ทราบหรือไม่ “ดื่มน้ำ” มากเกินไป ก็ป่วยได้ แล้วต้องดื่มแค่ไหนถึงพอดี?
จากกรณี นักแสดงสาว“เจนิส-เจณิสตา พรหมผดุงชีพ” ป่วยด้วยอาการแขนขาชา หนาวสั่น อาเจียน ร่างกายขาดแร่ธาตุเกือบขั้นวิกฤติ
ทราบหรือไม่ “ดื่มน้ำ” มากเกินไป ก็ป่วยได้ แล้วต้องดื่มแค่ไหนถึงพอดี?
แปลกแต่จริง! จากกรณี นักแสดงสาว“เจนิส-เจณิสตา พรหมผดุงชีพ” ป่วยด้วยอาการแขนขาชา หนาวสั่น อาเจียน ร่างกายขาดแร่ธาตุเกือบขั้นวิกฤติ ฯลฯ ซึ่งความเชื่อที่ว่า “ยิ่งกินน้ำมากยิ่งดีต่อสุขภาพ” อาจไม่จริงเสมอไป
โดย ดาราสาวคนดังกล่าวได้เข้าพบแพทย์ด้วยอาการ แขนขาชา หนาวสั่น อาเจียน ประสาทสัมผัสแย่ลง ความรู้สึกช้า เหนื่อย อ่อนเพลีย หลังจากที่หมอตรวจวินิจฉัยก็พบว่า ร่างกายขาดแร่ธาตุเกือบขั้นวิกฤติ และติดเชื้อไวรัสอีกด้วย
ดื่มน้ำมากเกินไปจนร่างกายผิดปกติ เป็นข้อมูลจริง
ข้อมูลทางการแพทย์จากเว็บไซต์ Pobpad ระบุว่า การดื่มน้ำในปริมาณมาก แม้ไม่พบอาการผิดปกติในช่วงแรก แต่หากยังดื่มน้ำปริมาณมากอย่างต่อเนื่อง จะทำให้ไตไม่สามารถขับน้ำออกไปได้หมด และอาจเกิดอาการผิดปกติ เช่น คลื่นไส้ อาเจียน รวมถึงทำให้ไตทำงานหนักขึ้น ส่งผลให้ร่างกายเกิดความเครียดและมีอาการอ่อนเพลียตามมา การ "ดื่มน้ำมากเกินไป" อาจส่งผลให้เซลล์ในร่างกายมีน้ำไปสะสมอยู่จนเกิดอาการบวม ซึ่งภาวะดังกล่าวอาจนำไปสู่อาการผิดปกติบางอย่างได้ เช่น อาการมึนงง สับสน ปวดศีรษะ และง่วงซึม จากการที่เซลล์ในสมองบวมจนเนื้อสมองได้รับแรงกดทับ นอกจากนี้ยังส่งผลให้ระดับแร่ธาตุในร่างกายลดลงผิดปกติ โดยเฉพาะ“โซเดียม” อาจทำให้เกิดตะคริวได้
แต่ถ้าในกรณีร้ายแรง (พบในผู้ป่วยบางเคสเท่านั้น แต่ในคนปกติพบได้น้อยมาก) หากดื่มน้ำในปริมาณที่มากเกินไปมากๆ และไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสมอย่างทันท่วงที อาจนำไปสู่ “ภาวะ Hyponatremia” หรือภาวะโซเดียมในเลือดต่ำ เสี่ยงเกิดอาการชัก สูญเสียการรับรู้ โคม่า ไปจนถึงขั้นเสียชีวิตได้
แล้วต้องดื่มน้ำแค่ไหนถึงเรียกว่าพอดี และร่างกายไม่ขาดน้ำ?
จริงๆ แล้ว ไม่มีสูตรตายตัวในการกำหนดปริมาณน้ำที่คุณควรดื่มต่อวัน โดยทั่วไปร่างกายของผู้หญิงและผู้ชาย ต้องการน้ำในแต่ละวันแตกต่างกันเล็กน้อย คือ ผู้หญิงวัยทำงาน ควรดื่มน้ำประมาณ 2-2.7 ลิตรต่อวัน ส่วน ผู้ชายวัยทำงาน ควรดื่มน้ำประมาณ 3-3.7 ลิตรต่อวัน หรืออาจลองคำนวณปริมาณการดื่มน้ำที่เหมาะสมสำหรับร่างกายแต่ละคน คือ ให้นำ “น้ำหนักตัว” (หน่วยเป็นกิโลกรัม) หารด้วย 30
เท่านี้ก็จะได้ปริมาณน้ำหน่วยเป็นลิตรที่ร่างกายต้องการในหนึ่งวัน ตัวอย่างเช่น หากน้ำหนักตัว 50 กิโลกรัม ก็ควรจะดื่มน้ำให้ได้ประมาณวันละ 1.66 ลิตรต่อวัน หรือวิธีง่ายๆ คือ “ดื่มน้ำวันละ 7-8 แก้วต่อวัน” ก็ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีที่จะดื่มน้ำให้เพียงพอ โดยไม่ทำให้เกิด “ภาวะขาดนำ้”
ขณะที่ “สำนักโภชนาการ กรมอนามัย” แนะนำว่าคนเราไม่ควรดื่มน้ำมากถึง 6-7 ลิตรต่อวัน เพราะจะทำให้ร่างกายได้รับน้ำปริมาณมากเกินไปในเวลารวดเร็ว จนเกิดภาวะน้ำเกินหรือน้ำเป็นพิษ (Water Intoxication) ส่งผลให้ปวดศีรษะ ตะคริว ชัก หรือกล้ามเนื้ออ่อนแรง คลื่นไส้ อาเจียน บวม ส่งผลกระทบต่อเซลล์สมอง ทำให้ความเข้มข้นของแร่ธาตุโซเดียมลดลง (Hyponatremia) ซึ่งอาจอันตายจนถึงขั้นเสียชีวิตได้
วิธีเช็ก "สีปัสสาวะ" ช่วยป้องกันการดื่มน้ำมากเกินไป
“สีปัสสาวะ” ของตนเองให้มากขึ้น เพื่อระวังไม่ให้เผลอดื่มน้ำมากเกินไป โดยสีปัสสาวะปกติจะมีตั้งแต่ “สีเหลืองซีด” ไปจนถึง “สีชา” ซึ่งสามารถบ่งชี้ถึงระดับน้ำในร่างกายได้ ดังต่อไปนี้
- หากปัสสาวะมีสีใส และเข้าห้องน้ำบ่อยๆ มากกว่า 8-10 ครั้งขึ้นไปต่อวัน หมายถึง ดื่มน้ำมากเกินไปในช่วงเวลาสั้นๆ
- หากปัสสาวะสีเหลืองอ่อน เข้าห้องน้ำไม่เกิน 6-8 ครั้งต่อวัน หมายถึง ร่างกายปกติ ระดับน้ำเหมาะสม
- หากปัสสาวะสีเข้ม เข้าห้องน้ำไม่บ่อย ปากแห้ง หมายถึง ร่างกายขาดน้ำ และต้องดื่มน้ำเพิ่มขึ้นระหว่างวัน
Cr: Pobpad, Webmed, Mayoclinic, สำนักโภชนาการ กรมอนามัย