สุขภาพ-ความงาม

heading-สุขภาพ-ความงาม

พฤติกรรมนอนกรน ส่งผลร้ายต่อร่างกาย กว่าที่คุณคิด 

20 ส.ค. 2565 | 17:21 น.
พฤติกรรมนอนกรน ส่งผลร้ายต่อร่างกาย กว่าที่คุณคิด 

พฤติกรรมนอนกรน นั้นปัจจุบันนั้น เกิดขึ้นได้กับทุกคน ไม่ว่าจะเป็นเพศ หญิง หรือ ชาย แถบจะทุกวัยเลยก็ว่าได้ แต่ว่าใครจะทราบว่า การนอนกรนนั้น ส่งผลร้ายต่อร่ายกาย มากน้อยแค่ไหน สำหรับวันนี้เรามีคำตอบมาให้ครับ

พฤติกรรมนอนกรน ส่งผลร้ายต่อร่างกาย กว่าที่คุณคิด การ นอนกรน เกิดจาก ระบบทางเดินหายใจ ส่วนบนตีบแคบ กล่าวคือในขณะที่คนเรา นอนหลับสนิทนั้น กล้ามเนื้อต่างๆ ในช่องปากจะผ่อนคลายและหย่อนลงมาปิดกั้นทางเดินหายใจ ทำให้ลมหายใจไม่สามารถผ่านไปยังหลอดลมและปอดได้อย่างสะดวก ส่งผลให้ร่างกายได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ และเนื่องจากช่องลมถูกปิดกั้นจนเล็กลงจึงทำให้เกิดเป็นเสียงกรนขึ้น

พฤติกรรมนอนกรน ส่งผลร้ายต่อร่างกาย กว่าที่คุณคิด 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

heading-ข่าวที่เกี่ยวข้อง

นอนกรนแค่ไหน เข้าขั้นอันตราย 

โดยอาจเป็นการบันทึกเสียงระหว่างการนอนหลับหรือให้บุคคลใกล้ชิดเป็นผู้แจ้งเตือนว่ามีอาการเหล่านี้หรือไม่ คือ กรนเสียงดังมากจนรบกวนการนอนของผู้อื่น กรนสลับกับหยุดหายใจเป็นช่วงๆ กรนแล้วสะดุ้งเฮือกเพื่อหาอากาศหายใจ ส่วนอาการร่วมอื่นๆ ได้แก่ ปัสสาวะกลางคืนบ่อยครั้ง รู้สึกไม่สดชื่นในตอนเช้าและพบว่ามีอาการวิงเวียน ปวดศีรษะ ง่วงมากผิดปกติในเวลากลางวัน ความดันโลหิตสูงขึ้น

หากพบว่ามีอาการดังกล่าว ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทำการวินิจไฉเพื่อรับการตรวจทางห้องปฏิบัติการการนอน โดยด่วน 

 

การตรวจวินิจฉัยการนอนกรนและภาวะหยุดหายใจขณะหลับสามารถทำได้โดยการตรวจทางห้องปฏิบัติการการนอน ซึ่งผู้เข้ารับการตรวจจำเป็นต้องนอนพักในโรงพยาบาล 1 คืน ทั้งนี้ การตรวจจะแบ่งออกเป็น 2 ช่วง โดยช่วงแรกจะเป็นการตรวจว่ามีการหยุดหายใจขณะหลับหรือไม่และมากน้อยเพียงใด และช่วงที่สองเป็นช่วงของการบำบัดรักษาอาการ ซึ่งการตรวจทางห้องปฏิบัติการการนอนนี้จะช่วยให้แพทย์ทราบประเภทการนอนกรนและความรุนแรงของโรคของผู้ป่วยได้ว่าอยู่ในภาวะนอนกรนธรรมดาที่ไม่มีการหยุดหายใจร่วมด้วย (primary snoring) หรือกรนอันตราย (obstructive sleep apnea) ที่มีภาวะหยุดหายใจขาดอากาศขณะนอนหลับร่วมด้วยเพื่อให้การรักษาที่ได้ผลดีกับผู้ป่วยมากที่สุด

การนอนกรนนั้น หากไม่รุนแรงมากนักสามารถรักษาได้ด้วยตัวเองโดยการควบคุมน้ำหนักตัวไม่ให้เกินเกณฑ์ที่กำหนด ออกกำลังอย่างสม่ำเสมอ งดดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลฮอลล์ ไม่สูบบุหรี่ และปรับพฤติกรรมการนอนให้เพียงพอและเป็นเวลา แต่หากการนอนกรนเริ่มส่งสัญญาณอันตรายตามอาการที่ได้กล่าวไว้แล้วเบื้องต้น ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางเพื่อเข้ารับการตรวจรักษาก่อนที่อาการจะรุนแรงและนำไปสู่ปัญหาสุขภาพอื่นๆ ที่ยากต่อการเยียวยา

 

Cr.โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์

ข่าวเด่น

"ทนายอนันต์ชัย"พาสมาชิกสมาคมฮินดูฯ บุก ปค.ร้อง ปธ.-คกก.เก่าขวางเลือกตั้ง

"ทนายอนันต์ชัย"พาสมาชิกสมาคมฮินดูฯ บุก ปค.ร้อง ปธ.-คกก.เก่าขวางเลือกตั้ง

ทำไมคนไทยถึงชอบกิน บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป มากขนาดนี้

ทำไมคนไทยถึงชอบกิน บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป มากขนาดนี้

"ทนายเดชา" ฝากข้อความถึงคนที่ไม่ชอบตน งานนี้ชาวเน็ตแห่ถูกใจ

"ทนายเดชา" ฝากข้อความถึงคนที่ไม่ชอบตน งานนี้ชาวเน็ตแห่ถูกใจ

โปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อใหม่ เจ้าคุณพระสินีนาถ พิลาสกัลยาณี

โปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อใหม่ เจ้าคุณพระสินีนาถ พิลาสกัลยาณี

"ปู มัณฑนา" เผยแจ้งความเอาผิดเกรียนคีย์บอร์ด ล็อตแรก 100 เคส

"ปู มัณฑนา" เผยแจ้งความเอาผิดเกรียนคีย์บอร์ด ล็อตแรก 100 เคส

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

heading-ข่าวที่เกี่ยวข้อง