ความเชื่อ

heading-ความเชื่อ

งานนวราตรี 2565 วันไหน และ นวราตรี 9 ปาง มีอะไรบ้าง

25 ก.ย. 2565 | 13:00 น.
งานนวราตรี 2565 วันไหน และ นวราตรี 9 ปาง มีอะไรบ้าง

เปิดประวัติ นวราตรี คืออะไร พร้อม ปฏิทินวัดแขก 2565 งานนวราตรี 2565 ตรงกับวันไหน และ นวราตรี 9 ปาง มีอะไรบ้าง ครบจบในบทความนี้

งานนวราตรี 2565 ประเพณีสำคัญ วัดแขก สีลม นวราตรี ประเพณีสุดยิ่งใหญ่ที่มีประชาชนให้ความสนใจเป็นจำนวนมาก สายมูห้ามพลาด เริ่มงานนวราตรี ตั้งแต่วันที่ 25 กันยายน - 7 ตุลาคม 2565 

งานนวราตรี 2565 งานวัดแขก 2565

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

heading-ข่าวที่เกี่ยวข้อง

นวราตรี ประวัติ

นวราตรี เป็นเทศกาลที่อุทิศเพื่อการสักการะบูชาประจำปี แด่ พระแม่ทุรคา คำว่า นวราตรี หมายถึงคำว่า เก้าคืน ในภาษาสันสกฤต ในช่วงเก้าคืนนี้จะมีการ บูชาพระแม่ทุรคา และ พระแม่ปารวตี ในภาคปางต่าง ๆ เก้าปาง และในวันสุดท้าย คือ วันที่สิบมักจะเรียกว่าเป็นวันวิชยาทศมี หรือ “ทศหรา” ซึ่งเป็นวันที่สำคัญสุดของเทศกาลนี้ และมีการเฉลิมฉลองทั่วไปทั้งประเทศอินเดีย

งานนวราตรี 2565 วันไหน 

นวราตรี พ.ศ. 2565. เริ่มตั้งแต่: วันจันทร์, 25 กันยายน จนถึง: วันพุธ, 7 ตุลาคม

นวราตรี 9 ปาง มีอะไรบ้าง

1. ปางไศลบุตรี (shailputri) ปางพระปารวตี ผู้เป็นธิดาของพระหิมวัต ผู้เป็นใหญ่ปกครองภูเขาหิมาลัย

2. ปางพรหมจาริณี (bramcharini) ปางที่พระอุมาออกบำเพ็ญตบะเพื่อบูชาพระศิวะ กระทั่งเป็นที่พอพระทัย จึงวิวาห์ด้วย

3. ปางจันทราฆัณฐ์ (chandraghanta) ปางของพระทุรคาที่ทรงปราบอสูร ฆัณฑาและนำสันติสุขกลับคืนมาสู่โลก

4. ปางกูษมัณฑา (kushmanda) ปางที่มีรัศมีเปล่งปลั่งในสถานะผู้สร้างสรรค์จักรวาล

5. ปางสกันธ์มาตา (skandmata) ปางอุ้มพระสกันธ (ขันธกุมาร) ไว้บนตัก แสดงถึงความรักของมารดาที่มีต่อบุตร

6. ปางกาตยะยานี (kaatyayani) ปาง 4 กร แห่งการทำลายมารร้ายในจิตใจ ประทานสุขภาพที่แข็งแรงแก่สาวก

7. ปางกาลราตรี (kaalratri) ปางที่มีผิวดำ หมายถึงการทำลายซึ่งอวิชชา ความโง่เขลาผู้อยู่เหนือการเวลา

8. ปางมหาเคารี (mahagauri) ปางประทานพรให้สาวกประสบแต่ความสุขสวัสดิ์มงคล

9. ปางสิทธิธาตรี (siddhidatri) ปางประทานโอกาสให้เหล่าเทพ ฤาษี สิทธา เทวดา คนธรรพ์ อสูร ยักษ์ สาวกที่เข้าเฝ้า

