ยานยนต์

heading-ยานยนต์

ใช้รถต้องรู้! “การบีบแตร” อย่างไรให้ถูกวิธี จะได้ไม่ดราม่าบนถนน

23 เม.ย. 2567 | 12:57 น.
ใช้รถต้องรู้! “การบีบแตร” อย่างไรให้ถูกวิธี จะได้ไม่ดราม่าบนถนน

Carfreedom เผยวิธีบีบแตรรถอย่างไรให้ถูกหลัก ลดความเสี่ยงด้านอารมณ์ ไม่เสี่ยงมีเรื่องทะเลาะวิวาท ซึ่งหากรู้จักใช้แตรรถยนต์ให้ถูกต้อง รับรองได้ว่า คุณจะขับรถได้อย่างปลอดภัยไร้กังวลแน่นอนครับ!

ใช้รถต้องรู้! “การบีบแตร” อย่างไรให้ถูกวิธี จะได้ไม่ดราม่าบนถนน 

ใช้รถต้องรู้! “การบีบแตร” อย่างไรให้ถูกวิธี จะได้ไม่ดราม่าบนถนน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

heading-ข่าวที่เกี่ยวข้อง

แตรรถยนต์แต่ละแบบบอกอะไรได้บ้าง?

-“ปิ๊ด” เสียงบีบแตรแบบสั้นๆ เบาๆ ส่วนใหญ่จะหมายถึงการบีบเตือนรถคันอื่นระวัง 
-“ปื๊ด ปิ๊ด ปิ๊ด ปิ๊ด” เสียงแตรรถยนต์ที่บีบแบบเบาๆ สั้นๆ ต่อเนื่องหลายครั้ง เหมือนการทักทาย
–“ปี๊ดดดดดดดดดดดดดด” เสียงบีบแตรแบบยาว และมีเสียงดัง ให้ความรู้สึกเป็นการเตือน แต่ค่อนข้างจะมีอารมณ์เพิ่มมากขึ้นแล้ว 
 -“ปี๊ดดดดดด ปี๊ดดดดดด ปี๊ดดดดดด ปี๊ดดดดดด” เสียงบีบแตรแบบดังๆ ยาวๆ ต่อเนื่องกันหลายครั้ง ถือเป็นการเตือนและบ่นบอกว่าอารมณ์เริ่มรุนแรงหัวร้อนเพิ่มมากขึ้น หากหลีกเลี่ยงได้แนะนำว่าไม่ควรทำ เพราะจะทำให้เกิดการกระทบกระทั่งได้ง่ายมาก
-“ปี๊ดดดดดดดดดดดดดดดดด” เสียงบีบแตรยาวแบบต่อเนื่อง เป็นอาการหัวร้อนขั้นสูงสุด บ่งบอกความไม่พอใจมากๆ หรือจะเรียกง่ายๆว่าเป็นการด่าบนท้องถนนนั่นเอง

ใช้รถต้องรู้! “การบีบแตร” อย่างไรให้ถูกวิธี จะได้ไม่ดราม่าบนถนน

เทคนิคใช้แตรรถยนต์ให้ถูกวิธี

-“ใช้เสียงแตรให้เหมาะสม” และไม่ดัดแปลงเสียงแตรรถยนต์ให้ดังจนเกินไป เพราะนอกจากจะรบกวนผู้อื่นอาจจะก่อเกิดความไม่พอใจจนนำไปสู่การกระทบกระทั่งได้
-“บีบแตรเมื่อผ่านโค้งหักศอก” หรือบริเวณมุมอับที่ไม่สามารถมองเห็นรถยนต์ที่สวนทางมาได้ เพื่อเป็นการบอกรถคันที่กำลังจะสวนทางมาได้ระมัดระวังมากขึ้น
-“หากเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินขึ้น” เช่น มีผู้บาดเจ็บ พบเห็นคนโดนชิงทรัพย์ มีก็สามารถใช้สัญญาณแตรแบบเสียงดังและลากยาวได้ เพื่อขอความช่วยเหลือจากคนรอบข้าง
-“เมื่อพบป้ายห้ามใช้แตรรถยนต์” หรือห้ามส่งเสียงดัง เช่นในพื้นที่โรงพยาบาล ก็ควรหลีกเลี่ยงการแตรรถยนต์


อย่างไรก็ตาม พระราชบัญญัติการจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 14 ระบุว่า การใช้เสียงสัญญาณ ผู้ขับขี่จะใช้ได้เฉพาะเมื่อจำเป็นหรือป้องกันอุบัติเหตุเท่านั้น แต่จะใช้เสียงยาวหรือซ้ำเกินควรไม่ได้

หากทำผิดมาตรา 14 วรรค 2 จะมีบทลงโทษตามมาตรา 150 (1) โดยมีโทษปรับ 500 บาท รวมถึงสถานที่ที่มีป้ายงดใช้เสียงด้วย อาทิ วัด โรงพยาบาล โรงเรียน เขตพระราชฐาน เพื่อไม่ให้เสียงสัญญาณแตรไปรบกวนในเขตที่ติดตั้งป้ายเหล่านั้น ซึ่งหากฝ่าฝืนจะมีบทลงโทษปรับตามมาตรา 148 ด้วย โดยมีโทษปรับไม่เกิน 500 บาท


Cr.สำนักสวัสดิภาพการขนส่งทางบก กรมการขนส่งทางบก

ข่าวล่าสุด

heading-ข่าวล่าสุด

ข่าวเด่น

ราชกิจจาฯ ประกาศ แต่งตั้งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ จำนวน 14 ราย

ราชกิจจาฯ ประกาศ แต่งตั้งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ จำนวน 14 ราย

"หมอดัง" เตือน ยาคู่ยอดฮิตหายปวดแต่ไตพัง กินผิดชีวิตเปลี่ยน

"หมอดัง" เตือน ยาคู่ยอดฮิตหายปวดแต่ไตพัง กินผิดชีวิตเปลี่ยน

"ทนายดัง" เคลียร์ชัด ใครถูกผิด ปมเดือดกระบะ vs บีเอ็มป้ายแดง

"ทนายดัง" เคลียร์ชัด ใครถูกผิด ปมเดือดกระบะ vs บีเอ็มป้ายแดง

แม่ดีใจ เจอแล้ว "น้องแบม" สาวน้อย 15  เปิดใจถึงสาเหตุ หนีออกจากบ้าน

แม่ดีใจ เจอแล้ว "น้องแบม" สาวน้อย 15 เปิดใจถึงสาเหตุ หนีออกจากบ้าน

หนุ่ม กรรชัย ตอบกลับเพจดัง หลังเผยจุดอ่อน เรื่องที่ไม่กล้านำเสนอ

หนุ่ม กรรชัย ตอบกลับเพจดัง หลังเผยจุดอ่อน เรื่องที่ไม่กล้านำเสนอ