เปิดตำนาน พญานาคสีดำ ตระกูลกัณหาโคตมะ
เปิดตำนาน ความเชื่อ พญานาคสีดำ หรือ องค์ดำแสนสิริยันทรานาคราช มีความเป็นมาอย่างไร ไปพบกับคำตอบได้ในบทความนี้ค่ะ
พญานาคสีดำ วันนี้ทีมข่าว Thainews Online จะพาทุกท่านมาทำความรู้จัก เปิดตำนาน พญานาคสีดำ ตระกูลกัณหาโคตมะ หรือ องค์ดำแสนสิริจันทรานาคราช จะประวัติความเป็นมาอย่างไรบ้างนั้นไปติดตามกันได้เลยค่ะ
พญานาคสีดำ คือใคร
องค์ดำแสนศิริจันทรานาคราช 1 ใน 9 นาคาธิบดี นาคราชแห่งท้องทะเลอันดามัน
พญานาคสีดำ มีชื่ออะไรบ้าง
พญาดำแสนศิริจันทรานาคราช หรือ องค์ดำแสน
พญานาคสีดำ ฝัน
นับว่าเป็นฝันที่ดีหากคุณฝันถึงองค์พญานาค สามารถทำไปตีความหมายเป็นตัวเลขได้ค่ะ สัตว์ใหญ่ส่วนมากจะเป็นเลข 9 และพิจารณาจากองค์ประกอบในความฝันอีกครั้ง เช่น ฝันเห็น พญานาค 1 ตัว หรือ ฝันเห็นพญานาค 1 เศียร ก็ใส่จำนวนไปค่ะ
พญานาคสีดำ กัณหาโคตมะ
พญานาคตระกูลที่มีผิวกายหรือเกล็ดเป็นสีดำนิลกาฬ ส่วนใหญ่ถือกำเนิดแบบสังเสทชะคือเกิดจากเหงื่อไคลและสิ่งหมักหมมต่างๆ มักมีร่างกายกำยำบึกบึน แม้ไม่ถือว่าเป็นนาคชั้นสูง แต่ก็มีอำนาจและอิทธิฤทธิ์ปฏิหาริย์ไม่แพ้ตระกูลอื่น พบเจอได้ยาก ชอบอาศัยในท้องน้ำลึกและที่เร้นลับ มักจะมีหน้าที่เฝ้าสมบัติของเมืองบาดาล
และแม้จะเกิดในตระกูลที่ต่ำกว่าตระกูลอื่น แต่หากหมั่นบำเพ็ญเพียรจนมากญาณบารมี ก็สามารถเป็นพญานาคชั้นปกครองได้เช่นกัน พญานาคในตระกูลนี้ที่รู้จักกันดี คือ องค์ดำแสนสิริจันทรานาคราช กษัตริย์นาคราชยอดนักรบแห่งเมืองบาดาล
พญานาคสีดำ อยู่ที่ไหน
- วัดถ้ำคีรีธรรม
- วัดถ้ำวังผาพญานาคราช
- วัดภูยอดรวย
พญานาคสีดำ ประวัติ
พญาดำแสนศิริจันทรานาคราช หรือ องค์ดำแสน เป็นพญานาคาราชตระกูลกัณหาโคตรมะ มีผิวกายเป็นสีดำ อายุเก้าหมื่นปีมนุษย์
องค์ดำแสน เป็นพญานาคในตระกูลกัณหาโคตรมะ เป็นหนึ่งในสี่ตระกูลของพญานาคผู้เชี่ยวชาญด้านการรบ ชอบในศิลปะการต่อสู้อย่างมาก เพราะต้องมีหน้าที่หลัก คือ การทำลายล้างคนชั่วร้าย หรือพญานาคชั่วร้าย
องค์ดำแสน เป็นพญานาหนุ่มรูปงาม และอาศัย ณ วังบาดาล อยู่ทางตอนใต้ของไทย แถบทะเลอันดามัน ท่านมีนิสัยโอบอ้อมอารี มีเมตตาต่อทุกผู้ ซึ่งผิดจากวงศ์วานของพญานาคตระกูลกัณหาโคตรมะอื่นๆซึ่งมักเป็นพญานาคที่มีนิสัยเกรี้ยวกราว ห่ามๆ และดุดันมาก
จริงๆ แล้วพญานาคตระกูลนี้ หาใช่เป็นอันธพาล แต่มีจิตใจดีงามทีเดียว เพียงแต่กิริยามารยาทแข็งกระด้างเกินไป จึงไม่ถูกอัธยาศัยของตระกูลอื่น
องค์ดำแสนมีความฉลาดเฉลียว เรียนศิลปะวิทยาการใดๆ ทั้งศาสตร์การต่อสู้ วิชามนตรา วิชาอำพรางกาย วิชาศาตราวุธ ก็แตกฉานกว่านาคอื่นๆ จึงเป็นที่รักและเอ็นดูแก่เหล่าทิพยาจารย์ทั้งหลาย
