ยานยนต์

heading-ยานยนต์

ใช้รถต้องรู้! ขับรถเกียร์ออโต้ขึ้น-ลงเขา ต้องใช้เกียร์อะไรถึงปลอดภัย?

28 ก.พ. 2567 | 14:40 น.
ใช้รถต้องรู้! ขับรถเกียร์ออโต้ขึ้น-ลงเขา ต้องใช้เกียร์อะไรถึงปลอดภัย?

ผู้ขับรถเกียร์ออโต้ที่ดูเหมือนง่ายแต่แท้จริงแล้วก็ยากเอาเรื่อง เพราะถ้าเกิดเราใช้เกียร์ผิดก็อาจส่งผลให้รถเสียหลักจนเกิดอุบัติเหตุได้ เพราะฉะนั้นทาง Carfreedom จะมาเผยเคล็ดลับการขับรถ เกียร์ออโต้ขึ้น-ลงเขา อย่างไรให้ปลอดภัยที่สุดกันครับ!

 ใช้รถต้องรู้! ขับรถเกียร์ออโต้ขึ้น-ลงเขา ต้องใช้เกียร์อะไรถึงปลอดภัย?

ใช้รถต้องรู้! ขับรถเกียร์ออโต้ขึ้น-ลงเขา ต้องใช้เกียร์อะไรถึงปลอดภัย?

การขับรถขึ้นเขาด้วยเกียร์ออโต้

ควรใช้เกียร์ต่ำในการขับรถขึ้นเขา ซึ่งไฟบอกตำแหน่งเกียร์อาจระบุเป็น D2 หรือ 2 ขึ้นอยู่กับรุ่นรถ กรณีที่รถสามารถปรับเป็นโหมดเกียร์ธรรมดาได้ ให้เลือกใช้เกียร์ 2 เป็นหลัก หากเส้นทางมีความชันเพิ่มขึ้นจนทำให้เครื่องยนต์เริ่มไม่มีแรง ให้ปรับเป็นเกียร์ L หรือ 1 จะช่วยเรียกพละกำลังของเครื่องยนต์กลับคืนมา จึงสามารถขับต่อไปได้อย่างไร้กังวล 

ใช้รถต้องรู้! ขับรถเกียร์ออโต้ขึ้น-ลงเขา ต้องใช้เกียร์อะไรถึงปลอดภัย?

เมื่อเข้าสู่ช่วงทางราบให้สลับไปใช้ตำแหน่งเกียร์ D บ้าง จะช่วยลดภาระการทำงานของเครื่องยนต์ และช่วยลดอัตราสิ้นเปลืองลงได้

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

heading-ข่าวที่เกี่ยวข้อง

การขับรถลงเขาด้วยเกียร์ออโต้

ใช้รถต้องรู้! ขับรถเกียร์ออโต้ขึ้น-ลงเขา ต้องใช้เกียร์อะไรถึงปลอดภัย?
ระหว่างลงทางชันให้ผลักเกียร์ไปยังตำแหน่ง D2 หรือ 2 เครื่องยนต์จะช่วยสร้าง Engine Brake เพื่อหน่วงความเร็วป้องกันไม่ให้รถไหลลงเขาด้วยความเร็วสูงจนเกินไป ช่วยลดภาระของระบบเบรกไม่ให้เบรกร้อนจัด ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้รถเบรกไม่อยู่ โดยระหว่างนี้รอบเครื่องยนต์อาจพุ่งสูงถึง 4,000 - 5,000 รอบต่อนาที (หรือราว 3,000 - 4,000 รอบต่อนาทีสำหรับเครื่องยนต์ดีเซล) ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติ แต่หากทางลงเขามีความลาดชันมาก อาจใช้เกียร์ L หรือ 1 เพื่อเพิ่มแรงหน่วงของเครื่องยนต์ โดยระหว่างนี้เครื่องยนต์จะไม่มีการฉีดจ่ายน้ำมันแต่อย่างใด จึงไม่ต้องกังวลว่าจะสิ้นเปลืองน้ำมันโดยใช่เหตุ

