"เครียด หงุดหงิด จิตตก" ถึงเวลาพบจิตแพทย์หรือยัง?
เนื่องจากสภาวะการณ์รอบตัวของแต่ละคนแตกต่างกันตามพื้นฐานครอบครัวและสังคมที่ต้องพบเจอในชีวิตประจำวัน เรื่องราวต่าง ๆ อาจจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อทั้งสภาพร่างกายและจิตใจ
อาการเข้าข่ายต้องปรึกษาจิตแพทย์
. อารมณ์สวิง เปลี่ยนแปลง ขึ้นลงง่าย
. อดทนต่อสภาวะรอบตัวได้ยากขึ้น
. ไม่มีสมาธิในการทำกิจกรรม หรือการงานต่าง ๆ
. เครียด ใจสั่น หัวใจเต้นแรง ตื่นเต้นกับทุกเหตุการณ์รอบตัว
. มีอารมณ์ทั้งเศร้า เหงา หรือจิตตก อยากแต่จะหาคนระบายให้ฟัง
. อยากแยกตัวกับสังคม เก็บตัว พูดคุยน้อยลง
. ไม่อยากทำอะไร ขี้เกียจ เบื่อโลกและผู้คน
. อยากนอน มีอาการการนอนที่ผิดปกติไป หรือ อาจจะนอนไม่หลับ
. ทำอะไรที่ไม่เคยทำ มีพฤติกรรมก้าวร้าว หรือ การใช้จ่ายที่แปลกไป
. กลัวสื่งใดสิ่งหนึ่ง ย้ำคิดย้ำทำ หวาดระแวง หูแว่ว เห็นภาพหลอน
. ไม่อยากมีชีวิตอยู่ เริ่มมีความคิดอยากทำร้ายตัวเอง และพยายามอยากจะคิดสั้นฆ่าตัวตาย
หากสังเกตตัวเองได้ว่า “เริ่มเข้าข่ายที่มีพฤติกรรมดังกล่าว” ควรถึงเวลาแล้วที่คุณควรจะต้องไปปรึกษาจิตแพทย์ เพื่อดูว่าในกลุ่มอาการของโรคที่คุณเป็นเข้าข่ายอาการของกลุ่มอาการของโรคจิตเวชประเภทใด
หลายคนอาจจะคิดว่า “อาการทางจิต” ที่เกิดขึ้นเป็นแค่เพียงอารมณ์ชั่ววูบ มีแต่คนที่เป็นโรคหรือคนใกล้ชิดเท่านั้น ที่จะรับรู้ว่าได้ว่า ตนเองเริ่มมีสัณญาณเตือนที่ผิดแปลกไปจากเดิม แต่โรคทางจิตเวชนั้นมีกลุ่มอาการของโรคที่หลากหลาย ยกตัวอย่างเช่น
กลุ่มอาการของโรคจิตเวชที่พบได้แก่
. โรคแพนิก
. โรคซึมเศร้า
. โรคจิตเภท
. โรคอารมณ์สองขั้ว หรือ ไบโพลาร์
. โรคสมองเสื่อม
. โรคจิตหลงผิด
. โรคเครียดจากเหตุการณ์ร้ายแรง ฯลฯ
หากคุณหรือคนใกล้ชิดมีอาการดังกล่าว อย่าปล่อยอาการเหล่านี้ไว้ ควรรีบไปพบจิตแพทย์ เพื่อเข้ารับคำปรึกษา โดยจิตแพทย์อาจจะร่วมมือกับนักจิตวิทยา ในการช่วยเหลือให้คำแนะนำ เพื่อบอกเล่าเรื่องราวที่เกิดขึ้น พร้อมปรับพฤติกรรม หรือให้ยารักษาโรค เพื่อปรับสารเคมีในสมองให้แก่ผู้ป่วยเพื่อการดูแลตัวเองให้เต็มประสิทธิภาพต่อไป
ขอบคุณ : โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