเขกเป็นจังหวะ และจะถี่ขึ้นตามรอบเครื่องยนต์ หากประสบกรณีเช่นนี้ควรรีบเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องทันทีเพื่อป้องกันเครื่องยนต์พัง

3. รถกินน้ำมันมากผิดปกติ

การปล่อยให้น้ำมันเครื่องเสื่อมสภาพจะส่งผลให้เครื่องยนต์กินน้ำมันมากขึ้น เนื่องจากประสิทธิภาพการหล่อลื่นที่ลดลง ทำให้ชิ้นส่วนภายในห้องเผาไหม้เกิดการเสียดสีมากกว่าปกติ

4. น้ำมันเครื่องมีสีดำสนิท หรือมีสีผิดปกติ

โดยปกติแล้วน้ำมันเครื่องจะมีสีเหลืองอำพัน แต่เมื่อผ่านการใช้งานไปสักระยะ สีจะค่อยๆ เข้มขึ้น ซึ่งเกิดจากเขม่าและสิ่งสกปรกจากการเผาไหม้ แต่หากตรวจสอบแล้วพบว่าน้ำมันเครื่องมีสีดำสนิท (ยกเว้นเครื่องยนต์ดีเซลที่น้ำมันเครื่องอาจมีสีดำเป็นปกติ) แสดงว่าถึงเวลาต้องเปลี่ยนน้ำมันเครื่องได้แล้ว


แต่หากน้ำมันเครื่องเปลี่ยนเป็นสีอื่น เช่น มีสีคล้ายชานม หรือมีความข้นเหนียวมากกว่าปกติ แสดงว่าอาจเกิดจากฝาสูบโก่งเนื่องจากโอเวอร์ฮีต หรือเกิดการรั่วซึมจนทำให้ของเหลวอื่นๆ มีการเจือปนลงในอ่างน้ำมันเครื่อง หรือมีควันขาวออกจากปลายท่อไอเสีย ซึ่งถ้าเกิดอาการเหล่านี้ก็ควรที่จะนำรถเข้าอู่เพื่อให้ช่างหาสาเหตุและแก้ไขก่อนจะสายเกินไปครับ
 

ข่าวเด่น

"ทนายอนันต์ชัย"พาสมาชิกสมาคมฮินดูฯ บุก ปค.ร้อง ปธ.-คกก.เก่าขวางเลือกตั้ง

"ทนายอนันต์ชัย"พาสมาชิกสมาคมฮินดูฯ บุก ปค.ร้อง ปธ.-คกก.เก่าขวางเลือกตั้ง

ทำไมคนไทยถึงชอบกิน บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป มากขนาดนี้

ทำไมคนไทยถึงชอบกิน บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป มากขนาดนี้

"ทนายเดชา" ฝากข้อความถึงคนที่ไม่ชอบตน งานนี้ชาวเน็ตแห่ถูกใจ

"ทนายเดชา" ฝากข้อความถึงคนที่ไม่ชอบตน งานนี้ชาวเน็ตแห่ถูกใจ

โปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อใหม่ เจ้าคุณพระสินีนาถ พิลาสกัลยาณี

โปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อใหม่ เจ้าคุณพระสินีนาถ พิลาสกัลยาณี

"ปู มัณฑนา" เผยแจ้งความเอาผิดเกรียนคีย์บอร์ด ล็อตแรก 100 เคส

"ปู มัณฑนา" เผยแจ้งความเอาผิดเกรียนคีย์บอร์ด ล็อตแรก 100 เคส

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

heading-ข่าวที่เกี่ยวข้อง