เทคนิคและข้อควรระวังในขณะขับรถยนต์ลงเขา  

1.ใช้เกียร์ต่ำเท่านั้น
เราควรใช้เกียร์ต่ำหรือเกียร์ D ในการขับรถขึ้นลงเขาเท่านั้น เพราะมันจะทำให้เราสามารถควบคุมรถได้ง่ายขึ้น ช่วยให้เราเข้าโค้งและชะลอรถได้อย่างปลอดภัย พร้อมหลีกเลี่ยงอุบัติเหตุหรืออันตรายได้อย่างมีประสิทธิภาพ

2.ไม่ควรใช้เกียร์ว่างลงเขา
เราไม่ควรใช้เกียร์ว่างหรือเกียร์ N ลงเขา เพราะมันจะทำให้รถไหลลงเขาด้วยความเร็วสูง ซึ่งมีความเสี่ยงที่อาจทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ อีกทั้งยังทำให้ชุดเฟืองเกียร์เกิดการสึกหรอจากความร้อน จนทำให้ระบบเบรกและชุดเกียร์เกิดความเสียหายได้ในที่สุด

3.เหยียบเบรกให้ถูกวิธี
อย่างที่กล่าวไปข้างต้นว่าการเหยียบเบรกขณะขับรถลงเขาไม่ควรลากเบรกยาว ๆ หรือเหยียบเบรกตลอดเวลา ต้องค่อย ๆ แตะเบรกเบา ๆ เพื่อชะลอความเร็ว เพราะมันอาจทำให้จานเบรกและเครื่องยนต์เสียหายได้

4.ขับชิดซ้าย ไม่เร่ง ไม่แซงโดยไม่จำเป็น
พยายามขับรถชิดซ้ายเข้าไว้ในขณะที่ขึ้นลงเขา ไม่ควรเร่งหรือแซงโดยไม่จำเป็นเพราะมันอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุได้จากมุมอับสายตา และถ้าหากมีรถขับจี้ท้ายมาก ๆ ก็ควรให้คันหลังขึ้นแซงไปก่อนเพื่อความปลอดภัย

5.ให้สัญญาณรถคันอื่นอยู่เสมอ
เมื่อคุณขับรถเข้าสู่ทางโค้งหรือมุมอับสายตาระหว่างขึ้นลงเขา ควรให้สัญญาณแก่เพื่อนร่วมทางตลอด เช่น บีบแตรหรือเปิดไฟสัญญาณ เพื่อเตือนรถคันอื่นให้รู้ตัว

6.ควบคุมความเร็วและปฏิบัติตามกฎจราจร
เราควรใช้ความเร็วรถตามที่กฎหมายกำหนด ควรประคองความเร็วให้อยู่ที่ประมาณ 50-80 กิโลเมตร/ชั่วโมง และห้ามฝ่าฝืนกฎจราจรอย่างเด็ดขาด เพราะอุบัติเหตุสามารถเกิดขึ้นได้ในทุกที่ทุกเวลา
 

ข่าวเด่น

"ทนายอนันต์ชัย"พาสมาชิกสมาคมฮินดูฯ บุก ปค.ร้อง ปธ.-คกก.เก่าขวางเลือกตั้ง

"ทนายอนันต์ชัย"พาสมาชิกสมาคมฮินดูฯ บุก ปค.ร้อง ปธ.-คกก.เก่าขวางเลือกตั้ง

ทำไมคนไทยถึงชอบกิน บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป มากขนาดนี้

ทำไมคนไทยถึงชอบกิน บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป มากขนาดนี้

"ทนายเดชา" ฝากข้อความถึงคนที่ไม่ชอบตน งานนี้ชาวเน็ตแห่ถูกใจ

"ทนายเดชา" ฝากข้อความถึงคนที่ไม่ชอบตน งานนี้ชาวเน็ตแห่ถูกใจ

โปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อใหม่ เจ้าคุณพระสินีนาถ พิลาสกัลยาณี

โปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อใหม่ เจ้าคุณพระสินีนาถ พิลาสกัลยาณี

"ปู มัณฑนา" เผยแจ้งความเอาผิดเกรียนคีย์บอร์ด ล็อตแรก 100 เคส

"ปู มัณฑนา" เผยแจ้งความเอาผิดเกรียนคีย์บอร์ด ล็อตแรก 100 เคส

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

heading-ข่าวที่เกี่ยวข้อง