บ้านและอสังหาริมทรัพย์

heading-บ้านและอสังหาริมทรัพย์

บ้านพัง มีปัญหา อยากกู้เงินก้อนโต มาซ่อมแซมบ้าน ควรรู้อะไรบ้างนะ

23 พ.ค. 2566 | 15:40 น.
บ้านพัง มีปัญหา อยากกู้เงินก้อนโต มาซ่อมแซมบ้าน ควรรู้อะไรบ้างนะ

สำหรับผู้ที่มีปัญหาบ้านพัง...บ้านมีปัญหานู้นนี่นั่น? แล้วอยากจะกู้เงินก้อนโต มาซ่อมแซมบ้าน ควรรู้อะไรบ้างนะ?

ขึ้นชื่อว่าบ้าน ที่พักอาศัย ก็ย่อมต้องมีการเสื่อมสภาพตามเวลา โดยเฉพาะบ้านที่สร้างมานาน ผ่านฝนผ่านแดดมามาก ยิ่งต้องระวังเป็นพิเศษเพราะอาจจะเกิดจุดรั่วซึม แตกร้าวง่ายกว่าบ้านใหม่ หากไม่เคยทำเรื่องกู้เงินซ่อมบ้านมาก่อน ย่อมเกิดความสงสัยตามมาว่า เราจะกู้เงินซ่อมบ้านได้ไหมหรือต้องทำอย่างไรบ้าง นิตยสารบ้านและสวนเลยขอนำเรื่องควรรู้ก่อนกู้เงินซ่อมบ้านมาเฉลยให้ฟังค่ะ

อยากกู้เงินก้อนโต มาซ่อมแซมบ้าน ควรรู้อะไรบ้างนะ

บ้านแบบไหนที่ควรกู้เพื่อซ่อม
   
การกู้เงินที่ต้องผ่อนชำระเป็นระยะเวลายาวนาน มีผลต่อเครดิตของเราเช่นเดียวกับการผ่อนบ้าน ผ่อนรถ ซึ่งถ้าจำเป็นต้องกู้เงินเพื่อลงทุนหรือกู้ซื้อบ้านเพิ่มในอนาคต ก็อาจมีผลต่อการพิจารณาของธนาคารด้วย ดังนั้นจึงควรคิดก่อนว่าบ้านของเราจำเป็นแค่ไหนที่จะต้องกู้เงิน ถ้าต้องการซ่อมแซมบ้าน แล้วเป็นส่วนที่ไม่หนักหนา เช่น การซ่อมรอยแตกร้าว การซ่อมสีผนัง เปลี่ยนกระเบื้องห้องน้ำ อาจเลือกใช้การเก็บเงินเพื่อซ่อมทีละส่วนแทน แต่ถ้าเป็นการซ่อมแซมใหญ่หรือต้องการปรับปรุงบ้านทั้งหลัง ซึ่งต้องใช้ค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง ก็ควรขอกู้ดีกว่าเพื่อลดภาระในการผ่อนชำระ โดยควรลิสต์รายการที่ต้องซ่อมทั้งหมดเพื่อนำไปประเมินราคา แล้วขอกู้พร้อมกันทีเดียว เพื่อให้กระทบกับการอยู่อาศัยน้อยที่สุด
 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

heading-ข่าวที่เกี่ยวข้อง

กู้แบบไหนดี 
   
สินเชื่อที่นิยมกู้เพื่อซ่อมแซม ต่อเติม และตกแต่งบ้านมี 2 ประเภท ได้แก่ สินเชื่อแบบวงเงินกู้ระยะยาว (Loan) และสินเชื่อวงเงินกู้เบิกเกินบัญชี (O/D) สินเชื่อแบบวงเงินกู้ระยะยาวจะเหมือนกับการกู้เงินซื้อบ้าน แต่ระยะเวลาผ่อนจะสั้นกว่าประมาณ 5-15 ปี อีกทั้งมีข้อจำกัดว่าต้องใช้เงินตามที่ระบุไว้ตามสัญญา วิธีนี้จะเหมาะกับการกู้เพื่อซ่อมแซม ตกแต่ง หรือต่อเติมบ้านที่มีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง ซึ่งต้องการระยะเวลาในการผ่อนชำระนานกว่าและยังได้ดอกเบี้ยถูกกว่า ส่วนสินเชื่อวงเงินกู้เบิกเกินบัญชีช่วยให้เราสามารถเบิกเงินหรือสั่งจ่ายเช็คได้แม้เงินในบัญชีเราจะหมด การคิดดอกเบี้ยก็จะคิดตามส่วนต่างที่เราใช้ไปตามระยะเวลา ข้อดีคือเราสามารถใช้จ่ายเงินเพื่อใช้ทำอะไรก็ได้ จึงมีความยืดหยุ่นกว่า วิธีนี้จะเหมาะกับการกู้เพื่อซ่อมแซมบ้านทีละส่วน รวมถึงการตกแต่งบ้านและการซื้อเฟอร์นิเจอร์

