5 โรคจากนกพิราบที่ควรระวัง เพื่อความปลอดภัยต่อสมอง
นกพิราบ เป็นตัวพาหะที่นำเชื้อโรคร้ายมาสู่มนุษย์ เนื่องจากมูลของนกพิราบ มีเชื้อราคริปโตคอคคัส นีโอฟรอร์แมนส์(Cryptococcus Neoformans) เมื่อได้รับการสูดดม หรือสัมผัสเชื้อราตัวนี้ จะส่งผลให้มีการติดเชื้อที่บริเวณปอด และลุกลามไปยังสมอง
1.ไข้หวัดนก เป็นการติดเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์เอในสัตว์ปีก
อาการ : คล้ายไข้หวัดทั่วไป เช่น มีปัญหาในระบบทางเดินหายใจ ไอหรือน้ำมูกไหล เจ็บคอ ท้องเสีย มีไข้ ปวดศีรษะ เวียนศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ เป็นต้น
2.โรคซิตตาโคซิส (Psittacosis) หรือ ไข้นกแก้ว เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย Chlamydia Psittaci ซึ่งพบบ่อยในนกพิราบ
อาการ : เล็กน้อย เช่น มีไข้ สั่น ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ หรือไอแห้ง
3.โรคคริปโตคอกโคสิส (Cryptococcosis) เกิดจากการติดเชื้อรา Cryptococcus Neoformans ที่พบได้บ่อยในมูลของนกพิราบ
อาการ : ปวดศีรษะเป็นพัก ๆ หน้ามืด เวียนศีรษะ ปวดขมับหรือเบ้าตา มีปัญหาด้านการมองเห็น อาเจียน ไอเป็นเลือด มีก้อนเนื้อที่จมูก เลือดออกจมูก มีไข้อ่อน ๆ น้ำหนักตัวลดลง และมีหลอดลมอักเสบร่วมด้วย
4.โรคฮิสโตพลาสโมซิส (Histoplasmosis) เป็นการติดเชื้อรา Histoplasma ซึ่งอยู่ในดินที่ปนเปื้อนไปด้วยมูลของนกพิราบ
อาการ : ส่วนใหญ่จะไม่มีอาการป่วยเกิดขึ้น แต่ในบางรายอาจมีไข้ ไอ หรือรู้สึกเหนื่อยล้า
5. โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ เกิดจากการสูดดมละอองของมูลนกพิราบชนิดแห้ง รวมทั้งการสัมผัสมูลของนกพิราบ สามารถติดเชื้อผ่านระบบทางเดินอาหารได้
อาการ : มีไข้ ปวดศีรษะ ตาแพ้แสง หากติดจากเชื้อไวรัส อาการจะไม่รุนแรง สามารถรักษาด้วยการรับประทานยาได้ หากติดจากเชื้อแบคทีเรีย อาการจะรุนแรง เช่น ชัก หมดสติ เป็นอัมพาต สมองพิการ สามารถเสียชีวิตได้
ผู้ที่มีความเสี่ยงที่จะได้รับอันตรายจากนกพิราบ
. บุคคลที่สัมผัสมูลนกพิราบ เช่น พนักงานทำความสะอาด ผู้ที่ชื่นชอบ และเลี้ยงนกพิราบไว้ดูเล่น
. บุคคลที่อยู่ในบริเวณที่นกพิราบ บินผ่าน หรือมาถ่ายมูลทิ้งไว้ เช่น ผู้ที่พักอาศัยอยู่ตามคอนโด
. บุคคลที่ชอบให้อาหารนกพิราบ
. เด็กเล็ก
. ผู้สูงอายุ
. ผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง ต้องได้รับยากดภูมิคุ้มกัน
. ผู้ป่วยโรคหอบหืด
. ผู้ป่วยโรคทางเดินหายใจ
ป้องกันเชื้อโรคที่เกิดจากนกพิราบ
. หลีกเลี่ยงการสัมผัสนกพิราบ หรือเข้าไปอยู่ในฝูงนกพิราบเยอะ ๆ รวมทั้งสัมผัสนกพิราบที่ตายแล้ว
. มีความจำเป็นที่ต้องอยู่ในแวดล้อมของนกพิราบ หรือมูลของนกพิราบ ควรสวมหน้ากากอนามัย และล้างมือให้สะอาด
. ไม่ให้อาหารแก่นกพิราบ
. ไล่นกพิราบออกจากที่อยู่อาศัย
. ทำลายรังนกพิราบ พร้อมทั้งทำความสะอาด
ผู้ที่มีความเสี่ยงที่จะได้รับอันตรายจากนกพิราบ ควรสร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกายแข็งแรงมากขึ้น ด้วยการออกกำลังกาย และหลีกเลี่ยงการสัมผัสนกพิราบ มูลนกพิการ และซากนกพิราบที่ตายแล้วให้มากที่สุด
ขอบคุณ : โรงพยาบาลเพชรเวช