งานนวราตรี 2565 วันไหน  งานนวราตรี 2565 นวราตรี 9 ปาง มีอะไรบ้าง

ปฏิทินจัดงานนวราตรี 2565 วัดแขก สีลม

วันอาทิตย์ที่ 25 กันยายน 2565

พิธีบูชาองค์พระพิฆเนศวร (บรมครู) ประจำปี 2565 พิธีบูชาเข้าเริ่มเวลา 09.00 น. พิธีบูชาเทพประจำแผ่นดิน, พิธีบูชาเทพแห่งดาวนพเคราะห์ทั้งเก้า, พิธีบูชาเพื่อขออนุญาตต่อองค์มทาเทวีและมหาเทพทั้งหลายที่ประดิษฐานในวัดฯ เพื่อเริ่มงานนวราตรีประจำปี พิธีบูชาเย็น เริ่มเวลา 16.00 น. เสร็จพิธีอัญเชิญพิฆเนศวร, องค์พระแม่ศรีมหาอุมาเทวีออกแห่ ในเส้นทางถนนปั้น

วันจันทร์ที่ 26 กันยายน 2565

เริ่มงานพิธีนวราตรี ประจำปี 2565 (Navarathri 2022) พิธีบูชาเช้าเริ่มเวลา 09.00 น. พิธีบูชาเย็นเริ่มเวลา 16.00 น. อัญเชิญธงสิงห์ขึ้นเสา เวลาประมาณ 18.30 น. (บูชาองค์พระแม่ครีมหาทุรคาเทวี)

วันอังคารที่ 27 กันยายน 2565

พิธีบูชาองค์พระแม่ศรีมหาทุรคาเทวี พิธีบูชาเช้าเริ่มเวลา 09.00 น. พิธีชาโฮมัมเริ่มเวลา 17.00 น. พิธีบูชาใหญ่เริ่มเวลา 19.30 น. เป็นต้นไป

วันพุธที่ 28 กันยายน 2565

พิธีบูชาองค์พระแม่ศรีมหาทุรคาเทวี พิธีบูชาเช้าเริ่มเวลา 09.00 น. พิธีชาโฮมัมเริ่มเวลา 17.00 น. พิธีบูชาใหญ่เริ่มเวลา 1930 น. เป็นต้นไป

วันพฤหัสบดีที่ 29 กันยายน 2565

พิธีบูชาองค์พระแม่ศรีมหาลักษมีเทวี (เทพเจ้าแห่งโชคลาภความอุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพย์และเงินทอง) พิธีบูชาเช้าเริ่มเวลา 09.00 น. พิธีบูชาโฮมัมเริ่มเวลา 17.00 น. พิธีบูชาใหญ่เริ่มเวลา 19.30 น. เป็นต้นไป

วันศุกร์ที่ 30 กันยายน 2565

พิธีบูชาองค์พระแม่ศรีมหาลักษมีเทวี (เทพเจ้าแห่งโชคลาภความอุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพย์และเงินทอง) พิธีบูชาเช้าเริ่มเวลา 09.00 น. พิธีบูชาโฮมัมเริ่มเวลา 17.00 น. พิธีบูชาใหญ่เริ่มเวลา 19.30 น. เป็นต้นไป

วันเสาร์ที่ 1 ตุลาคม 2565

พิธีบูชาองค์พระแม่ศรีมหาลักษมีเทวี (เทพเจ้าแห่งโชคลาภความอุดมสมบูรณ์ ด้วยทรัพย์และเงินทอง) พิธีบูชาเช้าเริ่มเวลา 09.00 น. พิธีบูชาโฮมัมเริ่มเวลา 17.00 น. พิธีบูชาใหญ่เริ่มเวลา 19.30 น. เป็นต้นไป

วันอาทิตย์ที่ 2 ตุลาคม 2565

พิธีอภิเษกสมรสขององค์พระแม่ศรีมหาอุมาเทวี และองค์พระศิวะมหาเทพ พิธีบูชาเช้าเริ่มเวลา 09.00 น. พิธีบูชาโฮมัมเริ่มเวลา 17.00 น. พิธีบูชาใหญ่เริ่มเวลา 19.30 น. เป็นต้นไป