อยากกู้เงินก้อนโต มาซ่อมแซมบ้าน ควรรู้อะไรบ้างนะ

อยากกู้ต้องมีรายได้เท่าไร
   
แต่ละธนาคารจะกำหนดคุณสมบัติของผู้กู้แตกต่างกัน โดยพิจารณาตามความสามารถในการชำระหนี้ได้ โดยต้องมีอายุอยู่ระหว่าง 20-60 ปี ระยะเวลาในการกู้รวมกับอายุของผู้กู้ต้องไม่เกิน 65-70 ปี หรือตามอายุเกษียณของหน่วยงานราชการ ซึ่งเป็นอายุที่ผู้กู้สามารถผ่อนชำระได้โดยที่ยังมีงานประจำทำอยู่ หากเป็นพนักงานบริษัท ข้าราชการ รัฐวิสาหกิจ ต้องมีฐานเงินเดือน 15,000 บาทขึ้นไปและถ้าประกอบธุรกิจส่วนตัวต้องมีรายได้ประมาณ 20,000 บาทต่อเดือนขึ้นไป ทั้งนี้ต้องทำงานหรือดำเนินธุรกิจไปแล้วในระยะเวลาหนึ่ง ซึ่งแต่ละธนาคารจะกำหนดเวลาขั้นต่ำไว้ต่างกัน เช่น ต้องทำงานในบริษัทมาแล้ว 4 เดือน หรือทำธุรกิจส่วนตัวมาแล้ว 2 ปี เพื่อใช้ตรวจสอบความมั่นคงของผู้กู้
 

เอกสารและหลักฐานประกอบการกู้
   
การยื่นเรื่องกู้ต้องใช้เอกสารค่อนข้างมาก เพื่อตรวจสอบประวัติของผู้กู้ว่าจะมีความสามารถในการชำระหนี้มากน้อยแค่ไหน สินทรัพย์ที่ใช้เป็นหลักประกันจะมีมูลค่าเท่าไร เพื่อพิจารณาวงเงินในการปล่อยกู้ ซึ่งแต่ละคนจะได้ไม่เท่ากันหรือไม่ได้เลย หากกู้คนเดียวก็สามารถกู้ได้น้อย ต้องมีผู้กู้ร่วม ซึ่งมักพิจารณาเฉพาะคนในครอบครัวเป็นหลัก สำหรับเอกสารที่ใช้จะมีดังนี้ 

เอกสารข้อมูลส่วนบุคคล ได้แก่ สำเนาบัตรประชาชนหรือบัตรข้าราชการ สำเนาทะเบียนบ้านสำเนาทะเบียนสมรส เอกสารแสดงรายได้ ได้แก่ หนังสือรับรองเงินเดือน สลิปเงินเดือน รายการบัญชีย้อนหลัง 6 เดือน ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเอกสารทางด้านหลักประกัน ได้แก่ สำเนาโฉนดที่ดิน แบบก่อสร้างและรายการวัสดุ สัญญาว่าจ้างปลูกสร้าง และใบอนุญาตก่อสร้าง

อยากกู้เงินก้อนโต มาซ่อมแซมบ้าน ควรรู้อะไรบ้างนะ

เรื่องที่ต้องรู้ก่อนการกู้

เมื่อทำเรื่องขอกู้เงิน ธนาคารจะส่งคนไปประเมินทรัพย์สินที่เราจะนำไปค้ำประกัน โดยที่วงเงินกู้สูงสุดจะอยู่ที่ 70-80% ซึ่งเป็นเรื่องธรรมดาที่ราคาประเมินอาจต่ำกว่าราคาที่เราต้องใช้จริง ถ้าอยากให้ประเมินได้มูลค่าตลาดดีบ้านหรือทรัพย์สินนั้นควรอยู่ในสภาพสมบูรณ์ มีเฟอร์นิเจอร์ครบ เพื่อให้ราคาไม่ตกลงจากราคาตลาดมากนัก นอกจากนี้การกู้เงินเพื่อใช้ซ่อมแซมบ้านต้องมีเงินออมไว้อีกก้อนหนึ่งสำหรับเติมในส่วนที่ขาดจากเงินกู้ของธนาคาร ทั้งยังมีค่าธรรมเนียมอื่น ๆ ที่ต้องใช้ด้วย เช่น ค่าประเมินหลักทรัพย์ ค่าธรรมเนียมยื่นกู้การจดทะเบียนจำนอง ค่าประกันภัย ค่าอากรปิดสัญญาสินเชื่อ ค่าหนังสือมอบอำนาจ ซึ่งเมื่อรวมกันหลายรายการก็เป็นค่าใช้จ่ายที่เยอะพอสมควร ดังนั้นควรเผื่อเงินในส่วนนี้ไว้ด้วย ซึ่งเป็นส่วนที่ธนาคารต้องใช้เพื่อดูความสามารถในการชำระหนี้ของเราประกอบด้วยเช่นกัน
 

ข่าวเด่น

"ทนายอนันต์ชัย"พาสมาชิกสมาคมฮินดูฯ บุก ปค.ร้อง ปธ.-คกก.เก่าขวางเลือกตั้ง

"ทนายอนันต์ชัย"พาสมาชิกสมาคมฮินดูฯ บุก ปค.ร้อง ปธ.-คกก.เก่าขวางเลือกตั้ง

ทำไมคนไทยถึงชอบกิน บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป มากขนาดนี้

ทำไมคนไทยถึงชอบกิน บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป มากขนาดนี้

"ทนายเดชา" ฝากข้อความถึงคนที่ไม่ชอบตน งานนี้ชาวเน็ตแห่ถูกใจ

"ทนายเดชา" ฝากข้อความถึงคนที่ไม่ชอบตน งานนี้ชาวเน็ตแห่ถูกใจ

โปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อใหม่ เจ้าคุณพระสินีนาถ พิลาสกัลยาณี

โปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อใหม่ เจ้าคุณพระสินีนาถ พิลาสกัลยาณี

"ปู มัณฑนา" เผยแจ้งความเอาผิดเกรียนคีย์บอร์ด ล็อตแรก 100 เคส

"ปู มัณฑนา" เผยแจ้งความเอาผิดเกรียนคีย์บอร์ด ล็อตแรก 100 เคส

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

heading-ข่าวที่เกี่ยวข้อง