องค์ดำแสนได้รับมอบหมายให้เป็นราชทูตของวังบาดาลไปเจริญสัมพันธไมตรีกับ พญาอนันตนาคราช ราชาแห่งนาคตระกูลวิรูปักข์ที่มีลำตัวสีทอง ผู้ครองวังบาดาลอันรโหฐาน และได้เป็นที่รักของพระองค์
ต่อมาองค์ดำแสนจึงได้ขันอาสา พญาอนันตนาคราช ไปสู้รบกับกองกำลังพญาครุฑที่มารุกราน ด้วยวิชาการรบที่เชี่ยวชาญ อีกทั้งยังได้ “หอกศรีอนันต์เศษ” อาวุธวิเศษที่ได้รับประทานจากพญาอนันตนาคราช ที่สามารถซัดออกไปคราเดียว แต่กระจายตัวเองออกมาเป็น 2 เล่ม 3 เล่ม และขยายแบ่งเป็นร้อยๆ พันๆ เล่มเข้าพุ่งแทงเหล่าครุฑจนตายสิ้น
จนองค์ดำแสนได้รับชัยชนะ และได้นำเอาสมบัติของพญาครุฑกลับมามอบให้เป็นกำนัลแด่พญาอนันตนาคราช
และพญาอนันตนาคราช ได้ทรงมอบพระธิดา “เทวีวิชุราอารดี” ผู้มีความงดงามเป็นเลิศกว่านางนาคิณีใด ให้เป็นพระชายา เพื่อเป็นการผูกสัมพันธไมตรี
องค์ดำแสนได้นำพระชายากลับมา ยังวังบาดาลของตน ชาวนาคตระกูลกันหาโคตรมะต่างแซ่ซ้องในวีรกรรมขององค์ดำแสน และจัดพิธีปราบดาภิเษกเป็น นาคาธิบดี 1 ใน 9 กษัตริย์นาคราช
นามว่า “พญาองค์ดำแสนสิริจันทรานาคราช”
ครองวังบาดาล ณ ต่อจากพระราชบิดาที่สละราษฎร์สมบัติเพื่อบำเพ็ญสมาบัติ
กาลเวลาล่วงไป องค์ดำแสนครองราชย์สมบัติ ณ วังบาดาลจึงเบื่อหน่ายและสละราชสมบัติต่อให้ราชโอรสสืบสานต่อ
และพระองค์ได้นำ “หอกศรีอนันต์เศษ” ที่รับประทานจากพญาอนันตนาคราช ได้เคยทำศึกเข่นฆ่าศัตรูมากมายไปทำลายตรงหน้าผา โดยทำลายให้เป็นผุยผงหล่นกระจายไปในทะเล
แต่ด้วยอานุภาพแห่งหอกที่หล่อจากบุญญาธิการของพญาอนันตนาคราชนั้น ทำให้ผงของหอกนั้นมีสีเทามันวาวขยายแผ่ปริมาณออกไปอย่างอนันต์ และกระจายไป 2 ทิศทาง คือ
ทางแรก ได้ไหลไปตามน้ำและไปรวมกันอยู่ตามชายฝั่งของเกาะหนึ่งไม่ไกลจากวังบาดาลของพระองค์
ต่อมามีผู้คนมาอาศัยเกาะนี้ และได้ขุดเจอผงแร่ที่เกิดจากหอกศรีอนันต์เศษ ที่เป็นเกร็ดประกายใส จึงเรียกว่า “แร่ดีบุก” เป็นเหมือนก้อนเกร็ดเม็ดเล็กๆที่ขยายตัวเองได้จนเต็มพื้นที่เกาะเป็นภูเขา ชาวบ้านจึงเรียกเกาะนั้นว่า “เกาะภูเกร็ด” ต่อมาจึงเรียกว่า “เกาะภูเก็ต”
ส่วนทิศทางที่สองผงศรีอนันตเศษ ได้ลอยน้ำไปทางเหนือซึ่งไปรวมตัวยังริมชายฝั่งอันดามันกลายเป็นแร่ใส กาลต่อมามนุษย์ได้มาตั้งรกรากที่นั่นและได้นำเอาผงแร่ที่เกิดจากหอกศรีอนันค์เศษนั้นมาสร้างวัตุถต่างๆ และแร่นี้ได้ขยายตัวไม่จำกัดเช่นกัน ยิ่งนำไปใช้ยิ่งเพิ่มปริมาณ จนเอ่อนองพื้นที่รอบชายฝั่ง ชาวบ้านจึงเรียกพื้นที่เมืองนั้นว่า แร่นอง หรือ “เมืองแร่นอง” จนต่อมาจึงเพี้ยนกลายมาเป็น “เมืองระนอง”
ขอบคุณ : รักคำราม