วันจันทร์ที่ 3 ตุลาคม 2565

พิธีบูชาองค์พระแม่ฯ บูชาองค์พระศิวะฯ พิธีบูชาเช้าเริ่มเวลา 09.00 น. พิธีบูชาโฮมัมเริ่มเวลา 17.00 น. พิธีบูชาใหญ่เริ่มเวลา 1930 น. เป็นต้นไป

วันอังคารที่ 4 ตุลาคม 2565

พิธีบูชาองค์พระแม่ศรีมหาสรัสวดีเทวี พิธีบูชาเช้าเริ่มเวลา 09.00 น. พิธีบูชาโฮมัมเริ่มเวลา 17.00 น. พิธีบูชาใหญ่เริ่มเวลา 19.30 น. เป็นตันไป

วันพุธที่ 5 ตุลาคม 2565

งานแห่ประเพณีประจำปีวัดพระศรีมหาอมาเทวี วันวิชัยทัสมิ (VIYAJA DASMI) ขบวนแห่ออกจากเทวสถานวัดพระศรีมหาอุมาเทวีเวลา 19.30 น.

วันศุกร์ที่ 7 ตุลาคม 2565

พิธีอัญเชิญธงสิงห์ลง และอาบน้ำคณะพราหมณ์ และคณะคนทรง (Yellow Water Festival) พิธีบูชาเย็นเริ่มเวลา 17.00 น. หลังจากเสร็จพิธี คณะพราหมณ์ผูกข้อมือด้วยสายสิญจน์ ที่ทำพิธีมาแล้วให้สานุศิษย์ทุกท่านฟรี

**งานพิธีบูชาองค์พระวิษณุ (PURATTASI SANIKIZHAMAI, MAHAVISHNU BHOOJA)* วันเสาร์ที่ 24 กันยายน 2565 / วันเสาร์ที่ 1 ตุลาคม 2565 / วันเสาร์ที่ 8 ตุลาคม 2565 / วันเสาร์ที่ 15 ตุลาคม 2565 หลังเสร็จพิธีเลี้ยงอาหารมังสวิรัติแบบอินเดีย ตลอดทุกพิธีบูชาองค์พระวิษณุ

**หมายเหตุ :

ทุกวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำของทุกเดือน จะมีพิธีบูชาองค์พระแม่ศรีมหาอุมาเทวี พิธีบูชาเย็นเริ่มเวลา 17.30 น. เสร็จพิธีอัญเชิญองค์พระแม่ศรีมหาอุมาเทวี ออกแห่ฯ

ปฏิทินจัดงานนวราตรี 2565 วัดแขก สีลม งานนวราตรี 2565 วันไหน และ นวราตรี 9 ปาง มีอะไรบ้าง

ที่มา : พราหมณ์พิธี พราหมณ์ชาคริต สอนวงษา

ข่าวเด่น

เอส แอนด์ พี ต้อนรับเทศกาลแห่งความสุขจัดงาน “S&P SWEET HAPPINESS 2025”

เอส แอนด์ พี ต้อนรับเทศกาลแห่งความสุขจัดงาน “S&P SWEET HAPPINESS 2025”

"เบ๊น อาปาเช่" ซัดชาวเน็ตแซะ "มิกซ์" ลูกชายหม่ำ ดังเพราะบารมีพ่อ

"เบ๊น อาปาเช่" ซัดชาวเน็ตแซะ "มิกซ์" ลูกชายหม่ำ ดังเพราะบารมีพ่อ

"ทนายธรรมราช" เผยคำใบ้ "ทนายคนใหม่" ของทนายตั้ม

"ทนายธรรมราช" เผยคำใบ้ "ทนายคนใหม่" ของทนายตั้ม

ศาลไม่ให้ประกันตัว ภรรยา และ ลูกสาวหมอบุญ นำตัวกลับเข้าเรือนจำตามเดิม

ศาลไม่ให้ประกันตัว ภรรยา และ ลูกสาวหมอบุญ นำตัวกลับเข้าเรือนจำตามเดิม

แม่น้ำหนึ่งให้เลขเด็ดมาแรง งวดนี้ 1/12/67 คอหวยห้ามพลาด

แม่น้ำหนึ่งให้เลขเด็ดมาแรง งวดนี้ 1/12/67 คอหวยห้ามพลาด

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

heading-ข่าวที่เกี่ยวข้อง